10 อันดับ "ทาส" ในอาเซียน

 มูลนิธิวอล์คฟรี ที่ทำงานศึกษาด้านการใช้แรงงานทาส รวมทั้งเคลื่อนไหวเพื่อขจัดการใช้แรงงานทาสในโลกปัจจุบัน จัดอันดับผลการสำรวจ "ดัชนีความเป็นทาสโลก" โดยชี้ว่าโลกยังคงมี "ทาสยุคใหม่" ซึ่งให้นิยามว่า รวมทั้งการค้ามนุษย์ การบังคับแต่งงาน การบังคับใช้แรงงาน การใช้แรงงานเด็ก และการเป็นแรงงานขัดหนี้

ผลสำรวจพบว่า "ไทย" ติดอันดับการมีทาสยุคใหม่อันดับแรกสุดในบรรดาประเทศอาเซียน หากจัดลำดับตามจำนวนประชากรที่ถือว่าเป็นทาสยุคใหม่โดยประมาณ ซึ่งในไทยมีจำนวน 472,811 คน แต่หากเทียบกับอีก 162 ประเทศทั่วโลก ไทยอยู่อันดับที่ 7 

ทั้งนี้ ประเทศที่มีทาสยุคใหม่มากสุด 6 อันดับแรก ได้แก่ 1.อินเดีย จำนวน 13,956,010 คน 2.จีน จำนวน 2,949,243 คน 3.ปากีสถาน จำนวน 2,127,132 คน 

4.ไนจีเรีย จำนวน 701,032 คน 5.เอธิโอเปีย จำนวน 651,110 คน และ 6.รัสเซีย จำนวน 516,217 คน

การสำรวจดังกล่าวระบุว่า ทาสยุคใหม่ในโลกทั้งหมดมีจำนวนสูงถึง 29.8 ล้านคน และประเทศที่มีทาสยุคใหม่มากสุด 10 ประเทศแรก มีจำนวนสูงถึง 76% อีกทั้ง 7 ใน 10 ประเทศแรกอยู่ในเอเชีย ส่วนอีก 3 ประเทศอยู่ในทวีปแอฟริกา

ใน การประชุมนานาชาติ "มาตรการในการป้องกันและปราบปรามการกระทำรุนแรงต่อหญิงและเด็ก กรณีการค้ามนุษย์ในประชาคมอาเซียน" ตัวแทนจากเจ้าภาพฝ่ายไทย โดยสำนักงานอัยการสูงสุด กล่าวว่า ไทยเป็นประเทศที่มีปัญหาในเรื่องการค้ามนุษย์ เนื่องจากเป็นทั้งผู้ส่ง ผู้รับ และประเทศทางผ่าน ไทยจึงได้ร่วมมือกับประเทศปลายทาง ทั้งญี่ปุ่นและประเทศแถบยุโรปดำเนินการป้องกัน แก้ไข และช่วยเหลือส่งเหยื่อกลับประเทศ 

ส่วนความร่วมมือกับเพื่อนบ้าน ไทยได้ทำบันทึกความเข้าใจระหว่างไทย-กัมพูชา ว่าด้วยการหยุดยั้งปราบปรามการค้าเด็กและหญิง, การช่วยเหลือเหยื่อของการค้ามนุษย์ รวมถึงมีการพูดคุยและทำข้อบันทึกความเข้าใจในลักษณะเดียวกันนี้กับลาวและ เวียดนามในอนาคต

ไทยมียุทธศาสตร์การป้องกันการค้ามนุษย์ 5 ข้อ 
1.การยับยั้ง คือยับยั้งทั้งแรงงานต่างชาติและคนไทยที่เข้ามาทำงานในไทยไม่ให้ตกเป็น เหยื่อการค้ามนุษย์

2.การดำเนินการทางกฎหมาย ทั้งการดำเนินการสืบสวน ฟ้องร้อง และตัดสินคดีความ3.ป้องกันและช่วยเหลือเหยื่อในประเทศ และเหยื่อที่ถูกล่อลวงไปค้ามนุษย์ในประเทศปลายทาง ผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ 

4.นโยบายให้ทุกภาคส่วนป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ร่วมกัน ทั้งภาครัฐ เอกชน องค์กรระหว่างประเทศ และภาคประชาสังคม

5.ร่วมมือกับนานาประเทศผ่านความร่วมมือระหว่างประเทศ 

ไทย ยังดำเนินนโยบายเพื่อต่อต้านภัยการค้ามนุษย์ โดยลงนามในอนุสัญญาสหประชาชาติเพื่อต่อต้านอาชญากรรมข้ามชาติ และเข้าร่วมกระบวนการบาหลี เพื่อแก้ไขปัญหาการลักลอบขนคนเข้าเมือง การค้ามนุษย์ และอาชญากรรมข้ามชาติ

ในแง่กฎหมาย ปัจจุบันไทยมีพระราชบัญญติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ปี 2551 โดยมีมาตรา 6 และมาตรา 4 

ใจ ความของมาตรา 6 เกี่ยวกับลักษณะของผู้ที่กำลังทำความผิดฐานการค้ามนุษย์ ซึ่งมีขอบข่ายเป็นผู้รับ จัดหา ซื้อขาย พามาจาก หรือส่งไปยังปลายทาง หน่วงเหนี่ยวกักขัง จัดให้อยู่อาศัย หรือรับเหยื่อมาโดยการข่มขู่ ใช้กำลังบังคับ ลักพาตัว ฉ้อฉล หลอกลวง รวมถึงการใช้อำนาจโดยมิชอบหรือโดยให้เงิน ตลอดจนเสนอผลประโยชน์ให้กับแก่ผู้ปกครองหรือผู้ดูแลเพื่อที่จะปล่อยเหยื่อ ให้มากับขบวนการค้ามนุษย์ สำหรับใช้ในการแสวงหาประโยชน์จากบุคคล ส่วนมาตรา 4 ให้ขอบเขตของคำว่า แสวงหาประโยชน์โดยมิชอบ คือแสวงหาประโยชน์จากการค้าประเวณี หรือการผลิตและ
เผยแพร่สื่อลามก และการแสวงหาประโยชน์ทางเพศในรูปแบบอื่น การใช้แรงงานทาส การนำคนมาขอทาน การบังคับใช้แรงงานหรือบริการ การบังคับค้าอวัยวะ หรือการอื่นใดที่คล้ายคลึงกัน ใครเข้าข่ายตาม 2 มาตราดังกล่าว ถือว่ามีความผิดฐานค้ามนุษย์
Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/57212.html
29 ต.ค. 56 เวลา 16:11 4,236 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...