สภาพพื้นผิวของ เทือกเขาหิมาลัย เหนือระดับ 5,000 เมตร จะระยิบระยับด้วยจุดสีแดงเลือด ซึ่งมองไกล ๆ ให้ความรู้สึกเหมือนหิมะสีแดง จุดสีแดงเหล่านี้เกิดจากสาหร่ายซึ่งมีสีแดง Chlamydomonas nivalis, Chlorococcum infusionum, และสาหร่ายชนิดอื่นๆ ซึ่งจะกระจายอยู่ทั่วไปบนภูเขา โดยสามารถต้านความหนาวได้และเติบโตดีที่สุดในอุณหภูมิต่ำกว่า 10 องศาเซลเซียส เป็นที่มาของความลึกลับแห่ง หิมะสีแดง
ยามที่สภาพอากาศเป็นใจ เราสามารถมองเห็นเมฆรูปธงสีขาวบน ยอดเขาเอเวอเรสต์ ลมจากทิศตะวันตกจะพัดเมฆไปยังทิศตะวันออก เกิดเป็นเมฆรูปธงอยู่บนยอดเขา กระแสลมที่พัดผ่านภูเขานั้นสามารถสร้างเมฆได้ หรือแม้กระทั่งการพัดเป่าหิมะก็สามารถก่อตัวเป็นเมฆได้ บางครั้งเหมือนธงกำลังโบกสะบัดอยู่บนยอดเขา บางครั้งเหมือนคลื่นยักษ์ ท้ายสุดจะแปรสภาพเป็นเส้นควันทอดยาวสง่างาม การเปลี่ยนแปลงของ เมฆรูปธงสามารถบอกได้ถึงการเปลี่ยนแปลงของกระแสลม จึงทำให้ เมฆรูปธง บนยอดเขาเอเวอเรสต์ เป็นที่รู้จักกันในชื่อของ กังหันที่สูงที่สุดในโลก
หมอทิเบต ในฐานะผู้บูชาศาสนาแต่แรกเริ่ม เชื่อกันว่าสามารถติดต่อกับพระเจ้าและสามารถพูดคุยกับวิญญาณได้ มีอภินิหารในการรักษาโรค นำวิญญาณที่ล่องลอยกลับสู่ร่าง เยียวยาความเจ็บป่วยของจิตวิญญาณ มนุษย์ซึ่งเกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศในต่างประเทศ หมอทิเบต ทำหน้าที่หลากหลายในสังคม เป็นทั้งหมอดู หมอรักษาโรค หมอพิธีกรรม ผู้แนะนำด้านจิตวิญญาณ สรุปง่ายๆ คล้ายๆ หมอผี เครื่องแต่งกาย เครื่องประกอบพิธีกรรม เวทมนตร์คาถา แท่นบูชา การทำนายโชคชะตา ถือเป็นเอกลักษณ์อันเป็นที่จดจำของ หมอทิเบต
ในช่วงกลางศตวรรษที่ 9 ราชอาณาจักร Tubo ได้ล่มสลาย ชนรุ่นหลังจึงร่วมกันก่อตั้ง ราชอาณาจักร Guge และสร้างสรรค์อารยธรรมอันงดงามภายใน 700 ปี ต่อมาในปี ค.ศ. 1630 Guge ถูกล้มล้างอำนาจโดยลาดัคห์ ตามบันทึกประวัติศาสตร์ มีการฆ่าและการปล้นสะดมอย่างหนักในช่วงสงคราม สุดท้ายร่องรอยอารยธรรม Guge ได้เลือนหายไปในพริบตา ไร้ซึ่งเบาะแส ปัจจุบัน ราชอาณาจักร Guge ได้หลงเหลือซากปรักหักพังของสถาปัตยกรรมสุดมหัศจรรย์ ภาพวาดโบราณ และ ดวงตาสีเงิน ความลึกลับแห่ง Guge(Guge Silver Eye) ให้เราได้สัมผัส
ไม่เพียงแต่มีภาษาชางชุง ภาษาอันเป็นเอกลักษณ์ของตัวเอง แต่ยังเป็นจุดกำเนิดของศาสนาพุทธวัชรยาน (พุทธทิเบต) อีกด้วย ราชอาณาจักรชางชุงมีอิทธิพลอย่างลึกซึ้งต่อวัฒนธรรมทั่วทิเบต อย่างไรก็ตาม การสาบสูญอย่างลึกลับได้ทิ้งปริศนาที่ยังหาคำตอบไม่ได้ไว้มากมาย
เรื่องราวชีวิตของ กษัตริย์ Gesar เป็นที่รู้จักกันดีในมหากาพย์ผู้กล้าแห่ง ทิเบต และเป็นมหากาพย์แห่งชีวิตหนึ่งเดียวในโลกที่ใช้การถ่ายทอดกันปากต่อปากจากเหล่าศิลปินพื้นบ้าน ซึ่งปัจจุบันมีมากกว่า 100 ชีวิตที่อาศัยอยู่ใน ทิเบต มองโกเลีย และ จังหวัดชิงไห่ ทำหน้าที่สร้างเสียงเพลงเฉลิมฉลองความสำเร็จของกษัตริย์ Gesar ผู้กล้าหาญแห่งทิเบต หากศิลปินคนใดสามารถบอกต่อตำนานได้มากกว่าหนึ่งเรื่องราวจะถือว่าคนนั้นเป็น ศิลปินแห่งพระเจ้า ซึ่งหมายถึงเขาได้รับแรงบันดาลใจโดยตรงจากคำของพระเจ้าและกษัตริย์ Gesar ในฝัน และจะขับขานเสียงเพลงออกมาแบบควบคุมตัวเองไม่ได้ ใน ทิเบต วัยรุ่นที่ไม่รู้หนังสือสามารถบอกเล่ามหากาพย์นี้ได้มากกว่าหนึ่งล้านคำ ถือเป็นเรื่องเหลือเชื่อ!
ร่างสีรุ้ง ถือเป็นปรากฏการณ์ลึกลับแห่งพุทธศาสนาใน ทิเบต เป็นความเชื่อต่อกันว่า พระทิเบตผู้ซึ่งบรรลุธรรมขั้นสูงสุด เมื่อหมดลมหายใจ ร่างกายจะกลายเป็นสีรุ้ง สลายล่องลอยโดยไม่ต้องทำการฝังเหมือนศพทั่วไป
ชัมบาลา (Shambhala) หรือ แชงกรีลา (Shangri-La) ในภาษา ทิเบต หมายถึง ดินแดนอันบริสุทธิ์ เป็นตำนานลึกลับของโลกแห่งพุทธศาสนา ต้นกำเนิดของการสอน Kalachakra ในหนังสือประวัติศาสตร์ ทิเบตได้มีการบันทึกเรื่องราวของ ชัมบาลา ไว้มากมาย แต่นักวิชาการทางพุทธศาสนาก็ยังตั้งข้อกังขาว่าแท้จริงแล้วชัมบาลา นั้นมีอยู่จริงหรือเป็นเพียงแดนสวรรค์ในนิยาย ถือเป็นความลี้ลับที่ยังไม่มีบทสรุป
Gterma เป็นแบบแผนแห่ง ทิเบต ที่ถูกขุดค้นอีกครั้ง หลังจากถูกซุกซ่อนโดยพระทิเบตเมื่อครั้งหมดศรัทธาในศาสนา Gterma ได้แก่ การอ่านหนังสือธรรมะ การบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และการใฝ่รู้ทางศาสนา ซึ่งอย่างหลังเป็นสิ่งที่มีมนต์ขลังมากที่สุด เพราะนั่นหมายความถึงการมี Gterma ฝังลึกลงไปในจิตวิญญาณ เมื่อใดที่กายพร้อม ใจพร้อม จะเป็นตัวกำหนดแรงบันดาลใจลึกลับ แม้คนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็สามารถเขียนพระไตรปิฎกขึ้นได้อย่างอัศจรรย์
เยติ คือ ชื่อภาษาทิเบตของมนุษย์หิมะ เป็นสัตว์สองเท้า มีขนคล้ายลิง อาศัยอยู่แถบเทือกเขาหิมาลัย ในประเทศเนปาลและทิเบต เยติ เป็นสัตว์ที่มีความว่องไว คณะผู้เดินทางหลายกลุ่มมีการวางแผนพยายามติดตามเหล่าเยติ แต่ก็ไม่เคยมีใครทำสำเร็จ จะพบก็แต่เพียงรอยเท้า และร่องรอยบางอย่างซึ่งสงสัยกันว่าน่าจะเป็นหนังศีรษะ อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าเหล่า เยติ ยังมีชีวิตอยู่ หรือสูญพันธุ์ไปแล้ว คาดเดากันไปว่าสาเหตุที่ไม่พบ เยติ ที่เทือกเขาหิมาลัย อาจเพราะความสูง สภาพอากาศที่หนาวเหน็บ ปราศจากอาหารประทังชีวิต จึงทำให้กลุ่ม เยติ ต้องอพยพย้ายถิ่นฐานไปอยู่ที่อื่น
ที่มา : http://itplaza.co.th/update_details.php?type_id=7&news_id=20426&page=1