ดอกที่1 Amorphophallus titanum หรือดอกไม้ศพ
จากพืชตระกูล “บัวผุด” (Rafflesia)ดอกบัวพุดนี้ที่สุราดมีนะคะอยู่ที่เขาสก เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช
พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร
เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก ด้วยรูปลักษณ์ที่ใหญ่โตมโหฬารนี้เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมา
เพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด
ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่วกลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน
“ไทแทน อารั่ม” มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็ว จะสูงขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตรต่อวัน
และจะมีความสูงที่สูดที่ประมาณ 1-3 เมตร โดยน่าจะเป็นดอกไม้ที่ใหญ่ที่สุดในโลกได้แน่นอน
ที่จะทำการคัดสรรพันธุ์พืชต่าง ๆ หลากหลายที่หาได้ยากทั่วโลก
ซึ่งดอกไทแทน อารั่มนี้ได้ปลูกและออกดอกบานไปแล้วกว่าสองดอก
ตั้งแต่ฤดูกาลดอกไม้ในปี 2004 ที่ผ่านมา
ต้นและใบลายๆ คล้ายต้นบุกของเราแต่เป็นคนละสายพันธุ์ มีอีกชื่อว่า Voodoo Lily หรือ Dragon Lily เป็นดอกไม้ รูปทรงแปลกๆ อย่างกับใบไม้ยักษ์
หม้อข้าวหม้อแกงลิง (Nepenthes) เป็นพืชกินแมลงประเภทหนึ่ง เนื่องจากเราสามารถพบเห็นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้ไม่ยากนัก ประกอบกับหม้อข้าวหม้อแกงลิง
มีสายพันธุ์ (Species) อยู่ประมาณ 90 กว่าชนิด ทั่วโลก ตามเขตโซนร้อนทั่วไป โดยเฉพาะบนเกาะบอร์เนียวพบถึง 30 กว่าชนิด
มีลักษณะต้นและดอกคล้ายดอกหญ้า เพราะดอกของมันดูคล้ายฝูงนกที่กำลังโบยบิน
ดอกที่5 Venus flytrap ฉายาเทพธิดาดักแมลง
เป็นพวกพืชกินแมลง ต้นนี้มีสีสันสวยงามกว่าพันธุ์อื่น เมืองไทยเราเรียก กาบหอยแครง เจ้า venus flytrap นี้
ต้นกำเนิดของมันอยู่ที่อเมริกาเท่านั้น และจะพบมันได้ใน 2 รัฐเท่านั้น คือทางตะวันออกเฉียงใต้ของรัฐ North carolina และทางตะวันออกเฉียงเหนือของรัฐ
south carolina เท่านั้น venus flytrap จะมีการพักตัวด้วยเมื่อถึงฤดูหนาว วิธีการดักแมลงกันของมัน จะใช้บริเวณกาบนี่แหละที่จะงับแมลงได้
เมื่อแมลงบินมาเกาะที่กาบเพื่อกินน้ำหวานที่ผลิตออกมาจากต่อมน้ำหวาน ขณะที่มันกำลังเพลิดเพลินกับการบริโภคอยู่นั่นเอง ตัวของมันก็จะบังเอิญไปสัมผัสกับขนเล็กๆ
ที่อยู่บริเวณด้านในกาบ ในเวลาไม่ถึงวินาที กาบก็จะปิดลงทันที เมื่อแมลงยิ่งดิ้นกาบก็จะงับแน่นขึ้น แน่นขึ้น หลังจากหุบไปหลายวัน เพื่อย่อยเหยื่อ
แล้วเจ้ากาบใบนั้นก็จะค่อยๆ เปิดออกเพื่อต้อนรับแมลงตัวใหม่ที่จะมาเยือนอีกครั้ง venus flytrap เป็นที่นิยมมากในหมู่นักเล่นไม้กินแมลงเมืองไทย
เพราะที่ขนบนใบจะมีตุ่มอยู่บนยอดคล้ายน้ำค้างเกาะ ที่เมืองไทยเราพอมีเลี้ยงกันอยู่จะเป็น
species – Drosera binata ที่เรียกกันว่า “หยาดน้ำค้างใบส้อม” หรือ ?หยาดน้ำค้างเขากวาง? มีถิ่นกำเนิดอยู่ในเขตอบอุ่น และสามารถทนอุณหภูมิได้ค่อนข้างสูง
จนนิยมจัดไว้ในกลุ่มไม้เมืองร้อน โดยไม่ทิ้งใบเลยทั้งปี
ถือได้ว่าเป็นดอกไม้ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 70-80 เซนติเมตร เป็นกาฝากชนิดหนึ่ง
ที่อาศัยกินน้ำเลี้ยงจากรากและลำต้นของไม้เถาที่ชื่อว่า ย่านไก่ต้ม ( Tetrastigma papillosumplanch ) จะโผล่เฉพาะดอก ซึ่งเป็นดอกเดี่ยวสีแดงคล้ำหรือน้ำตาล
ปนแดงคล้ำ ขึ้นมาจากพื้นดินในระหว่างฤดูฝนหรือในระยะที่อากาศและพื้นดินยังมีความชุ่ม ชื้นสูงคือระหว่างเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม ยามที่มันออกดอกสีปูนแดง
สดใสอยู่กลางป่าดิบเขียวชอุ่มนั้น ถือเป็นภาพที่น่าตื่นตามาก บัวผุดหรือที่ชาวบ้านทางภาคใต้ของไทยเรียกว่า “บัวตูม” จริงๆแล้วเป็นพืชกาฝาก ซึ่งมีลักษณะ
เป็นเส้นใยอาศัยอยู่ในรากและลำต้นของเถาไม้เลื้อยวงศ์องุ่นป่า ชื่อ “ย่านไก่ต้ม” โดยบัวผุดจะอาศัยดูดกินแร่ธาตุและน้ำจากย่านไก่ต้ม โดยต้นแม่ก็ยังคงมีชีวิตอยู่
พวกเราจะเห็นบัวผุดได้ก็เฉพาะยามเมื่อมันต้องการผสมพันธุ์กัน คือ จะเริ่มมีตาดอกเป็นปุ่มกลมเล็กๆ โตขึ้นที่ผิวของย่านไก่ต้ม แล้วใช้เวลา 9 เดือน ขยายขนาดจน
เท่ากับหัวกะหล่ำยักษ์ จากนั้นก็ใช้เวลาไม่เกิน 7 วัน ในรอบปีให้ดอกบาน ทว่าดอกตัวผู้และดอกตัวเมียแยกกันอยู่ จึงต้องได้เวลาเหมาะเหม็งมากในช่วงเวลาบาน
แมลงวันจึงจะช่วยผสมเกสรให้ได้ จึงถือว่ามีความเสี่ยงสูงในการสูญพันธุ์ในเมืองไทยจะพบบัวผุดได้ตั้งแต่คอ คอดกระ จังหวัดระนอง เรื่อยลงไปตามแนวเทือกเขาภูเก็ต
จนสุดชายแดนที่นราธิวาส โดยอุทยานแห่งชาติเขาสก จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นแหล่งชมบัวผุดแหล่งใหญ่ที่สุด มีบัวผุดทยอยบานให้ชมทั้งปี แต่เป็นที่นิยมไปชม
กันมากในฤดูแล้งช่วงเดือนพฤศจิกายน- เมษายน เพราะเดินป่าง่าย แต่เขาสกก็ได้ผ่านบทเรียนอันเจ็บปวดมาแล้วจากอดีต ในการสูญเสียบัวผุดที่ควนลูกช้าง
เพราะในอดีตยังขาดความเข้าใจในชีวิตอันเปราะบางของมัน จึงมีผู้แห่กันไปชมบัวผุด โดยมีการเหยียบย่ำเถาย่านไก่ต้ม เหยียบย่ำดอกอ่อน และเหยียบย่ำตาดอก
ขนาดเล็กที่เพิ่งผุดขึ้นมา (โดยรู้เท่าไม่ถึงการณ์) ทั้งนี้เพื่อเข้าไปชมและถ่ายรูปกับดอกบัวผุดให้ใกล้ชิดที่สุด ส่งผลให้บัวผุดตาย และสาบสูญไปจากควนลูกช้าง
แม้ปัจจุบันบัวผุดบริเวณกิโลเมตรที่ 111 และที่เขาสองน้องก็มีจำนวนดอกลดน้อยลง และขนาดดอกในรอบ 2 ปี (พ.ศ. 2545-2546) ที่ผ่านมาก็เล็กลงจนน่าตกใจ
ทีเดียว อุทยานแห่งชาติเขาสก และทางกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ได้เล็งเห็นความเร่งด่วนของสถานการณ์ดังกล่าว จึงได้ออกมาตรการป้องกันรักษา
ดอกบัวผุด โดยออกสำรวจ เมื่อพบดอกใกล้บานจะทำการล้อมรั้ว ติดป้ายห้ามเข้าใกล้ดอก และสร้างสะพานไม้ยกระดับให้ยืนชมดอกอยู่ห่าง ๆ บนสะพานไม้ ไม่ให้มี
การลงไปเหยียบย่ำพื้นดินหรือเถาย่านไก่ต้มอีกต่อไป นอกจากนี้ยังส่งเสริมให้ชาวบ้านเป็นไกด์ท้องถิ่นพานักท่องเที่ยวเข้าชมบัว ผุด เพื่อให้เกิดรายได้แก่ชุมชนอัน
จะนำมาซึ่งความรัก ความเข้าใจ ความหวงแหน และการอนุรักษ์แหล่งชมดอกบัวผุดได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
ที่เรามาประดับบ้าน มีชื่ออื่นๆอีกเช่น ว่านหัวฬา ว่านพังพอน (ยะลา) ว่านนางครวญ (นครศรีธรรมราช) และค้าว
คาวดำ ลำต้น เป็นไม้ล้มลุก มีเหง้าใต้ดิน ใบเป็นใบเดี่ยวรูปหอก ขอบขนานแผ่ใบกว้าง 7-15 เซนติเมตร ยาว 20-60 เซนติเมตร ปลายและโคนแหลม ก้านใบค่อนข้างเล็ก
กลม ยาวประมาณ 1 คืบ เส้นใบคล้ายใบกล้วย แต่ร่องลึกและแคบกว่า ดอกมีสีม่วงดำคล้ายหัวค้างคาว กลีบเหมือนหูโตๆ ใบประดับกลมยาวเหมือนหนวดแมว สีม่วงดำ
10-25 เส้น เกิดในป่าดงดิบชื้น สูง 500-1500 เมตร
คือกาฝากชนิดหนึ่ง เป็นไม้เถาวัลย์อาศัยดูดซับสารอาหารจากต้นไม้อื่นและเจริญเติบโตขึ้นอย่าง ช้าๆ เหมือนกาฝาก แต่ขนาดใหญ่กว่ามาก
พอๆกับต้นที่มันเกาะอาศัยอยู่ทีเดียว รากของมันไม่ได้แค่เกาะไปกับต้นไม้ที่มันอาศัย แต่จะพันรัดไปรอบทั้งลำต้นเลยทีเดียว จนในที่สุดโอบรัดต้นไม้ใหญ่และสังหารต้น
ที่มันอาศัยเสียเมื่อตัวมันเติบโตเต็มที่ ทำให้ได้ฉายา Strangler (สแทรงเกลอร์ฟิก) หรือนักบีบรัด นั่นเอง ที่จริงพฤติกรรมโหดๆแบบนี้ ไม่น่าหายาก
หรือใกล้สูญพันธ์เลยนะ
บางครั้งก็จะเรียกต้นนี้ว่า Strangling Fig ซึ่งก็มีความหมายคล้ายๆ กัน