รำลึก 6 ตอร์ปิโดบก ถล่มหัวลำโพง 8 พย. 2529




มาดูสรุปเหตุการณ์สักหน่อยนะครับ ผมได้เก็บมาจากข่าวหนังสือพิมพ์หลายๆ ฉบับ แต่จะขอเว้นชื่อบุคคลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ที่เกิด เพราะมีตัวตนอยู่ ไม่อยากกระทบกระเทือนผู้ใด ตั้งใจไว้เพียงว่า เกิดเหตุขึ้นเมื่อไหร่ ? อย่างไร ? และผลที่ได้รับ คงเข้าใจกันนะครับ










เมื่อวันที่ 8 พฤศจิกายน 2529 เวลาประมาณ 08.50 น.

ขณะที่ผู้คนกำลังพลุกพล่านเพื่อรอเดินทางและรับญาติที่มาจากขบวนรถไฟบริเวณ ชานชาลาสถานีกรุงเทพ ( หัวลำโพง ) อยู่นั้น พลัน...ต้องตื่นตระหนกด้วยเสียงประกาศผ่านลำโพงกระจายเสียงจากจากเจ้า หน้าที่ฝ่ายประชาสัมพันธ์ พร้อมมีเจ้าหน้าที่ของสถานีวิ่งเป่านกหวีดออกมาไล่ต้อนผู้คนที่ยังงุนงงกับ เหตุการณ์ให้หลบหนีออกจากบริเวณชานชาลาสถานีโดยเร่งด่วน






ไม่กี่อึดใจ ทุกคนได้ยินเสียงรถจักรดีเซลดังใกล้เข้ามาพร้อมภาพขบวนรถจักรดีเซล จำนวน 6 คัน แล่นสู่ชานชาลาที่ 4

แล้วภาพที่ทุกคนไม่คาดคิดได้ปรากฏขึ้น เมื่อขบวนรถจักรดัเซลดังกล่าว ได้พุ่งเข้าชนแป้นปะทะ เลยขึ้นบริเวณพื้นชานชาลา ชนแผงป้ายตารางเดินรถขนาดใหญ่โค่นลงทับผู้คนที่หลบหนีไม่ทัน เข้าหาอาคารหน่วยประชาสัมพันธ์ ที่ทำการสาขาธนาคารกรุงเทพ และอาคารร้านค้าที่ตั้งอยู่ในบริเวณสถานีพังพินาศ เสียงดังสนั่นหวั่นไหว เศษข้าวของเกลื่อนกลาด จนกระทั่งรถจักรนำขบวนได้ล้มตะแคงขวางทาง ขบวนรถจักรดังกล่าวจึงหยุดสิ้นฤทธิ์ตรงหน้าประตูทางเข้าอาคารสถานี

หลังจากรับแจ้งเหตุ เจ้าหน้าที่ตำรวจและชุดบรรเทาสาธารณภัยของหน่วยงานต่างๆ นับร้อยคนได้ระดมกำลังรุดเข้าที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือผู้เคราะห์ร้ายที่ อยู่ภายใต้ซากปรักหักพัง








จากการตรวจค้นสถานที่เกิดเหตุและนำตัวส่งโรงพยาบาล ซึ่งผู้สื่อข่าวรายงานว่า มีผู้เสียชีวิตรวม 5 ราย ได้รับบาดเจ็บสาหัสรวม 8 ราย และได้รับบาดเจ็บเล็กน้อยนับสิบราย โดยเจ้าหน้าที่การรถไฟฯ ได้ประกาศปิดสถานีเป็นการชั่วคราวเพื่อดำเนินการ(กระผม)้ภัย และจัดหาที่กั้นผู้คนที่มามุงดูไม่ให้กีดขวางการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ อีกด้วย









จากการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุในเวลาต่อมา ขบวนหัวรถจักรที่ก่อเหตุ เป็นหัวรถจักรดีเซล จี.อี. จำนวน 6 คัน ประกอบด้วยหมายเลข 4029 , 4042 , 4044 , 4010 , 4006 และหมายเลข 4043 ซึ่งจอดอยู่ในโรงซ่อมรถจักรบางซื่อ แล่นออกมาโดยปราศจากคนขับ ผ่านหอควบคุมการเดินรถย่านสถานีบางซื่อ เมื่อเวลา 08.45 น. ซึ่งสังเกตเห็นสิ่งผิดปกติ และแจ้งเหตุให้พนักงานกั้นทางทุกแห่งให้เอาเครื่องกั้นลงเพื่อความปลอดภัย ของผู้ขับรถยนต์ และนายสถานีทุกแห่งบนเส้นทางได้เตรียมรับเหตุการณ์

แต่ในทางตัดที่ถนนประดิพัทธ์ พนักงานเอาเครื่องกั้นทางลงไม่ทัน ขบวนรถจักรได้พุ่งชนรถแท๊กซี่เสียหาย 1 คัน มีผู้โดยสารได้รับบาดเจ็บ และชนรถจักรยานยนต์เสียหายอีก 1 คัน ก่อนเข้าสู่บริเวณย่านสถานีกรุงเทพจนเกิดเหตุสลดใจดังกล่าว






หลังจากชุดเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยได้ค้นหาผู้ บาดเจ็บและนำศพผู้เสียชีวิตทั้งหมดออกไปจากที่เกิดเหตุแล้ว ในเวลา 10.00 น.ชุด(กระผม)้ภัยของการรถไฟฯ ได้เริ่ม(กระผม)้หัวรถจักรออกจากบริเวณ โดยนำหัวรถจักรหมายเลข 4043 และหมายเลข 4006 ซึ่งไม่ตกรางและอยู่ท้ายขบวน นำกลับโรงรถจักรบางซื่อ พร้อมกับวางรางฉุกเฉินเพื่อนำรถปั้นจั่น(กระผม)้ภัยเข้าเข้าจุดเกิดเหตุ โดยสามารถดึงเอาหัวรถจักรหมายเลข 4044 ออกไปได้สำเร็จเมื่อเวลาประมาณ 13.45 น. และได้นำหมายเลข 4010 กลับในเวลาต่อมา







ในระหว่าง(กระผม)้ภัย คณะแพทย์และชุดเจ้าหน้าที่บรรเทาสาธารณภัยได้พยายามช่วยเหลือหญิงผู้ประสบ เคราะห์ร้ายรายหนึ่ง ซึ่งหลบหนีไม่ทัน ถูกรถจักรหมายเลข 4029 พลิกมาทับร่าง ขาขวาแหลกละเอียด กระดูกสันหลังหัก โดยพยายามใช้แม่แรงและอุปกรณ์ยกตัวรถขึ้น เพื่อนำตัวผู้บาดเจ็บเข้าส่งโรงพยาบาล




แต่ตัวรถมีน้ำหนักมากถึง 75 ตัน ทำให้การช่วยเหลือเป็นไปยากลำบาก และคนเจ็บเสียเลือดมาก เริ่มมีอาการน่าวิตก แพทย์ได้ตัดสินใจตัดขาขวาทิ้ง จึงสามารถนำตัวไปรักษายังโรงพยาบาลได้





ในช่วงเวลาใกล้รุ่งของวันที่ 9 พฤศจิกายน เจ้าหน้าที่สามารถนำหัวรถจักรหมายเลข 4042 ออกมาได้ และสามารถ(กระผม)้หัวรถจักรหมายเลข 4029 ซึ่งเป็นคันสุดท้ายได้สำเร็จ ในเวลาประมาณ 12.15 น.










ในด้านคณะกรรมการสอบสวนอุบัติเหตุของการรถไฟฯ ได้ดำเนินการสอบปากคำพนักงานซ่อมบำรุงระดับหัวหน้าของโรงซ่อมรถจักรบางซื่อ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการเดินรถ และเจ้าหน้าที่หอสัญญาณ ได้ทราบว่า หัวรถจักรดีเซล จี.อี. ที่เกิดอุบัติเหตุ อยู่ในสภาพใช้งานได้ดีทุกคัน เมื่อซ่อมเสร็จเรียบร้อย ได้นำจอดพ่วงเรียงกันไว้ ในรางที่ 6 ของโรงซ่อม โดยมีหัวรถจักรหมายเลข 4044 จอดอยู่คันหน้าสุด

ในช่วงเวลาเกิดเหตุ ไม่ทราบว่าเป็นพนักงานผู้ใดขึ้นไปติดเครื่องยนต์หมายเลข 4044 ซึ่งได้เข้าคันบังคับเดินหน้าและล็อกคันเร่งเอาไว้ โดยอาจลงจากรถเพื่อไปรับโทรศัพท์ในขณะนั้นพอดี

หัวรถจักรรุ่นดังกล่าว มีระบบทำงานโดยใช้ลมอัด เมื่อเดินเครื่องไว้สักครู่ ลมอัดจะเข้าไปในระบบทำให้ทำงานครบวงจร จึงทำให้รถออกวิ่งโดยอัตโนมัติ โดยนำหัวรถจักรอีกสามคันที่พ่วงอยู่ออกไปด้วย และได้กระแทกกับหัวรถจักรที่จอดอยู่ข้างหน้าอีก 2 คัน ที่จอดในรางเดียวกัน ขอพ่วงได้ล็อกอัตโนมัติ ทำให้รถจักรอีก 2 คันติดพ่วงไปด้วย











ผลการตรวจสภาพของหัวรถจักรในที่เกิดเหตุพบว่า หัวรถจักรหมายเลข 4044 เป็นเพียงคันเดียวที่ติดเครื่องยนต์ เพราะในห้องขับด้านหน้าเข้าสถานีกรุงเทพ ตำแหน่งคันเปลี่ยนอาการอยู่ในท่าเดินหน้า คันเร่งอยู่ที่หมายเลข 0 ห้องขับด้านหลัง คันเปลี่ยนอาการซึ่งไม่มีคันจับอยู่ในท่าถอยหลัง คันเร่งอยู่ที่หมายเลข 5 ห้ามล้ออยู่ในท่าห้ามที่ MU 2 B ซึ่งเป็นตัวเปลี่ยนทิศทางลมการห้ามล้อฟรี จึงต้องสอบสวนหาตัวผู้ขึ้นไปติดเครื่องยนต์ของหัวรถจักรคันดังกล่าว โดยพุ่งประเด็นไปที่เจ้าหน้าที่พนักงานผู้หนึ่งที่อยู่ใกล้ชิดเครื่องมากที่ สุด และหายตัวไป ไม่ยอมมาให้ปากคำ





จนเมื่อเวลา 23.00 น. ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2529 เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าควบคุมตัวเจ้าหน้าที่นายตรวจเครื่อง ที่อยู่ปฏิบัติงานใกล้ชิดหัวรถจักรคันที่เกิดอุบัติเหตุ และนำตัวมาสอบสวนที่กองบังคับการตำรวจรถไฟ นพวงษ์

จากการสอบสวน เจ้าหน้าที่นายตรวจเครื่องรายดังกล่าว ให้การว่า ก่อนเกิดเหตุ ตนได้ขึ้นไปสตาร์ทเครื่องยนต์หัวรถจักรหมายเลข 4044 ซึ่งจอดที่ราง 6 ขณะที่ติดเครื่องอยู่นั้น ได้มีพนักงานเอาใบบุ๊คมาแจ้ง ให้ไปตรวจดูช่องลมที่หัวรถจักรหมายเลข 4118 ซึ่งจอดในรางที่ 4 ที่อยู่ห่างออกไปประมาณ 50 เมตร โดยตนใช้เวลาตรวจสอบประมาณ 10 นาที

จากนั้น จึงเดินกลับมาที่หัวรถจักรหมายเลข 4044 แต่ปรากฏว่า ได้หายไปแล้ว มาทราบภายหลังว่า ได้เกิดเหตุที่หัวลำโพง และได้ร่วมเดินทางไปกับเจ้าหน้าที่ของโรงซ่อมรถจักรบางซื่อโดยขบวนรถ ปั้นจั่นไอน้ำ(กระผม)้ภัย ไป(กระผม)้รถที่เกิดอุบัติเหตุจนถึงบ่ายวันที่ 8 พฤศจิกายน

แต่เนื่องจากความตกใจเพราะได้เห็นผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิต จึงหลบหนีไปอยู่บ้านเพื่อนจนถูกเจ้าหน้าที่ควบคุมตัว





ในวันที่ 10 พฤศจิกายน คณะเจ้าหน้าที่ตำรวจจากกองพิสูจน์หลักฐาน ได้เดินทางไปสอบบริเวณโรงซ่อมหัวรถจักรบางซื่อ และหอบังคับการเดินรถ โดยมีการพิสูจน์ทุกขั้นตอน เพื่อพิจารณาหาข้อมูลซึ่งคณะกรรมการสอบสวนได้พบประเด็นที่น่าสงสัยว่า รถที่วิ่งออกไปอาจเป็นการขัดข้องทางเทคนิคจริง เพราะจากการทดลองติดเครื่องแล้วทิ้งไว้นาน 8 นาที รถได้เคลื่อนตัวออกไปโดยมีสัญญาณเตีอน แต่ผู้อยู่รอบข้างไม่สามารถได้ยิน เนื่องจากในบริเวณโรงซ่อมดังกล่าวมีเสียงดังอยู่ตลอดเวลา






ในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้น มีประชาชนเสียชีวิตจำนวน 4 คน เป็นชาย 3 คน หญิง 1 คน มีผู้ได้รับบาดเจ็บ 3 คน เป็นหญิง 1 คน ชาย 2 คน ซึ่งการรถไฟฯ ให้ความช่วยเหลือเบื้องต้นเป็นค่าทำศพผู้เสียชีวิตรายละ 10,000 บาท และรับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้บาดเจ็บด้วย

ในด้านหัวรถจักรทั้งหมด 6 คัน ซึ่งใช้งานมาแล้ว 23 ปี ( พ.ศ.2529 ) เครื่องยนต์ไม่เสียหายสามารถซ่อมให้ใช้การได้ทุกคัน ค่าเสียหายประมาณ 200,000 บาท ส่วนอาคารที่ทำการหน่วยบริการเดินทาง และส่วนประกอบต่างๆ ค่าเสียหายประมาณ 800,000 บาท รวมมูลค่าความเสียหายประมาณ 1,000,000 บาท

Credit: http://portal.rotfaithai.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=660
28 มี.ค. 53 เวลา 23:03 4,956 8 98
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...