แพทย์เตือน คนไทยมีพันธุกรรมเบาหวานมาก ควรตรวจสุขภาพแต่เนิ่นๆ

 

 

 

 

 

         แพทย์เตือน จำนวนมากของคนไทยมีพันธุกรรมของโรคเบาหวานและปัจจัยการดำรงชีวิตที่เอื้อต่อการเกิดโรค ชี้เด็กอ้วนอายุ 10 ปีขึ้นไป ผู้ใหญ่อายุเกิน 35 ปี และหญิงคลอดบุตรหนักเกิน 4 กก. ควรตรวจสุขภาพแต่เนิ่นๆ 

         ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวระหว่างเป็นประธานเปิดกิจกรรมวันเบาหวานโลก เมื่อวันที่ 12 พ.ย. ที่ผ่านมา ภายใต้แนวคิด “พิทักษ์อนาคตไทย พ้นภัยเบาหวาน” จัดโดยคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ร่วมกับสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 พ.ย. 2556 ว่า เบาหวานเป็นโรคเรื้อรังทางสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีจำนวนผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นทุกปี และมีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับการตรวจวินิจฉัย ซึ่งหากปล่อยทิ้งไว้ระยะยาวจะมีผลในการทำลายหลอดเลือด ทำลายระบบประสาทส่วนปลาย ถ้าไม่ได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมก็อาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนได้

โดยในแต่ละปีรัฐต้องสูญเสียเงินจำนวนมากในการดูแลรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ เพราะโรคดังกล่าวปัจจัยส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรม แม้การรักษาในปัจจุบันจะมีประสิทธิภาพ ช่วยให้ผู้ป่วยมีอายุยืนยาวมากขึ้น แต่ก็มีโอกาสเจอปัญหาภาวะแทรกซ้อน การป้องกันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ โดยเป้าหมายหลักคือ เพื่อลดระดับน้ำตาลให้อยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับระดับปกติมากที่สุด ด้วยการกินยาและการฉีดอินซูลินควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดอาการแทรกซ้อนทั้งในระยะสั้นและระยะยาวได้ 

รศ.พญ.สุภาวดี ลิขิตมาศกุล กุมารแพทย์ต่อมไร้ท่อ ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล และประธานศูนย์เบาหวานศิริราช กล่าวว่า โรคเบาหวานจะรอสังเกตอาการเตือนอีกต่อไปไม่ได้แล้ว เพราะเป็นโรคที่มีอุบัติการณ์สูงมาก ซึ่งเกิดจากปัจจัยการดำรงชีวิตของคนปัจจุบัน ยิ่งไปกว่านั้นคนไทยมีพันธุกรรมของโรคเบาหวานชนิดที่ 2 มาก จึงขอแนะนำให้ตรวจเบาหวานตั้งแต่เนิ่นๆ เพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน โดยเฉพาะ 1.กลุ่มเด็กอายุ 10 ขวบขึ้นไป หากมีภาวะอ้วนและคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นโรคเบาหวานควรมาตรวจทันที 2.ผู้ใหญ่อายุเกิน 35 ปีขึ้นไปต้องตรวจอย่างสม่ำเสมอ และ 3.ผู้หญิงที่คลอดบุตรน้ำหนักเกิน 4 กิโลกรัม และคนในครอบครัวมีประวัติป่วยโรคเบาหวาน

รศ.พญ.สุภาวดี กล่าวอีกว่า หากตรวจแล้วพบว่ามีความเสี่ยงจะต้องรีบควบคุมการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารหวาน มัน เค็ม จะต้องลดลง ร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อให้น้ำหนักคงที่ และดัชนีมวลกายเป็นปกติ ความเสี่ยงที่จะเกิดโรคเบาหวานก็จะน้อยลงแม้จะมีอายุเพิ่มมากขึ้นก็ตาม โดยระดับน้ำตาลในเลือดปกติที่ไม่เป็นโรคเบาหวานจะต้องอยู่ที่ 80-150 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร

 

ซ้ำขออภัยค่ะ 

ที่มา: thaiza.com
Credit: http://board.postjung.com/721360.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...