สมุนไพรยาดอง-โอสถ กินมากระวังเป็น "ลำยอง

 

 

 

 

 

 

ยาดอง คือ การหมักสมุนไพรหรือการแช่สมุนไพร เพื่อเป็นโอสถ หรือเป็นยารักษาโรคต่างๆ มีสรรพคุณช่วยในการไหลเวียนโลหิต แก้ปวดเมื่อย บำรุงร่างกาย ปรับสมดุลร่างกาย ทำให้สุขภาพแข็งแรง ยาดอง จึงถือได้ว่าเป็นยาอายุวัฒนะ เมื่อรับประทานถูกกับโรค ในปริมาณที่เหมาะสม ก็จะทำให้อายุยืน



ยาดองสมุนไพร คือ การนำเอาสมุนไพรมาหมัก หรือแช่ไว้ในสารละลาย เพื่อให้สารสำคัญถูกสกัดออกมา โดยสารละลายที่ใช้ต้องมีคุณสมบัติสกัดโอสถสารในสมุนไพร และควบคุมเชื้อก่อโรคต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นจากการดองได้ ซึ่งการดองเป็น 1 ใน 28 วิธี การทำยาของไทยที่นิยม นอกจากจะเป็นกรรมวิธีในการสกัดตัวยาแล้ว การดองยังเหมาะสมกับสมุนไพรบางชนิดที่สารสำคัญทนความร้อนไม่ได้ หรือต้องใช้สารละลายในการสกัดสารสำคัญของตัวยาออกมา การดองจึงมีสารสำคัญออกมาในปริมาณเข้มข้น ดังนั้นการรับประทานยาดอง จึงรับประทานเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อีกทั้งยังสามารถเก็บยาไว้ใช้ได้นานอีกด้วย

การทำยาดองในทางการแพทย์แผนไทย ไม่ได้มีเพียงวิธีการดองด้วยสุรา แต่แบ่งการดองได้เป็น 6 แบบ คือ
 
1.ยาดองสุรา นำสุราเป็นตัวสกัดโอสถสารในสมุนไพร เนื่องจากสุราสามารถฆ่าเชื้อได้ดี ซึ่งความเข้มข้นของสุราที่นิยมนำมาดองสมุนไพร คือ 40 ดีกรี โดยให้รับประทานวันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น ครั้งละ 30 ซีซี แต่มีข้อควรระวัง คือ ผู้ป่วยความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคตับ สตรีมีครรภ์ และผู้ที่แพ้สุรา ควรหลีกเลี่ยง


2.ยาดองแป้งข้าวหมาก นำสมุนไพรมาดองกับแป้งข้าวหมากหรือลูกข้าวหมาก แป้งข้าวหมากเมื่อหมักระยะหนึ่งจะเกิดเป็นแอลกอฮอล์ ใช้ควบคุมเชื้อต่างๆ ได้ดี และยังช่วยย่อยอาหารได้ดี 3.ยาดองเกลือ เป็นการหมักโดยใช้เกลือเป็นตัวสกัดสารสำคัญในตัวยา เกลือมีรสเค็ม และมีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อได้ดี จะโรยเกลือสลับกับการวางสมุนไพรเรียงเป็นชั้นๆ

4.ยาดองน้ำผึ้ง โดยน้ำผึ้งเป็นตัวสกัดสารสำคัญในตัวยาออกมา และยังเป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย บำรุงร่างกาย 5.ยาดองเปรี้ยว เป็นการดองโดยใช้สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์ในการควบคุมเชื้อแบคทีเรียได้ดี มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงเลือด ยาฟอกเลือด ยาระบายอ่อน เช่น ยาดองน้ำส้มสายชู ยาดองน้ำมะนาว

6.ยาดองน้ำมูตร หรือ น้ำปัสสาวะ โดยมีปรากฏอยู่ในพระไตรปิฎกว่า "ให้พระภิกษุฉันยาดองน้ำมูตร เพื่อรักษาอาการอาพาธ" สมุนไพรที่ใช้ส่วนใหญ่จะมีรสเปรี้ยว มีฤทธิ์ควบคุมการก่อเชื้อ น้ำปัสสาวะ มีความเค็มและมียูเรียเป็นองค์ประกอบ จึงทำให้มีประสิทธิภาพคุมเชื้อเพิ่มขึ้น มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ ลดไข้ ขับพิษต่างๆ ได้ เช่น สมอดองน้ำมูตร



ที่มา : นสพ.ข่าวสด

ที่มา: http://www.teenee.com/index.html
Credit: http://board.postjung.com/724889.html
28 พ.ย. 56 เวลา 07:23 1,322 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...