กำแพงเบอร์ลิน กำแพงแห่งประวัติศาสตร์

 

 

 

 

 


กำแพงเบอร์ลิน (เยอรมัน: Berliner Mauer) เป็น กำแพงที่สร้างขึ้นช่วงหลังเยอรมันพ่ายสงครามโลกครั้งที่สอง และถูกแบ่งเป็นสองประเทศ มีวัตถุประสงค์เพื่อปิดกั้นพรมแดนเบอร์ลินตะวันตกซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ เยอรมันตะวันตก ออกจากเยอรมนีตะวันออกที่โอบล้อมอยู่โดยรอบ 

มี ความยาวทั้งสิ้น 155 กิโลเมตร เริ่มสร้างเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และได้ทำหน้าที่ในการปิดกั้นพรมแดนนี้เป็นระยะเวลา 28 ปี ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532

ในเยอรมันตะวันออก กำแพงเบอร์ลิน คือ แนวเขตแดนที่มั่นคง และสัญลักษณ์ของการต่อต้านทุนนิยม 

แต่สำหรับโลกเสรีแล้ว มันคือ สัญลักษณ์ของความขัดแย้งระหว่างระบบทุนนิยมของยุโรปตะวันตก ภายใต้การนำของสหรัฐอเมริกา กับระบบคอมมิวนิสต์ของยุโรปตะวันออก ภายใต้การปกครองของสหภาพโซเวียต หรือที่เรียกกันว่า สงครามเย็น นั่นเอง กำแพงเบอร์ลิน ทำให้กรุงเบอร์ลินฝั่งตะวันตก กลายเป็นเสมือน หน้าต่างสู่เสรีภาพ

นับตั้งแต่การสร้างกำแพงเบอร์ลิน การข้ามผ่านแดนจากเยอรมันตะว้นออก ไปยังเยอรมันตะวันตก กลายเป็นเรื่องผิดกฎหมาย หากมีการฝ่าฝืนและถูกพบเห็น มีโทษสถานเดียว คือ การยิงทิ้ง ณ บริเวณกำแพงนั่นเอง ตลอดระยะเวลา 28 ปี 

กำแพงเบอร์ลิน ถูกใช้งานเป็นเวลา 28 ปี ในช่วงเวลานี้ มีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างและรูปแบบของกำแพงถึง 4 ครั้ง แต่ละครั้งจะเพิ่มความแข็งแรง และความสูงของกำแพงเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เพื่อป้องกันการหลบหนีของชาวเยอรมันตะวันออก เนื่องจากกำแพงกันระหว่างเยอรมันตะวันออก และเยอรมันตะวันตก มีจุดเปราะบางที่สุดที่กรุงเบอร์ลินนี่เอง กำแพงเบอร์ลินทั้ง 4 รุ่นมีพัฒนาการดังนี้

กำแพงรุ่นที่ 1 เริ่มสร้างเมื่อวันที่ สิงหาคม พ.ศ. 2507 เป็นแนวรั้วลวดหนาม เป็นการสร้างชั่วคราวเพื่อป้องกันการอพยพของประชาชน เป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่มีอายุใช้งานสั้นที่สุด

กำแพงรุ่นที่ 2 เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน ถูกสร้างขึ้นแทนกำแพงรั้วลวดหนามทันทีที่กำแพงรั้วลวดหนามเสร็จสมบูรณ์ แต่กำแพงก่ออิฐถือปูนนี้ก็ไม่แข็งแรงพอที่ปิดกั้นความปรารถนาในการแสวงหา เสรีภาพของประชาชน มีความพยายามในการหลบหนีด้วยการทำลายกำแพงเกิดขึ้นหลายครั้ง

กำแพงรุ่นที่ 3 เป็นรั้วคอนกรีตสำเร็จรูป ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เกิดความแข็งแรง และความสูงเพิ่มขึ้น

กำแพงรุ่นที่ 4 ถูกสร้างในปี ค.ศ. 1975 เป็นแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูปขนาดกว้าง 1.2 เมตร สูง 3.6 เมตร จำนวนกว่า 45,000 แผ่นถูกต่อเป็นแนวรอบกรุงเบอร์ลินตะวันตกเชื่อมต่อด้วยท่อคอนกรีตที่ด้านบน กำแพง กำแพงรุ่นนี้ถูกใช้งานจนกระทั่งถึงการล่มสลายในปี ค.ศ. 1989 และเป็นกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ถูกนำไปแสดงในพิพิธภัณฑ์ และสถานที่ต่าง ๆ ในปัจจุบัน ในการก่อสร้างกำแพงเบอร์ลินรุ่นที่ 4 ใช้งบประมาณสูงถึงกว่า 1,650 ล้านมาร์ก ณ ขณะนั้นทีเดียวสำหรับประชาชนเยอรมันทั้งตะวันตก และตะวันออก และประชาคมโลกในระบบประชาธิปไตย กำแพงเบอร์ลิน เปรียบเสมือนการปิดกั้นเสรีภาพของประชาชน ว่ากันว่า กำแพงเบอร์ลิน เป็นกำแพงแห่งเดียวในโลกที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อปิดกั้นประชาชนในประเทศของตน จากโลกภายนอก ในขณะที่กำแพงเมืองอื่น ๆ ทั่วโลกนั้นมีไว้เพื่อป้องกันไม่ให้ศัตรูเข้ามารุกรานเสรีภาพของชาวเมือง ในทางกลับกัน สหภาพโซเวียต ผู้อยู่เบื้องหลังการสร้างกำแพงเบอร์ลิน กลับมองว่า กำแพงเบอร์ลิน คือนวัตกรรมของชนชาติ

กำแพงเบอร์ลินเริ่ม สร้างเพื่อจำกัดการเข้าออกระหว่างเขตเบอร์ลินตะวันออกและตะวันตก เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2504 (ค.ศ. 1961) และตั้งอยู่เป็นระยะเวลา 28 ปี 

ก่อนจะทลายลงในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 กำแพงเบอร์ลินเป็นสัญลักษณ์ของสงครามเย็น

ในระหว่างที่กำแพงยังตั้งอยู่นั้น มีความพยายามหลบหนีข้ามเขตแดนราว 5,000 ครั้ง มี 192 คนถูกฆ่าระหว่างการหลบหนี และอีกประมาณ 200 คนบาดเจ็บสาหัส ในช่วงแรกนั้น 

การหลบหนีเป็นไปอย่างไม่ยากนัก เนื่องจากกำแพงในช่วงแรกเป็นเพียงรั้วลวดหนามเตี้ย ๆ และบางส่วนก็กระโดดออกมาทางหน้าต่างของตึกที่อยู่ติดกับกำแพง แต่ไม่นานนักกำแพงก็เปลี่ยนเป็นคอนกรีตที่แน่นหนา ส่วนหน้าต่างตึกต่าง ๆ ที่อยู่ใกล้กับกำแพงก็ถูกก่ออิฐปิดตาย

การหลบหนีครั้งที่ไม่สำเร็จที่โด่งดังที่สุดก็คือ

 เมื่อครั้งที่นายปีเตอร์ เฟตช์เตอร์ (Peter Fechter) 

ถูกยิงและปล่อยให้เลือดไหลจนตายต่อหน้าสื่อมวลชนตะวันตก เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2505 

(ค.ศ. 1962) ผู้หลบหนีรายสุดท้ายที่ถูกยิงตายคือนาย Chris Gueffroy 

เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2532 (ค.ศ. 1989)

ในวันที่ 9 พฤศจิกายน พ.ศ. 2532 นาย Guumlnter Schabowski รัฐมนตรีว่าการกระทรวงโฆษณาการ (Minister of Propaganda) ของเยอรมนีตะวันออกได้แถลงข่าว (ซึ่งภายหลังพบว่าเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนของเขาเอง) ว่าทางการจะอนุญาตให้ชาวเบอร์ลินตะวันออก ผ่านเข้าออกเขตแดนได้อย่างเสรีอีกครั้ง ทันใดนั้นเอง ผู้คนนับหมื่นที่ได้ทราบข่าวก็ได้หลั่งไหลไปยังด่านต่าง ๆ ของกำแพง. 

หลัง จากความโกลาหลอยู่ช่วงหนึ่ง เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยยังไม่ได้รับคำสั่งใด ๆ จากทางการ ในที่สุดเจ้าหน้าที่ก็ต้องยอมปล่อยให้ฝูงชนผ่านเขตแดนไปอย่างไม่มีทางเลือก ชาวเบอร์ลินตะวันตกออกมาต้อนรับชาวเบอร์ลินตะวันออก บรรยากาศในเช้ามืดวันนั้นเหมือนงานเฉลิมฉลอง ชาวเยอรมันจึงถือกันว่าวันนี้เป็นวันล่มสลายของกำแพงเบอร์ลิน

สำหรับการทุบทำลายตัวกำแพงนั้น เริ่มเมื่อวันที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2533 

โดยคงเหลือกำแพงบางช่วงไว้เป็นอนุสรณ์ และในภายหลัง ซากกำแพงบางส่วน

ก็ถูกจำหน่ายเป็นของที่ระลึก ส่วนบางส่วนก็ถูกนำไปตั้งแสดงที่อื่นเพื่อเป็นอนุสรณ์ 

เช่นที่ด้านหน้าสภายุโรป ณ กรุงบรัสเซล ประเทศเบลเยียม

การล่มสลายของกำแพงเบอร์ลินนั้น ได้เป็นขั้นตอนแรกของการรวมชาติเยอรมนีในที่สุด 

เมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2533 และได้ถือเอาวันนี้เป็นวันชาติของประเทศเยอรมนีใหม่



Credit: http://board.postjung.com/571039.html
27 ต.ค. 56 เวลา 16:51 2,177 1 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...