10 วิธีถนอมสายตา เมื่อใช้ สมาร์ทโฟน หรือ เเท็บเล็ต นานๆ

 ระยะเวลาการใช้งานอย่างต่อเนื่อง การก้มคอนานๆ การใช้ข้อนิ้วมือจิ้มแป้นพิมพ์ รวมไปถึงการจ้องมองหน้าจอขนาดเล็กนานเป็นชั่วโมง ทำให้เกิดปัญหาต่างๆ ได้ เช่น อาการตาแห้ง แสบตา ปวดเมื่อยสายตา ตาพร่า ตาล้า หรือใช้สายตาได้ไม่ทน รวมไปถึงมีอาการปวดรอบกระบอกตา ปวดขมับ ปวดคอ และปวดศีรษะได้

วิธีการใช้สายตาอย่างเหมาะสมสำหรับผู้ที่ต้องดูหน้าจอเป็นเวลานานๆ ดังนี้

1. ควรจะอยู่ในท่าทางที่เหมาะสมในการอ่าน และแนะนำให้เปลี่ยนอิริยาบถบ่อยๆ เพื่อไม่ให้ก้มคออยู่ในท่าใดท่าหนึ่งนานเกินไป

2. พักสายตาเป็นระยะทุกครึ่งชั่วโมง ด้วยการทอดสายตาไปไกลๆ มองสิ่งของที่ห่างไปไม่น้อยกว่า 20 ฟุตหรือหลับตานิ่งๆ ประมาณห้านาที ก่อนกลับมาใช้งานหน้าจอต่อ

3. ไม่ฝืนอ่านตัวอักษรที่มีขนาดเล็กเกินไป ซึ่งทำให้ต้องเพ่ง ควรปรับขนาดตัวอักษรให้อ่านง่าย สบายตา

4. หลีกเลี่ยงการใช้งานหน้าจอในขณะอยู่บนยานพาหนะที่มีการสั่นสะเทือนซึ่งจะทำให้ภาพหรือตัวอักษรสั่นไปด้วย

5. ปรับความสว่างของหน้าจอให้สบายตา ไม่สว่างจ้าเกินไป

6. ผู้ที่มีปัญหาสายตาผิดปกติ ควรมีแว่นสำหรับอ่านหนังสือที่เข้ากับค่าสายตาและเหมาะสมกับระยะ ในการมองหน้าจอ

7. ควรหาตำแหน่งในห้องหรือสถานที่ที่เรากำลังใช้งานหน้าจอ ให้แสงตกกระทบเฉียงๆ กับหน้าจอ เพื่อลดแสงสะท้อนรบกวน

8. อย่าใช้งานหน้าจอติดต่อกันนานเกินไปในแต่ละวัน ควรสังเกตว่าการใช้งานหน้าจอนานเท่าใด ที่ทำให้รู้สึกตาล้า และมีตาพร่า

9. กะพริบตาบ่อยๆ เพื่อลดอาการตาแห้ง และหลีกเลี่ยงการใช้สายตานานๆ ในที่ที่มีอากาศแห้ง หรือลมพัดเข้าสู่ดวงตา

10. ผู้ที่ทราบอยู่แล้วว่าตาแห้งหรือผู้ที่ใส่คอนแท็กเลนส์ควรใช้น้ำตาเทียมหยอดตา เมื่อต้องใช้งานหน้าจอ สมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตเป็นเวลานานๆ จะช่วยลดปัญหาตาแห้งได้

แม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการใช้งานหน้าจอสมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตทำให้เกิดโรคตาต่างๆ แต่ในระยะยาวอาจมีผลวิจัยพบข้อมูลเหล่านี้ก็เป็นได้ ดังนั้นเราจึงควรใช้งานสมาร์ทโฟนหรือเเท็บเล็ตอย่างเหมาะสม เพราะไม่เพียงแต่เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคทางตา(ที่ยังไม่ทราบข้อมูลแน่ชัดในขณะนี้) แต่ยังช่วยถนอมรักษาสายตาของเราไว้ใช้ได้นานๆ อีกด้วย

Credit: http://www.goosiam.com/Health/html/0009084.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...