'ขนมพิษ'กลเม็ดใส่สารกันบูด

 

 

 

 

 

 

   "...ใส่สารกันบูดหลายชนิดในขนมชิ้นเดียวกัน ใช้ชื่อไม่เหมือนกัน คนซื้ออ่านแล้วไม่เข้าใจ นึกว่าไม่เกินมาตรฐาน..."

             ร้านขายขนมเป็นเหมือนสวรรค์ของเด็ก ไม่ว่าจะในหมู่บ้าน ในเมือง ขนมโดนัทโรยน้ำตาล เยลลี่สีสดใส ช็อกโกแลต ข้าวเกรียบกุ้ง เป็นขนมยอดนิยมของเด็กทุกยุคสมัย แต่จะมีคนขายสักกี่คนสำรวจตรวจดูว่า ขนมที่นำมาวางขายให้เด็กๆ เหล่านี้สะอาดปลอดภัยหรือไม่ ?

             ในอดีตการตรวจตราขนมเหล่านี้ อาจไม่เคร่งครัดมากนัก ความรู้เรื่องสารกันบูดหรือสีสังเคราะห์อันตรายยังไม่แพร่หลาย ไม่ใช่เฉพาะในประเทศไทย แต่ปัญหานี้มีทุกประเทศทั่วโลก จวบจนความรู้เรื่องโภชนาการเริ่มแพร่หลาย มาตรการความปลอดภัยในการผลิตอาหารกลายเป็นเรื่องสำคัญ สารเคมีและวัตถุเจือปนถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด เพราะสารอันตรายเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพทั้งในระยะสั้นและระยาว โดยเฉพาะอาหารสำหรับเด็กนั้น ประเทศส่วนใหญ่จะควบคุมดูแลเป็นพิเศษ เช่น การอนุญาตให้ใช้สีสังเคราะห์บางประเภท จะห้ามใช้เด็ดขาดในขนมที่เด็กชอบซื้อกิน



             สำหรับประเทศไทยนั้น มาตรการควบคุมเหล่านี้ดูเหมือนจะไม่มีใครให้ความสนใจ แม้จะมีองค์การอาหารและยามีกฎระเบียบบังคับทั้งผู้ผลิตและผู้ขายให้ปฏิบัติตาม แต่บทลงโทษที่ส่วนใหญ่จะปรับแค่ไม่กี่พันบาท ทำให้ขนมไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานยังคงวางขายทั่วไปเหมือนเดิม ทั้งที่ผลิตจากโรงงานเถื่อนหรือขนมนำเข้าตามชายแดน

    มาดูอันตรายจากสารกันบูดกันบ้างนะคะ หากในแต่ละวัน เราได้รับสารกันบูดในปริมาณน้อย ร่างกายจะสามารถกำจัดออกทางปัสสาวะได้ตามปกติ แต่หากได้รับในปริมาณมากทุกวัน ตับและไตจะต้องทำงานหนักขึ้น และหากกำจัดออกไปไม่หมด ก็จะเกิดการสะสมในร่างกาย ซึ่งจะทำให้ประสิทธิภาพของตับและไตในการกำจัดสารเคมีเหล่านี้ลดลง และอาจทำให้เกิดอาการเจ็บป่วยต่อตับและไตได้

    สารกันบูดในกลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิด รวมทั้งพาราเบน ถือว่ามีความเป็นพิษต่ำ และสามารถขับออกจากร่างกายได้ แต่ก็มีข้อควรระวัง เช่น เกลือเบนโซเอต โดยทั่วไปแล้วจะค่อนข้างปลอดภัย แต่ก็พบว่าทำให้เกิดอาการแพ้ได้ โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้ สารกันบูดในกลุ่มซัลไฟต์ แม้จะถูกขับออกจากร่างกายได้ แต่หากได้รับในปริมาณมากเกินไป สารดังกล่าวจะไปลดการใช้โปรตีนและไขมันในร่างกาย นอกจากนี้ยังทำลายไธอามีนหรือวิตามินบี 1 ในอาหารด้วย ส่วนสารกันบูดในกลุ่มไนไตรท์ เช่น ดินประสิว ซึ่งนิยมนำมาใช้กับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ หากใช้เกินกว่าที่กำหนด จะทำให้ท้องเสีย คลื่นไส้ อาเจียน วิงเวียนศีรษะ นอกจากนี้ยังมีการศึกษาซึ่งมีข้อบ่งชี้ว่า การได้รับไนไตรท์ในปริมาณมากๆ จะเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้อีกด้วยล่ะค่ะ

ข้อแนะนำสำหรับผู้บริโภคเพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายจากสารกันบูด มีดังนี้...

ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ขายไม่หมดวันต่อวัน หลีกเลี่ยงอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อเค็ม และน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้น มีการศึกษาพบว่า การลวกหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน จะช่วยลดปริมาณสารกันบูดลงได้ ซึ่งน่าจะได้ผลเช่นเดียวกันในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่นๆ

 

โดยสรุปก็คือ การใช้สารกันบูดตามปริมาณที่กำหนดจะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค อย่างไรก็ตาม อาจมีผู้ผลิตบางรายที่ละเมิดกฎหมาย ดังนั้นเพื่อความปลอดภัย การหลีกเลี่ยงอาหารที่สุ่มเสี่ยงต่อการใส่สารกันบูดหรือบริโภคแต่น้อย น่าจะดีต่อสุขภาพที่สุดนะคะ.

ที่มา: http://www.komchadluek.net/ 
http://www.dailynews.co.th/Content.do?contentId=126510
Credit: http://board.postjung.com/722125.html
17 พ.ย. 56 เวลา 09:31 1,998 1 70
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...