10 อันดับ สัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลก

นิตยสารไทม์เผย 10 อันดับสิ่งมีชีวิตเก่าแก่ที่ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลก โดยเป็นเรื่องที่น่าสนใจว่า การพบว่ามันยังมีตัวตนบนโลกใบนี้จะนำไปสู่ถิ่นกำเนิดของพวกมันที่ยังคงความสมบูรณ์เชิงนิเวศน์ให้แก่กลุ่มสิ่งมีชีวิต จะมีอะไรกันบ้าง ทีมงาน toptenthailand ขอเสนอ "10 อันดับสัตว์ดึกดำบรรพ์ ที่ยังไม่สูญพันธุ์ไปจากโลก "

ที่มา :

10. ช้างชวา (Javan Elephants )

ช้างชวาที่เชื่อว่าสูญพันธ์ไปแล้ว แต่กลับถูกพบอีกครั้งหลังจากที่นักวิจัยพบว่า ช้างแคระบอร์เนียว (Borneo Pygmy Elephant) จริงๆแล้วสืบสายพันธ์มาจากช้างชวา โดยรัฐสุลต่านซูลู (ปัจจุบันอยู่ในฟิลิปปินส์) ใช้สัตว์ชนิดนี้เป็นของรางวัลในการแลกเปลี่ยนในแถบเกาะบอร์เนียวมาหลายร้อยปี และถูกส่งไปทั่วเอเชียเป็นของขวัญระหว่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันคาดว่าจะเหลืออยู่เพียง 1,000 ตัว ในประเทศมาเลเซีย

9. จิงโจ้ขนาดเล็ก (Bridled Nailtail Wallaby)

จิงโจ้ขนาดเล็กที่มีลักษณะหางแหลม และมีเส้นบังเหียนสีขาวบริเวณ หัว หัวไหล่ และหางของมัน ซึ่งในอดีตอาศัยอยู่จำนวนมากในแถบตะวันออกของออสเตรเลีย แต่ก็เริ่มลดลงเรื่อยๆ จนกระทั่งในปี 1937 มีการประกาศว่ามันสูญพันธุ์ไปแล้ว แต่ในปี 1973 ถูกพบอีกครั้งโดยคนรับจ้างรายหนึ่งในรัฐควีนส์แลนด์ ทั้งนี้ แม้ว่ามันจะถูกพบอีกครั้งแต่จำนวนประชากรของจิงโจ้ Wallaby ก็ยังคงมีไม่มาก โดยสมาคมอนุรักษ์สัตว์ป่าของรัฐควีนแลนด์ เชื่อว่ามันมีน้อยกว่า 1000 ตัว ในรัฐแห่งนี้

8. กระรอกบิน (Woolly Flying Squirrel)

กระรอกบิน แตกต่างจากกระรอกตัวอื่นโดยที่มันจะไม่ใช้วิธีการโผตัวไปข้างหน้า แต่สามารถบินได้ด้วยปีกบางๆ เสมือนเป็นร่มชูชีพถ่วงน้ำหนักอยู่ในอากาศ มีขนาด 5-12 นิ้ว มีหางที่มีลักษณะพุ่มขนาดใหญ่ เชื่อว่าสูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ 70 ปี แต่มีการพบตัวมันอีกครั้งเมื่อปี 1995 ในทางตอนเหนือของปากีสถาน

7. ม้าแคสเปียน (Caspian Horse )

ม้าขนาดเล็ก มีต้นกำเนิดจากทางตอนเหนือของประเทศอิหร่าน แต่ถึงแม้ว่ามันจะมีขนาดเล็ก แต่ก็ไม่ถูกจัดอยู่ในม้าพันธุ์เล็ก (pony) เชื่อว่าเป็นม้าที่เก่าแก่ที่สุดในโลก เนื่องด้วยต้องต่อสู้กับสัตว์ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้ขนาดของมันเล็กลงเรื่อยๆ โดยมีการพบเห็นมันอีกครั้งในปี 1965 ใกล้กับทะเลแคสเปียน แต่ปัจจุบันพบน้อยมากในแถบอเมริกา ยุโรป นิวซีแลนด์ และสวิสเซอร์แลนด์

6. นกวอเชสเตอร์ ( Worcester’s Buttonquail )

โดยมีการพบเจ้านกชนิดนี้เมื่อปี 2009 ที่เขาลูซอน ประเทศฟิลิปปินส์ หลังจากที่คิดว่ามันสูญพันธ์ไปแล้ว เนื่องจากมีการซื้อขายมาเป็นอาหาร และนกชนิดนี้ยังเคยถูกบันทึกโดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ ให้เป็นสัตว์ที่เสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ของสัตว์ป่า

5. ตัวพิกมี่พอสซัมภูเขา (mountain pygmy possum)

เป็นสัตว์หายากในประเทศออสเตรเลีย ที่มีการพบเมื่อปี 1966 ทั้งนี้ ต้องใช้อุโมงค์สำหรับเดินข้ามไปยังอีกฟากหนึ่งของสวนอนุรักษ์สัตว์ เพราะว่าเมื่อมีการสร้างถนนตัดผ่านสวนอนุรักษ์สัตว์แห่งนี้ พวกตัวพิกมี่พอสซัมที่เป็นเพศผู้จะถูกรถชนตายในตอนที่พวกมันวิ่งข้ามถนนเพื่อไปหาพิกมีพอสซัมที่เป็นเพศเมียอยู่เสมอ จึงได้มีการสร้างอุโมงค์ลอดถนน ปัจจุบันสัตว์หายากเหล่านี้สามารถใช้อุโมงค์นี้เดินลอดไปมาหากันได้อย่างปลอดภัย

4. หนูคะยุ (Laotian rock rat)

เป็นหนูชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่บนเขาหินปูน และคาดว่าสูญพันธุ์ไปเมื่อ 11 ล้านปีที่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์กลับพบโดยบังเอิญในตลาดสดเล็กๆ แห่งหนึ่งในประเทศลาว เมื่อปี 2005 ลักษณะของมันคล้ายกับหนูและกระรอกผสมกัน มีหางที่หนา และมีขนสีเทา

3. ปลาดึกดำบรรพ์ ซีลาแคนท์

เมื่อมองแบบผิวเผินไม่ต่างจากปลาทั่วไป แต่ลักษณะของมันมีหางทรงกระบอกที่ยาว เป็นสัตว์ที่มีลักษณะแทบจะไม่เปลี่ยนแปลงแม้จะผ่านไปนานหลายร้อยล้านปี โดยถือกำเนิดครั้งแรกบนโลกในยุคดีโวเนียนเมื่อ 400 ล้านปีก่อน มันจึงเป็นสัตว์ที่มีชีวิตบนโลกก่อนไดโนเสาร์และสัตว์เลื้อยคลาน มันว่ายน้ำไปข้างหน้าได้ ถอยหลังได้ หงายท้องได้ และว่ายตั้งฉากกับท้องน้ำเป็นเวลานานก็ได้โดยใช้ครีบกระพือน้ำ ซึ่งมนุษย์เชื่อว่ามันสูญพันธ์ไปแล้ว 65 ล้านปี เนื่องจากถูกอุกกาบาตชนโลก แต่มันก็สามารถสืบสายพันธุ์มาถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการพบครั้งแรกเมื่อปี 1938 ที่แอฟริกาใต้ โดยปัจจุบันมีปลาชนิดนี้เหลือเพียง 200-300 ตัวเท่านั้น และนั่นก็แสดงว่ามันเป็นสัตว์ที่กำลังจะสูญพันธุ์

2. ค่างแดร็กคูล่า

ทีมนักวิทยาศาสตร์ผู้ศึกษาสิ่งมีชีวิตในป่าลึกของอินโดนีเซีย เดินทางสำรวจสัตว์ป่า เพื่อเก็บภาพเสือดาวและลิงอุรังอุตัง แต่เมื่อพวกเขานำภาพที่บันทึกมาดูอีกครั้งกลับพบค่างแดร็กคูล่า ที่เชื่อว่าสูญพันธ์ไปเป็นเวลานาน แต่ยังไม่สามารถสรุปได้ว่ายังเหลืออยู่จำนวนเท่าใด ทั้งนี้สาเหตุมันมีชื่อว่า ค่างแดร็กคูล่า เนื่องจากขนบริเวณคอที่ยื่นยาวออกมานั้น เหมือนปกเสื้อของเค้าร์ทแดร็กคูล่า นั่นเอง

1. เต่ายักษ์กาลาปากอส

แห่งหมู่เกาะกาลาปากอส มนุษย์หลงเข้าใจผิดกันว่าสูญพันธุ์ไปแล้วกว่า 150 ปี แต่ล่าสุด ทีมวิจัยจากเยลมีการตรวจพบพันธุกรรมอย่างน้อยกว่า 30 ตัว ที่มีชีวิตรอดมานานหลายปี โดยอาศัยอยู่บริเวณที่ลาดชันภูเขาไฟทางเหนือของเกาะอิซาเบลา ซึ่งอยู่ห่างจากถิ่นเดิมของบรรพบุรุษ 300 กิโลเมตรในเกาะฟลอรีนา ที่พวกมันสาบสูญไปนาน

Credit: http://www.toptenthailand.com/topten/detail/20131126184302431
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...