การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ใครได้ ใครเสีย ?

   การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ ใครได้-ใครเสียผลประโยชน์ มาดูกัน

          ภายหลังจากที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาเพื่อปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับการคำนวณเงินได้สุทธิจาก 5 ขั้นอัตราเป็น 7 ขั้นอัตรา และลดอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากอัตราสูงสุด 37% เหลือ 35% โดยจะเป็นอัตราที่ใช้สำหรับยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2557 นั้น

          เชื่อว่าหลาย ๆ คนอาจจะยังไม่เข้าใจว่า การปรับโครงสร้างภาษีใหม่นี้ใครได้และใครเสียผลประโยชน์ และวันนี้กระปุกดอทคอมก็ได้นำข้อมูลจากเว็บไซต์ tax.bugnoms.com มาชี้แจงให้เพื่อน ๆ ได้ทราบกัน

- Update สถานการณ์ล่าสุดเรื่องภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ใหม่) นะครับ -

          เนื่องจากได้รับคำถามมาเยอะมากทางหน้าเพจ @TAXBugnoms  ผมเลยถือโอกาสสรุปให้ฟังอีกครั้งสำหรับ เพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ หลาย ๆ ท่านที่สงสัยอยู่นะครับว่า เจ้า "อัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลใหม่" จะใช้เมื่อไร ใช้อย่างไร ใคร ที่ไหน ตอนไหน อะไร ยังไงกันแน่ โดยอ้างอิงจากข้อมูล "ล่าสุด" คือ แถลงข่าวกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 76/2556 ลงวันที่ 30 กรกฏาคม 2556  โดยสถานะล่าสุดคือ "ยังไม่ได้ออกเป็นกฎหมายที่มีผลบังคับใช้" นะครับ (รบกวนผู้ที่ได้อ่านบทความนี้ ช่วยกันแชร์และส่งต่อไปให้กับเพื่อนๆด้วยนะคร้าบบบ) ซึ่งมีข้อมูลเพิ่มเติมดังนี้ครับ!!

- กรณีบุคคลธรรมดา -

1. เงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกยังได้รับยกเว้นอยู่ โดยกระทรวงการคลังจะตราพระราชกฤษฎีกายกเว้นภาษีสําหรับเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรกต่อไป
2. คาดว่ากฎหมายนี้จะเริ่มใช้บังคับตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป (ยื่นแบบแสดงรายการปี 2557)

- กรณีห้างหุ้นส่วนสามัญและคณะบุคคล -

1. กำหนดนิยามใหม่ให้ "คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล" คือ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงกระทําการที่มีเงินได้พึงประเมินร่วมกันอันมิใช่ห้างหุ้นส่วนสามัญ
2. ห้างหุ้นส่วนสามัญเสียภาษีจากเงินได้สุทธิในอัตราร้อยละ 20 โดยให้หักค่าใช้จ่ายตามความจําเป็นและสมควรเท่านั้น
3. คณะบุคคลเสียภาษีจากเงินได้พึงประเมินในอัตราร้อยละ 20 โดย "ไม่ให้หักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อน"
4. ประกาศปีนี้ (2556) แต่ใช้จริงปีหน้า (2557) จากข้อความ "การปรับปรุงหลักเกณฑ์และอัตราภาษีเงินได้ของห้างห้นส่วนสามัญและคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลนี้จะใช้บังคับกับเงินได้ประจําปีภาษี "ถัดจาก" ปีภาษีที่กฎหมายมีผลใช้บังคับต่อไป"

อ้างอิง:
http://www.mof.go.th/home/Press_release/News2013/076.pdf

          นอกจากนั้นผมยังได้รับข้อมูลเพิ่มเติมจากทางคุณ Jibbie Love (แฟนเพจ @TAXBugnoms) แจ้งข่าวจากหนังสือพิมพ์แนวหน้า "คลังยันภาษีบุคคลธรรมดาอัตราใหม่ทันปี 56 ออกพรก.ระหว่างรอแก้กม." ฉบับประจำวันพฤหัสบดี ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2556 โดยมีรายละเอียดดังนี้ครับ

          นางเบญจา หลุยเจริญ รมช.คลัง เปิดเผยว่า การลดภาษีบุคคลธรรมดาใหม่จะสามารถดำเนินการให้มีผลบังคับใช้ได้ทันรายได้ของปี 2556 ที่จะต้องยื่นแบบต้นปี 2557 แม้ว่าจะแก้กฎหมายประมวลรัษฎากรของกรมสรรพากรไม่ทันก็ตาม เพราะทางกรมสรรพากรได้เตรียมแผนสำรองไว้แล้ว โดยการออกเป็นพระราชกฤษฎีกาลดอัตราภาษีบุคคลธรรมดาใช้ไปก่อนได้

ที่มา:
http://www.naewna.com/business/69192

          สำหรับเรื่องราวการวิเคราะห์โครงสร้างภาษี และผลกระทบของการปรับอัตราภาษีนั้น อ่านต่อจากนี้ได้เลยคร้าบบบบ …

- การปรับโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ -

          ช่วงบ่ายๆของวันที่ 18 ธันวาคม 2555 มี "ข่าวใหญ่" เรื่องการปรับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาลดลง โดยทางคณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติมาตรการปรับปรุงโครงสร้างภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมและให้สอดคล้องกับภาวะเศรษฐกิจ โดยคาดหวังว่าจะสร้างความเป็นธรรมในการกระจายรายได้มากขึ้น และปิดช่องโหว่ในการหลีกเลี่ยงภาษี ซึ่งมาตรการครั้งนี้จะปรับปรุงบัญชีอัตราภาษีเงินได้จาก "5 ขั้นอัตรา" เป็น "7 ขั้นอัตรา" โดยจะใช้บังคับใน "ปีภาษี 2556" ที่จะต้องยื่นรายการในปี 2557 เป็นต้นไปนั่นเอง

- ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอัตราภาษี -

          เนื่องจากเป็นเรื่องเกี่ยวกับภาษี ดังนั้น "บล็อกภาษีข้างถนน" อย่างเราก็ต้องรีบนำข่าวมา Update ให้ฟังกันอย่างฉับไวครับ (เขียนกันข้ามคืนเลยทีเดียว) โดยจากการอนุมัติของคณะรัฐมนตรีข้างต้น ทำให้อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่เปลี่ยนแปลงจากเดิม เป็นอัตราภาษีใหม่ ดังนี้ครับ

    1. รายได้สุทธิ 150,000 บาทแรก ได้รับการยกเว้นภาษีเหมือนเดิม ตามพระราชกฤษฎีกา (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551
    2. รายได้สุทธิ 150,001-300,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 10%  >> 5%
    3. รายได้สุทธิ 300,001-500,000 บาท เสียภาษี 10% เหมือนเดิม
    4. รายได้สุทธิ 500,001-750,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 20% >>  15%
    5. รายได้สุทธิ 750,001-1,000,000 บาท เสียภาษี 20% ตามเดิม
    6. รายได้สุทธิ 1,000,001-2,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 30% >>  25%
    7. รายได้สุทธิ 2,000,001-4,000,000 บาท เสียภาษี 30% ตามเดิม
    8. รายได้สุทธิตั้งแต่ 4,000,000 บาท จากเดิมเสียภาษี 37% >> 35%

          การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้เกิดผลกระทบต่อ “อัตราภาษี” ในหลายๆด้าน ดังันั้น ผมขออนุญาตนำมาสรุปง่ายๆในรูปแบบของตารางให้ดูกันแทนครับ เพราะว่าถ้าเขียนเป็นตัวหนังสือแบบนี้ อาจจะทำให้เพื่อนๆหลายท่านไม่เข้าใจว่ามีผลกระทบยังไงบ้าง (รวมถึงตัวผมเอง อ่านแล้วก็งงเองทุกทีเลย แหะๆๆ)

 


 
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2556
 


จากตารางข้างต้นนี้จะเห็นว่า โดยรวมแล้วจะมีอยู่ 4 ช่วงของเงินได้สุทธิที่เสียภาษีลดลง ได้แก่

    - รายได้สุทธิในช่วง 150,000 – 300,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 7,500 บาท
    - รายได้สุทธิในช่วง 500,001 – 750,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 12,500 บาท
    - รายได้สุทธิในช่วง 1,000,001 – 2,000,000 บาท จะเสียภาษีลดลงสูงสุด 50,000 บาท
    - รายได้สุทธิมากกว่า 4,000,000 บาท จะประหยัดภาษีได้เพิ่มขึ้น 2% ของเงินได้สุทธิ (ขึ้นอยู่กับจำนวนของเงินได้)

- เมื่อมีการลดอัตราภาษีแล้ว ใครได้ประโยชน์กันแน่ -

          จากตารางข้างต้นนี้ เราจะสังเกตว่า ยิ่งมีเงินได้สุทธิเพิ่มขึ้น จำนวนภาษีที่ประหยัดได้ก็น่าจะมากขึ้น ดังนั้นคนที่มีรายได้สูง (คนรวย) น่าจะได้รับสิทธิประโยชน์ในการลดภาษีมากกว่าคนที่มีรายได้น้อยใช่ไหมครับ แต่ว่าจะเป็นแบบนั้นจริงๆหรือเปล่า เรามาลองดูกันเลยดีกว่า !!!!

          เอาล่ะครับ เริ่มต้นจากสมมุติให้คนจำนวน 5 คน มีรายได้สุทธิอยู่ในช่วงที่แตกต่างกันดังนี้

 


 
เงินได้สุทธิ
 


          หลังจากนั้นเรามาคำนวณเปรียบเทียบดูว่าแต่ละคนจะต้องเสียภาษีในอัตราเท่าไรและอย่างไรกันต่อเลยครับ ^^


 

คนที่ 1 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 



 

คนที่ 2 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


คนที่ 3 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


คนที่ 4 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา


คนที่ 5 : อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใหม่ VS เก่า

อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 


          ผลจากการคำนวณทั้ง 5 คน จะสามารถประหยัดภาษีได้ในจำนวนที่แตกต่างกันออกไป โดยคนที่มีรายได้สูง ก็จะต้องเสียภาษีเยอะเป็นธรรมดา (ถูกแล้ว!!) ซึ่ง "จำนวนภาษี" ของผู้ที่มีรายได้สูงนั้น จะประหยัดได้ในจำนวนที่มากกว่า แต่เมื่อเรานำมาคิดเป็นสัดส่วนเปรียบเทียบกับจำนวนภาษีเดิมแล้ว ปรากฎว่า "คนรวย" กลับประหยัดภาษีได้น้อยกว่า !!!!

 


 
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา(ตารางสรุป : ความแตกต่างของภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา)
 


          จากตารางสรุปข้างต้น เราจะพบว่า คนที่ 1 เป็นผู้ที่มีรายได้สุทธิ 500,000 บาท จะประหยัดภาษีตามอัตราภาษีใหม่ได้ในจำนวนที่น้อยที่สุด คือ เพียงแค่ 7,500 บาท แต่กลับประหยัดภาษีได้ในอัตราที่สูงสุด (21.43%) เมื่อเปรียบเทียบกับคนอื่น ๆ แต่ในทางกลับกันคนที่ 5 สามารถประหยัดภาษีได้ในจำนวนที่มากที่สุดนั้น (310,000 บาท) กลายเป็นประหยัดภาษีได้ในอัตราที่ต่ำที่สุดเช่นกัน (5.66%)

          ดังนั้น คำกล่าวอ้างที่หลายๆคนชอบกล่าวว่า ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากการประหยัดภาษีนั้น ทำให้คนที่มีรายได้มากกว่า (คนรวย) สามารถประหยัดภาษีได้มากกว่าคนที่มีรายได้น้อยกว่านั้น จะเป็นความจริงหรือไม่ ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนครับว่ามองในแง่มุมไหน ระหว่าง "จำนวนเงิน" หรือ "สัดส่วน"

          เพิ่มเติมเนื้อหา : เนื่องจากมีเพื่อนๆหลายท่านทักท้วงมาว่าควรจะเปรียบเทียบระหว่าง "ภาษีเงินได้ที่ลดลง" กับ "เงินได้สุทธิ" ดูบ้างเพื่อให้ได้มุมมองที่แตกต่างออกไป ผมจึงได้จัดทำตารางเปรียบเทียบเพิ่มเติมออกมาให้พิจารณากันครับ

 


 


          จากตารางข้างต้นจะเห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบกับเงินได้สุทธิแล้ว ฝ่ายที่ได้ประโยชน์มากที่สุด คือคนที่ 2 หรือผู้ที่มีเงินได้สุทธิ 1,000,000 บาท จะได้รับผลประโยชน์สูงสุดกว่ากลุ่มคนประเภทอื่นๆ ตามมาด้วยกลุ่มคนที่มีรายได้สูง (คนรวย) ในลำดับต่างๆ โดยคนที่มีรายได้ยิ่งมากก็มีแนวโน้มที่จะประหยัดภาษีได้มากตามไปด้วย

          แต่มี "ประเด็นสำคัญ" ที่เราควรนำมาพิจารณาเมื่อนำ "ภาษีที่ลดลง" มาเปรียบเทียบกับ "เงินได้สุทธิ" คือ อัตราภาษีเฉลี่ย (%) ที่ยังแสดงให้เห็นว่า กลุ่มคนที่มีรายได้มากยังคงต้องเสียภาษีมากที่สุด (ในรูปแบบของอัตราภาษีขั้นบันได) โดยที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลง ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าเราจะมองว่าจำนวน % ที่คนรวยสามารถประหยัดได้นั้น เรียกว่ายุติธรรมหรือไม่ เพราะโดนเนื้อแท้ของภาษีในลักษณะนี้ก็คือ “ผู้ที่มีรายได้มากยังคงต้องเสียภาษีมากกว่าผู้ที่มีรายได้น้อย” นั่นเอง

          เพิ่มเติมเนื้อหาครั้งที่ 2 และ 3 : มีแฟนเพจ "บล็อกภาษีข้างถนน" บางท่านได้ทักท้วงมาว่ายังไม่ได้เปรียบเทียบข้อมูลของคนที่รายได้ประมาณ 300,000 บาทและช่วงอื่นๆให้ดูเพิ่มเติม เลยทำข้อมูลเปรียบเทียบออกมาให้พิจารณาอีกครั้งครับ โดยคราวนี้จะทำการเปรียบเทียบเงินได้แต่ละขั้นให้เห็นว่า เมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนภาษีที่ลดลงกับจำนวนภาษีที่ต้องจ่าย และจำนวนรายได้ของผู้เสียภาษี ในแต่ละช่วงเงินได้ จะคิดเป็นอัตราส่วนเท่าไรกันบ้าง โดยช่วงของเงินได้สุทธิที่มีสัดส่วนที่คำนวณออกมาได้มากกว่าช่วงอื่นๆ ได้แก่ ผู้ที่มีเงินได้สุทธิอยู่ในช่วง 300,000 บาท, 750,000 บาท และ 2 ล้านบาท ซึ่งแสดงไว้ตามตารางสรุปด้านล่างนี้

 


 
อัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
 


          ส่วนตารางด้านล่างนี้เป็นตารางที่เปรียบเทียบช่วงเงินได้ที่แตกต่างกันมากๆของแต่ละคนเพื่อใช้ในการพิจารณาเพิ่มเติมครับว่า "จำนวนเงิน" และ "สัดส่วน" มีความแตกต่างกันอย่างไรบ้าง

 


 


- บทสรุป -

          อย่างไรก็ตาม สำหรับผมแล้ว พิจารณาเพียงแต่หลักความจริงที่ว่า “การลดอัตราภาษี” เป็นอีกหนึ่งมาตรการที่ทำให้คนทุกคนได้ประโยชน์ แม้ว่าจะมากหรือน้อยก็ตาม ขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคนว่า เราเลือกมองตัวเองในแง่มุมที่เราเห็นว่าเป็นประโยชน์ต่อตนเอง หรือมองในแง่ที่เปรียบเทียบกับคนอื่นแล้วกลับรู้สึกว่าตัวเองเสียผลประโยชน์  โดยบทความนี้ไม่ได้เขียนขึ้นจากวัตถุประสงค์ที่จะชี้นำให้เห็นว่า ใครเป็นผู้ที่ได้รับผลประโยชน์มากกว่าและน้อยกว่าแต่อย่างใด เพียงแค่ต้องการสะท้อนมุมมองของตัวผมเองที่พิจารณาถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ที่มีเงินได้เท่านั้น

          แต่สิ่งหนึ่งที่เกิดขึ้นแน่ๆ คือ “รัฐ” จะกลายเป็นผู้เสียผลประโยชน์ทีสุดในการเปลี่ยนแปลงอัตราจัดเก็บภาษีที่ลดลงในครั้งนี้ และเราก็ควรจะมาดูกันต่อว่า ทางรัฐบาลเองจะมีมาตรการในการดำเนินการเพื่อรับมือกับเรื่องนี้อย่างไรบ้าง (คงต้องรอติดตามกันต่อไปครับ)

          สุดท้ายนี้ก็อยู่ที่ความคิดเห็นของแต่ละคนแล้วล่ะครับ ว่าจะมองในแง่มุมไหน …
 

Credit: www.kapook.com
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...