ภาพมุมสูงเหตุประท้วงของหมอและพยาบาลในเจ้อเจียง เมื่อวันจันทร์ (28 ต.ค.) ที่ผ่านมา (ภาพ - ซินหวา)
ขณะที่ซินหวา สื่อทางการจีน อ้างคำกล่าวสมาชิกครอบครัวของนายเหลียนว่า นายเหลียนมีอาการปวดศีรษะ หายใจไม่สะดวก และเจ็บปวดบริเวณบาดแผลหลังทำการผ่าตัด จึงได้เดินทางกลับไปยังโรงพยาบาลเพื่อสอบถามสาเหตุและการแก้ไข ทว่า กลุ่มนายแพทย์ก็ปฏิเสธการรักษาเพิ่มเติมอยู่หลายครั้ง โดยระบุว่า “การผ่าตัดประสบผลสำเร็จดี”
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่ตำรวจได้เข้าจับกุมตัวนายเหลียน พร้อมพยานหลักฐานมัดตัวในวันก่อเหตุทันที
ทั้งนี้ กรณีการทำร้ายแพทย์หรือพยาบาลในจีนปรากฏบ่อยครั้งขึ้นในช่วงหลายปีที่ผ่านมา โดยจากสถิติของสมาคมโรงพยาบาลของจีนเผยว่า ในปี 2555 พบอัตราเฉลี่ยเหตุทำร้ายร่างกายแพทย์หรือพยาบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 27.3 สูงขึ้นจากปี 2551 ซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 20.8
สมาคมฯ รายงานเสริมอีกว่า ปัจจัยหลักของการก่อเหตุความรุนแรงนั้นมาจากปัญหาของการสื่อสารระหว่างแพทย์และผู้ป่วย ค่าใช้จ่ายที่ค่อนข้างสูง และความไม่พอใจส่วนตัวของคนไข้ รวมถึงการที่มีจำนวนผู้ป่วยในการรักษาล้นมือจนไม่สามารถดูแลได้อย่างทั่วถึง และค่าตอบแทนที่มีทีท่าลดลงเรื่อยๆ ซึ่งเป็นเหตุให้เกิด “การรับสินบน” ระหว่างหมอกับคนป่วยมากขึ้น
นายเหลียน เอินชิง ขณะถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจรวบตัว หลังลงมือสังหารนายแพทย์ดับ 1 ราย และบาดเจ็บ 2 คน เมื่อวันศุกร์ (25 ต.ค.) ที่ผ่านมา (ภาพ - ซินหวา)