ภาพสวยจากห้วงหาว .. เมื่อดาวเทียมญี่ปุ่น-นาซ่าแอบเจาะนัยน์ตาไต้ฝุ่นไห่แย่น

ภาพถ่ายโดยดาวเทียมขององค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่นในคืนวันที่ 7 พ.ย.ไม่กี่ชั่วโมงก่อน "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ไห่แย่น (Haiyan) จะพัดเข้าภาคกลางของฟิลิปปินส์ ในภาพจะเห็นกรุงเทพฯ นครโฮจิมินห์ สิงคโปร์กับเมืองใหญ่อื่นๆ ทั้งในจีนและอินเดียยังไม่หลับ เป็นภาพที่ทั่วโลกกำลังชื่นชมทั้งในด้านความสวยงามและประสิทธิภาพแห่งเทคโนโลยี่การถ่ายภาพระยะไกลของญี่ปุ่น. -- ภาพ: องค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่น (JMA )

ถ่ายเวลากลางวันแสกๆ หลังเที่ยงโดยดาวเทียมอะควา (Aqua) ขององค์การนาซ่าสหรัฐด้วยระบบที่เรียกว่า MODIS ขณะพายุอยู่ห่างจากหมู่เกาะภาคกลางฟิลิปปินส์ 100 กม.เศษ กล้องได้เจาะไปที่บริเวณรอบๆ นัยต์ตาของไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) ทะลุทะลวงให้เห็นผืนทะเลแปซิฟิกสีครามอยู่เบื้องล่างกับประกายไฟแลบแปล็บเนื่องจากฝนฟ้าคะนอง นับเป็นความบังเอิญที่ดาวเทียมโคจรผ่านไปเหนือพายุ ผสมผสนานกับเทคโนโลยีอย่างลงตัว. -- ภาพ: NASA

 

ASTVผู้จัดการออนไลน์ -- องค์การอวกาศแห่งสหรัฐหรือนาซ่า (NASA) ได้เฝ้าจับตาไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) เป็นระยะๆ ตั้งแต่พายุลูกนี้เริ่มทวีความเร็วใกล้ศูนย์กลางเป็นไต้ฝุ่นระดับ 1 ระดับ 2 และ 3 จนกระทั่งถึงระดับ 5 ซึ่งเป็นความรุนแรงที่สุดของพายุในเขตร้อนลูกหนึ่ง นาซ่าได้เผยแพร่ภาพที่ถ่ายจากดาวเทียมออกมาหลายภาพแต่ก็มีภาพจำนวนหนึ่งที่สร้างความประทับใจให้กับคนทั้งโลกในขณะนี้ 
       
       ส่วนอีกภาพหนึ่งถ่ายเอาไว้โดยดาวเทียมขององค์การอุตุนิยมวิทยาแห่งญี่ปุ่นในคืนวันที่ 7 พ.ย. ตอนที่ไห่แย่นกำลังเข้าใกล้หมู่เกาะฟิลิปปินส์ ขณะมีความแรงเป็น "ซูเปอร์ไต้ฝุ่น" ระดับ 5 ภาพดังกล่าวออกมาสวยงามยิ่ง
       
       ส่วนดาวเทียมอะควา (Aqua) ขององค์การนาซ่าได้ใช้อุปกรณ์ที่เรียกว่า MODIS หรือ Moderate Resolution Imaging Spectroradiometer จับภาพสวยงามอีกภาพหนึ่งเมื่อเวลา 12.25 น. วันที่ 7 พ.ย. หรือ 11.25 น. วันที่ 6 พ.ย.2556 ตามเวลากลางงวันในซีกโลกตะวันออก หรือ Eastern Day Time
       ขณะซูเปอร์ไต้ฝุ่นอยู่หางหมู่เกาะฟิลิปปินส์ไปทางทิศตะวันออกเพียง 100 กม.เศษ
       
       ภาพสวยนี้ออกมาด้วยความบังเอิญเนื่องจากเป็นจังหวะที่ดาวเทียมดวงนี้โคจรผ่านมาในระดับเหนือไต้ฝุ่นไห่แย่นพอดิบพอดี ช่วงจังหวะเวลานี้ได้ผสมผสานอย่างลงตัวกับเทคโนโลยีเหนือชั้น ซึ่งถ้าหากสองสิงนี้ไม่บรรจบพบกันในนาทีที่แน่นอนก็จะไม่ได้ความสวยงามเช่นนี้ออกมา
       
       ภาพของดาวเทียม NASA แสดงรายละเอียดให้เห็นพายุฝนฟ้าคะนองรอบๆ "นัยน์ตา" (Eye of Storm) หรือช่วงวงกลมที่เป็นช่องว่างเส้นผ่านศูนย์กลางหลายสิบกิโลเมตรตรงจุดศูนย์กลางของซูเปอร์ไต้ฝุ่นลูกนี้ กล้อง MODIS ยังฉายภาพทะลุดวงตาของพายุทำให้มองเห็นท้องทะเลสีครามที่อยู่เบื้องล่าง ซึ่งเป็นสิ่งที่หาโอกาสเกิดขึ้นได้ยากยิ่ง
       
       “ไห่แย่น” เป็นคำในภาษาจีนหมายถึงนกทะเลชนิดหนึ่ง เป็นเสียงเรียกชื่อและความหมายที่บันทึกเอาไว้โดยหอสังเกตการณ์ฮ่องกง (Hong Kong Observatory) หรือสำนักงานพยากรณ์อากาศของเขตปกครองพิเศษแห่งนี้
       
       เบรียน แม็คนอลดี (Brian McNoldy) ผู้ช่วยนักวิจัยอาวุโสที่คณะวิทยาศาสตร์ทางทะเลและชั้นบรรยากาศแห่งมหาวิทยาลัยไมอามี รัฐฟลอริดา เรียกไต้ฝุ่นไห่แย่นเป็น "เพอร์เฟ็กสตอร์ม" (Perfect Storm) อีกลูกหนึ่งจากการที่สามารถทำความเร็วได้สูงสุดในการไต่ระดับแต่ละระดับ ไปจนถึงขีดสูงสุดของไต้ฝุ่นระดับ 5
       
       ในวันศุกร์ที่ผ่านมาไห่แย่นจากฟิลิปปินส์ไปโดยทิ้งความเสียหายกับความโศกเศร้าเอาไว้ข้างหลังอย่างสุดคณานับ มีผู้เสียชีวิตราว 1,200 ศพ และคืนวันเสาร์ขณะนี้กำลังหมุนคว้างอยู่เกือบจะถึงย่านใจกลางทะเลจีนใต้ โดยมีกำหนดขึ้นบกในเวียดนามวันจันทร์
       
       นักอุตุนิยมวิทยาในย่านนี้กล่าวว่าไห่แย่นเป็นไต้ฝุ่นลูกใหญ่ที่สุดลูกหนึ่งเท่าที่มีการบันทึกเอาไว้       .
       

นัยน์ตาบนห้วงหาว NASA

 

ภาพจากดาวเทียม TRMM แสดงบริเวณศูนย์กลางของไต้ฝุ่นไห่แย่นที่เริ่มคลายความเขม็งเกลียวเนื่องจากหมุนช้าลงเมื่อพัดอยู่เหนือทะเลฟิลิปปินส์และเกาะปาลาวัน (Palawan) เตรียมเคลื่อนเข้าสู่ทะเลจีนใต้ในวันศุกร์ 8 พ.ย.2556 ขณะความเร็วใกล้ศูนย์กลางกว่า 260 กม./ชม. ยังเป็นไต้ฝุ่นระดับ 5 นัยน์ตาในห้วงหาวมองเห็นรายละเอียดทุกอย่างอยู่เบื้องล่าง. -- ภาพ: NASA/SSAI, Hal Pierce.

ไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) ปั่นไอน้ำคละคลุ้งบรรยากาศในภาพถ่ายจากสถานีอวกาศ โดยนักบินอวกาศคาเร็น นีเบิร์ก (Karen Nyberg) ในวันเสาร์ 9 พ.ย.2556 นี้ ขณะไต้ฝุ่นใหญ่ที่สุดอีกลูกหนึ่งเท่าที่เคยมีการบันทึกเอาไว้กำลังหมุนเคว้งอยู่ในทะเลจีนใต้ ทิ้งความเสียหายสุดคณานับกับความเศร้าโศรกเอาไว้เบื้องหลัง ในฟิลิปปินส์มีผู้เสียชีวิตราว 1,200 คน. -- Associated Press/NASA/Handout.

ซูเปอร์ไต้ฝุ่นไห่แย่น (Haiyan) เหนือเกาะภาคกางฟิลิปปินส์ถ่ายไว้โดยดาวเทียมขององค์การนาซ่าสหรัฐ เมื่อเวลา 05.10 น. (GMT) หรือ 12.10 น.ตามเวลาในประเทศไทย วันที่ 8 พ.ย.2556 เป็นไต้ฝุ่นรุนแรงที่สุดอีกลูกหนึ่งเท่าที่เคยมีการบันทึกไว้. -- Reuters/NASA/Handout.

Credit: http://www.unigang.com/Article/16342
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...