ภูเขาไฟระเบิดที่ปอมเปอี : ตำนานและมรดกโลก

 

 

 

 

 

หายนะของเมืองปอมเปอี



ในอดีต ปอมเปอี (POMPEII) เป็นเมืองชายทะเลอันงดงาม ที่อยู่ริมอ่าวเนเปิลส์ทางตอนกลางของอิตาลี 
แต่แล้วในปี ค.ศ.79 ภูเขาไฟวีซูเวียส (VESUVIUS) ซึ่งอยู่ไม่ไกลจากเมือง ได้ระเบิดพ่นลาวาอันร้อนแรง 
รวมทั้งไอก๊าซพิษ และขี้เถ้าลงมาถล่มท่วมทับปอมเปอี ฝังร่างชาวเมืองนับพันคนไว้ทั้งเป็น 
เป็นภัยพิบัติทางธรรมชาติ ที่มาเยือนโดยไม่รู้ตัว



สาเหตุการระเบิดมหากาฬของวีซูเวียส เกิดจากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก โดยเปลือกโลกแอฟริกาทางตอนใต้ 
ได้เคลื่อนขึ้นมาทางเหนือและชนกับเปลือกโลกยูเรเชียน (ยุโรปกับเอเชีย) เมื่อแผ่นหินบดอัดกัน บางส่วนก็จมลงสู่เบื้องล่าง 
ลึกลงไป...ลึกลงไปสู่ใจกลางโลกที่ยังร้อนจัด จนกระทั่งหลอมละลายกลายเป็นลาวาที่เบากว่า 
แล้วก็พุ่งขึ้นมายังปากปล่อง ก่อความพินาศไปทุกสารทิศ 


ปอมเปอีที่รุ่งเรืองมายาวนานกว่า 800 ปี ต้องจมหายไปภายใต้ขี้เถ้าที่ตกลงมาทับถมสูงถึง 10 เมตร ภายในชั่วเวลา 2 วัน 
รายละเอียดของการระเบิดและความพินาศครั้งนี้ ได้มีผู้ที่เห็นเหตุการณ์คือ ไพลนีน้อย (PLINY THE YOUNGER) 
เขาได้บันทึกไว้และเชื่อว่าผู้อ่านหลายท่านคงได้เคยผ่านตาแล้ว จึงขอข้ามไปถึงเรื่องราวการขุดค้นเมืองนี้ในกาลต่อมา 
ซึ่งได้พบกับสิ่งที่น่ารู้น่าสนใจหลายประการ ยิ่งกว่าการขุดค้นเมืองโบราณใดๆ ของโลก



หายนะของเมืองปอมเปอี

วันที่ 24 สิงหาคม ค.ศ. 79 เวลา 13นาฬิกา 30 นาที ภูเขาไฟวิสุเวียสได้ระเบิดขึ้น ฝุ่นควัน หินพัมมิซ 

และก๊าซพิษจำนวนมากถูกพ่นออกมา กระแสลมในวันนั้นได้พัดพามันไปที่เมืองปอมเปอี และสตาเบีย 

ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของวิสุเวียส แต่เมืองปอมเปอีใกล้กว่า จึงได้รับผลกระทบมากกว่า ในช่วงเวลาไม่กี่นาที 

ท้องฟ้าเหนือเมืองปอมเปอีก็ถูกปกคลุมด้วยฝุ่นควันจากภูเขาไฟจนแสงอาทิตย์ไม่อาจส่องลอดมาได้ 

จึงตกอยู่ในความมืดคล้ายยามราตรี หลังจากนั้นไม่นาน หินพัมมิซในฝุ่นควันก็เริ่มจับตัวกันเป็นก้อนใหญ่ที่หนักขึ้น เย็นลง 

และเริ่มร่วงลงมาสู่เมืองปอมเปอี ชาวเมืองเริ่มวิตก บางคนรีบหนีไป บางคนไปหลบในบ้านหรือในสถานที่ส่วนรวม


 

เมื่อการระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียสทวีความรุนแรงขึ้นถึงขีดสุด แมกมา เถ้าถ่าน และก๊าซปริมาณมหาศาล ถึง 100,000 ตัน 
ถูกพ่นออกมาจากภูเขาไฟ และพุ่งขึ้นฟ้าด้วยความเร็วเท่ากับเครื่องบินเจ็ตสู่ระดับความสูง 33 กิโลเมตร
เทียบเท่ากับความสูงของภูเขาเอเวอเรสต์ 3.5 เท่า แมกมา ก๊าซ และเถ้าถ่านที่ภูเขาไฟ วิสุเวียสพ่นออกมานั้น
คิดเป็นปริมาตรมากกว่า 4 ลูกบาศก์กิโลเมตร และสามารถพบร่องรอยได้ไกลถึงแอฟริกา 
เถ้าถ่านเหล่านั้นมีจำนวนมากพอที่จะบรรจุลงในลูกบาศก์ ที่กว้าง ยาว สูง ด้านละ 2.4 กิโลเมตร 



ต่อมาไม่นานนัก ชาวปอมเปอีก็เริ่มหายใจไม่ออก เพราะก๊าซพิษที่ภูเขาไฟพ่นออกมาทำให้อากาศไม่สะอาด 
ผู้ที่พยายามจะหนีส่วนใหญ่ตาย สาเหตุการตายส่วนใหญ่เพราะหินพัมมิซขนาดใหญ่หล่นใส่หัว แล้วก็ล้มลงหมดสติ 
แล้วก็ขาดอากาศหายใจจนตายในที่สุด ตกเย็นวันเดียวกันนั้นเอง ชาวปอมเปอีที่หลบภัยในบ้านเริ่มตาย 
เพราะหินพัมมิซทับถมกันหนาจนบ้านถูกฝังและขาดอากาศหายใจจนตาย ต่อมาไม่นาน หลังคาบ้านก็เริ่มถล่ม 
เพราะรับน้ำหนักหินไม่ไหว ทำให้ผู้คนถูกฝัง 

ไม่เพียงเท่านั้นเมืองตากอากาศเฮอร์คิวลาเนียมซึ่งเป็นเมืองคู่แฝดก็ถูกฝังอยู่ใต้หินและเถ้าถ่านภูเขาไฟลึกถึง 25 เมตร 
ขยายแนวชายฝั่งให้ยาวกว่าเดิมถึงราว 450 เมตร



ผู้คนต่างตายไปทั้งที่ยังคงรูปร่างก่อนไม่กี่วินาทีที่จะรู้ตัวว่าภูเขาไฟจะระเบิด
หลังจากเมืองถูกภูเขาไฟถล่มไม่กี่วัน โดยพลเมืองปอมเปอีเอง นั่นคือผู้ที่หนีเอาชีพรอดไปได้ 
ได้หวนกลับคืนมาเพื่อสำรวจ ตรวจดูทรัพย์สมบัติของตน แต่อะไรจะเหลือให้เห็นเล่า 
ไม่ว่า ถนน วัดวาอาราม โรงละคร ตลอดจนที่อยู่ อาศัยทั้งหมด ล้วนจมอยู่ใต้ขี้เถ้าหนา 10 เมตรดังกล่าว









วันที่ 25 สิงหาคม ค.ศ. 79 ช่วงเช้า วิสุเวียสระเบิดแรงขึ้น ทำให้ท้องทะเลปั่นป่วนเพราะแรงสั่นสะเทือน 

คลื่นชายหาดแรงมากจนบ้านพักตากอากาศริมทะเลถูกคลื่นซัดพังไปหลายหลัง 

ช่วงบ่าย กระแสลมเปลี่ยนทิศไปทางทิศตะวันตก(เยื้องใต้เล็กน้อย) นำพาฝุ่นควันสู่เมืองมิเซนัมและเฮอร์คิวเลเนียม 

แต่เฮอร์คิวเลเนียมอยู่ใกล้กว่ามาก จึงได้รับหายนะมากกว่า

วันที่ 26 สิงหาคม ค.ศ. 79 ภูเขาไฟระเบิดเบาลง แต่ก็เกิดฝนตกลงมาบริเวณลาดเขาของภูเขาไฟวิสุเวียส ซึ่งเต็มไปด้วยเถ้าถ่านที่ร้อนจัด

วันที่ 27 สิงหาคม ค.ศ. 79 น้ำฝนละลายผสมกับเถ้าถ่านกลายเป็นโคลนเดือดไหลทะลักลงมากลบเมืองเฮอร์คิวเลเนียม ชาวเมืองหลายร้อยคนเสียชีวิต แต่เป็นเพียงส่วนน้อย เพราะส่วนใหญ่ได้ล่องรืออพยพออกไปแล้ว ไม่นาน ปอมเปอีก็หยุดอาละวาด

ผู้รอดตายได้กลับไปยังเมืองของตน แล้วได้นำซากอาคารที่โผล่พ้นเถ้าถ่านฝุ่นควันไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น


การขุดค้นพบเมืองปอมเปอี

 

 

ที่เหลืออยู่ืคือคฤหาสน์บางหลัง เช่น เวสตัลส์ (Vestals = นักบวชสตรีแห่งเทพีเวสตา) ใหญ่โตโอฬารและคงสภาพสมบูรณ์

 มีพร้อมทั้งประตูใหญ่ทางเข้า ห้องโถงกลาง ห้องนอน ห้องอาหาร สวน สระ ว่ายน้ำ น้ำพุ ท่อระบาย แม้กระทั่งห้องสุขา 

นอก จากนี้ ก็ยังมีเครื่อง เรือนเครื่องใช้ในครั้ง 2,000 ปีก่อนโน้นครบครัน ไม่ว่าเหยือกน้ำ ถังเก็บไวน์ ถ้วยชามเซรามิก 

โมเสกสีสันวิจิตร เหรียญบรอนซ์ โบราณ ผนังปูนที่เขียนภาพงดงาม ฯลฯ 


 

ใน ค.ศ. 1534 ได้มีการขุดค้นพบซากเมืองปอมเปอีเป็นครั้งแรก แต่ก็ไม่ได้รับความสนใจ ต่อมาใน ค.ศ. 1689 

คนงานขุดคลองส่งน้ำคณะหนึ่ง ได้ขุดไปเจอซากสิ่งก่อสร้างแบบโรมัน 

และพบเหรียญเงินและรูปปั้น ซึ่งพวกเขาได้เคลื่อนย้ายออกไป และขุดคลองต่อ

ค.ศ. 1748 ตระกูลบูร์บง ซึ่งเป็นเชื้อสายกับราชวงศ์บูร์บง ซึ่งเป็นผู้ปกครองรัฐเนเปิลส์ในอิตาลีระหว่าง ค.ศ. 1734-ค.ศ. 1861 

ได้สนใจที่จะค้นหาเมืองปอมเปอี พวกเขาจึงใช้เงินจ้างคนงานไปขุดเมืองโดยกยการขุดเป็นอุโมงค์เข้าไปจนพบเมือง 

พวกเขาจึงสั่งให้นำสิ่งของมีค่าออกมาและเก็บไว้ในพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวของตระกูลบูร์บง



ค.ศ. 1861 รัฐต่างๆในอิตาลีได้รวมกันเข้าเป็นประเทศเดียวกัน ส่งผลให้ตะกูลบูร์บงล่มสลาย 

ชาวอิตาลีจึงให้ความสนใจกับการขุดปอมเปอีมากขึ้น



 จิอูเซปเป ฟีออเรลลี ได้เป็นหัวหน้าคณะนักโบราณคดี 

เช่น ร่างกายชาวปอมเปอีนั้น ได้ถูกความร้อนและกาลเวลาเปลี่ยนสภาพเป็นโพรงขี้เถ้าขนาดเล็ก 

เขาได้เจาะรูลงไปเป็นรูเล็กๆ และเทปูนปลาสเตอร์ลงไป รอให้แห้งแล้วจึงขุดขึ้นมา 

ทำให้เห็นถึงท่าทางสุดท้ายของชาวเมืองหลายคนก่อนที่จะตาย




ค.ศ. 1924-ค.ศ. 1961หัวหน้าคณะนักโบราณคดีได้เปลี่ยนคนเป็น อเมดีโอ มายอูรี เขาบูรณะซ่อมแซมฝาผนังและเพดาน 
ข้าวของเครี่องใช้ที่นำมาศึกษาจะถูกวางไว้ที่เดิมหลังศึกษาเสร็จ และเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว 
ซึ่งผู้มาท่องเที่ยวจะสัมผัสได้ถึงชีวิตที่หรูหราในปอมเปอีและพลังอำนาจของธรรมชาติ



ความจริงแล้ว การขุดค้นปอมเปอีมีขึ้นผู้รอดชีวิตจากเหตุการณ์หายนะคราวนั้นบันทึกเหตุการณ์ผ่านจดหมาย

แล้วก็กลายเป็นจดหมายเหตุประวัติศาสตร์ ได้ข้อมูลว่า 

เมืองปอมเปอียามนั้นมีประชากรประมาณ 20,000 คน ถูกหินไฟเหลวกลบสิ้นชีวิต 2,000 คน 

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถูกบอกเล่าผ่านประสบการณ์ของคนที่เห็นเหตุการณ์ คนที่พยายามหลบหนี 

และเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ รวมถึงผู้รอดชีวิตรายหนึ่งที่เขียนเล่าเหตุการณ์ไว้ในบันทึกเรื่องราวภัยพิบัติ

ของ ไกอัส พลินิอัส ไมเนอร์ ที่ยังคงอยู่มาจนถึงทุกวันนี้

กว่า 1,800 ปีที่ภูเขาไฟเวซูเวียสไม่เคยปะทุ จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่ชาวเมืองปอมเปอีจะไม่รู้ว่ามันคือภูเขาไฟ 
จนถึงขั้นที่ว่าในภาษาลาตินไม่เคยมีการบัญญัติศัพท์คำว่าภูเขาไฟนี้มาก่อน แต่การหลับใหลของภูเขาไฟนั้น 
ยิ่งนานเท่าไหร่การระเบิดของมันก็จะยิ่งรุนแรงมากขึ้นเท่านั้น  แอ่งเก็บแมกม่าเดือดกว้างประมาณสามกิโลเมตร
ได้ก่อตัวขึ้นภายในภูเขาไฟเวซูเวียส มันถูกกักอยู่ภายในด้วยแมกม่าเก่าที่จุกอยู่ 
แต่ในที่สุดปฏิกิริยาเคมีที่เกิดจากน้ำและก๊าซก็ทำลายจุกลาวานั้น และภูเขาไฟเวซูเวียสก็ฟื้นคืนชีพอีกครั้ง 
ประกอบด้วยก๊าซร้อนจัด แมกม่า และเถ้าถ่านที่ก่อตัวเป็นหอคอยสูงขึ้นไปในท้องฟ้า 
แมกม่านั้นจะเย็นลงและตกลงมาบนผิวโลกในสภาพหินภูเขาไฟพรุน ซึ่งว่ากันว่าภูเขาไฟเวซูเวียสแห่งนี้
จะเกิดระเบิดขึ้นทุก ๆ 2,000 ปี กว่า 1,500 ปีต่อมามีการขุดซากเมืองและบูรณะเป็นระยะๆ นับจากค.ศ.1748 
ตราบจนปี 1860 การขุดสำรวจเริ่มเป็นไปตามหลักวิชาการมากขึ้นด้วยเทคนิคยุคใหม่
ทำให้ชาวโลกในปัจจุบันได้มีความรู้ ข้อมูลที่มีค่ายิ่งเกี่ยวกับชีวิตชาวโรมันในศตวรรษที่ 1


Credit: http://board.postjung.com/533411.html
9 พ.ย. 56 เวลา 22:05 3,731 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...