"อาร์คติก" ร้อนสุด ในรอบกว่า 4 หมื่นปี

กิฟฟอร์ด มิลเลอร์ นักวิจัยมหาวิทยาลัยโคโลราโด สหรัฐอเมริกา เผยแพร่ผลการศึกษาวิจัยฟองอากาศที่แทรกตัวอยู่ในชั้นน้ำแข็งขั้วโลกเหนือ และนำมาเปรียบเทียบกับก้อนมอสที่ได้จากโขดหินที่เดิมเคยถูกปกคลุมด้วยหิมะ ซึ่งหลอมละลายไปเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งถูกกำหนดอายุโดยกรรมวิธี เรดิโอคาร์บอน จากการวิเคราะห์ดังกล่าวพบว่าหญ้ามอสดังกล่าวถูกกักเก็บอยู่ใต้น้ำแข็งมา ตั้งแต่ 44,000 ปีที่ผ่านมาหรืออาจจะยาวนานถึง 120,000 ปี



เมื่อนำข้อมูลดังกล่าวมาวิเคราะห์ร่วมกับข้อมูลจากการวิเคราะห์ฟองอากาศในแผ่นน้ำแข็งจากบริเวณใกล้เคียงกันมิลเลอร์ สรุปว่า อุณหภูมิของพื้นผิวโลกบริเวณที่เรียกว่า "อาร์คติกแคนาดา" ในเวลานี้ ถือเป็นอุณหภูมิที่สูงที่สุดในรอบอย่างน้อย 44,000 ปี และอาจสูงที่สุดในรอบ 120,000 ปีก็เป็นได้

ตามข้อมูลจากการศึกษาวิเคราะห์ของมิลเลอร์และทีมพบว่า ทวีปอาร์คติกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ตลอดช่วงระยะเวลา 1 ศตวรรษที่ผ่านมา แต่อุณหภูมิสูงขึ้นอย่างพรวดพราดนับตั้งแต่ทศวรรษ 1970 หรือราว 20 ปีที่ผ่านมาเป็นต้นมา สืบเนื่องจากภาวะก๊าซเรือนกระจกที่ทำให้อุณหภูมิของโลกสูงขึ้นมากนั่นเอง มิลเลอร์เชื่อว่าน้ำแข็งในบริเวณอาร์คติกแคนาดาจะละลายหมดในไม่ช้าไม่นานเช่นเดียวกันกับน้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเหนือทั้งหมด




ที่มา : นสพ.มติชน

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/57275.html
1 พ.ย. 56 เวลา 09:24 1,382 40
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...