ปืนใหญ่คลื่นเสียง
รายละเอียดเกี่ยวกับ ปืนคลื่นเสียง (ยุคสงครามโลกครั้งที่สอง)
ปืนใหญ่คลื่นเสียง ได้รับการออกแบบโดย Dr. Richard Wallauschek ตัวปืนใหญ่ประกอบไปด้วย จานสะท้อนเสียงทรงพาราโบล่าขนาดใหญ่ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 3 เมตร เชื่อมต่อไปยังห้องอัดคลื่นเสียงที่มีกระบอกยิงคลื่นเสียง หลักการทำงาน ในช่วงแรกคลื่นเสียงจะสะท้อนไปมาจนเกิดเป็น คลื่นกระแทก(shockwave) ที่มีแรงอัดกว่า 1,000 milibars ที่ระยะ 50 เมตร ซึ่้งพลังทำลายขนาดนี้สำหรับผู้ชาย ถ้าได้รับประมาณครึ่งนาทีอาจมีผลถึงเสียชีวิต ในช่วงกลางปี 1940 กองทัพอเมริกาได้ทำการศึกษา และทดลองเกี่ยวกับ ปืนใหญ่คลื่นเสียง แต่ผลการทดลองยังไม่แน่ชัด ต่อมาในปี 1949 นักประดิษฐ์ชาวอเมริกัน นามว่า Guy Obolensky ได้สร้างปืนใหญ่คลื่นเสียงเลียนแบบ ของเยอรมัน และผลการทดลองยิ่งใหญ่แผ่นไม่ มันทำให้แผ่นไม้แตก แต่ผลการทดลองกับวัตถุที่อ่อนนุ่มเช่นสิ่งมีชีวิต กับได้ผลที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิงคือ มันกับทำให้แค่รู้สึกเหมือนมีแผ่นยางหนามา ปกคลุมร่างกายเท่านั้นเอง ฉะนั้นจึงยังเป็นปริศนาอยู่ว่า อนุภาคของปืนใหญ่คลื่นเสียงของเยอรมัน นั้นร้ายแรงตามที่กล่าวอ้างหรือไม่
ปืนใหญ่คลื่นเสียง ของเยอรมัน ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ขนาดใหญ่กว่า 3 เมตร
ปืนใหญ่คลื่นเสียงนี้ได้รับการพัฒนาโดย American Technology Corp of San Diego. (ต่อยอดมาจาก ต้นแบบของเยอรมัน) มันมีชื่อย่อๆว่า LRAD ย่อมาจาก Long Range Acoustical Device มันมีขนาดเล็กกว่าเดิมมากคือเหลือขนาดเพียง 0.84 เมตร(ต้นแบบเยอรมัน 3 เมตร) คลื่นเสียงที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะพุ่งตรงไป เฉพาะจุด เฉพาะบุคคล (ไม่ใช่เสียงดังที่กระจายไปทุกทิศทาง) อุปกรณ์นี้ ไม่ได้สร้างมาเพื่อฆ่า เหมือนในอดีต แต่มันใช้่สำหรับเพื่อควบคุมฝูงชน สลายการชุมนุมใช้เพื่อการติดต่อสื่อสารกันกันระหว่างเรือ ผลที่มีต่อมนุษย์ ทำให้เกิดอาการวิงเวียน คลื่นไส้ จนถึงขั้นเป็นลมหมดสติได้ มันถูกนำมาใช้ในอิรัก ในปัจจุบัน และจากการชมข่าวในระยะหลัง ก็ได้ยินการกล่าวถึงการนำ LRAD หรือ เครื่องเสียงเพื่อการสลายการชุมนุม มาใช้เพื่อควบคุมฝูงชน ในประเทศไทย บ่อยครั้ง
ปืนใหญ่คลื่นเสียง LRAD ของอเมริกาที่มีติดตั้งบนเรือรบ ใน US Navy มีไว้สำหรับส่งสารไปถึง เรือโจรสลัด ซึ่งในระยะ 1 กิโลเมตร เสียงที่ส่งไปยังเหล่าโจรนั้นดังกว่าการตะโกนคุยกันในระยะประชิดเสียอีก
ปืนใหญ่คลื่นเสียง LRAD ของอเมริกาที่มีติดตั้งบนรถหุ้มกราะ ใช้สำหรับควบคุมฝูงชน
กราฟแสดง พลังของคลื่นเสียง กับ ที่ระยะต่าง และบนขวาคือลักษณะของการกระจายตัวของคือเสียง
โดยบริเวณด้านหน้าเครื่อง LRAD ที่มุม 15-30 องศาเป็นช่วงที่คลื่นเสียงรุนแรงที่สุดอ่านได้จากราฟ
บริเวณด้านข้างความดังจะลดลงประมาณ 40 dB(เดซิเบล)
ส่วนบริเวณด้านหลังเครื่อง LRAD ความดัง จะลดลง 60 dB(เดซิเบล)
กราฟเปรียญเทียบ ระดับเสียงที่ความดังต่างๆ เป็นเดซิเบล
กราฟเปรียญเทียบ ระดับเสียงที่ความดังต่างๆ เป็นเดซิเบล
http://www.indymedia.ie/article/86200?userlanguage=ga&save_prefs=true http://www.indymedia.ie/article/66545