ความทรมาน ของ พระเยซู

 

 

 

 

 

บอกเล่าความทรมาน ของ พระเยซู

การตรึงที่กางเขนเป็นการทรมาน..ให้ตายอย่างช้าๆ

 

 

เมื่อ ครั้งที่ข้าพเจ้ายังเด็ก ครูรวีวารศึกษาได้สอนข้าพเจ้าเป็นครั้งแรกถึงเรื่องพระกำเนิด, การดำเนินชีวิต, การสิ้นพระชนม์, และ การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู ครั้นข้าพเจ้าย่างเข้าสู่วัยหนุ่มก็ได้ พยายามจัดลำดับความรู้ เหล่านั้นให้เป็นระเบียบ เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าคิดสงสัยเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระเยซู แต่นี่ก็ไม่ได้หมายความว่าข้าพเจ้าปฏิเสธพระคัมภีร์ เพียงแต่รู้สึกไม่แน่ใจในหลายๆ อย่าง

บางครั้งความรู้สึกนี้ทำให้ข้าพเจ้า (สงสัยตนเองมีความสัมพันธ์กับพระคริสต์หรือไม่) เมื่อ ข้าพเจ้าศึกษาอยู่ในวิทยาลัย อาจารย์กำหนดให้ข้าพเจ้าเขียนรายงานประจำภาคเรื่องหนึ่ง ข้าพเจ้าจึงได้ เลือกค้นคว้าเรื่องการสิ้นพระชนม์ของพระเยซูอย่างละเอียดที่สุดเท่าที่จะทำ ได้ เมื่อได้ศึกษาเรื่องนั้นแล้ว ข้าพเจ้าเกิดความรู้สึก 2 อย่าง คือ รู้สึกหวาดกลัวในเหตุการณ์อันสยดสยองครั้งนั้น และมีความเชื่อในพระเยซูคริสตฺ์ จากหลักฐานต่างๆ ของนักประวัติศาสตร์เป็นที่พิสูจน์แล้วว่า พระองค์เป็นพระบุตรของพระเจ้าผู้ทรงฟื้นขึ้นจากความตาย

ใน สมัยของพระคริสต์นั้น รัฐบาลโรมจะประหารชีวิตนักโทษโดยการจับตรึงที่กางเขน การลงโทษโดยใช้วิธีนี้มิใช่เพื่อล้างผลาญชีวิตของผู้กระทำผิดเท่านั้น แต่เพื่อให้ประชาชนได้เห็นโทษที่ผู้กระทำผิดได้รับอีกด้วย

อย่างน้อย 10 ฉบับที่พยายามทำความเข้าใจสาเหตุทางกายภาพของการเสียชีวิตของพระเยซู ในจำนวนนี้รวมถึงความพยายามของคนอเมริกันกลุ่มหนึ่งในปี 2005 ที่มีการตรึงอาสาสมัครกับกางเขนชั่วคราวและอย่างปลอดภัยด้วยเข็มขัด การทดลองนี้ทำให้ได้มาซึ่งสมมติฐานมากมาย ตั้งแต่หัวใจล้มเหลวไปจนถึงเลือดคั่งในปอด และอาการสลบและช็อคเนื่องจากความดันโลหิตลดต่ำ เหยื่อจะเจ็บปวดทรมานอยู่นาน 6 ชั่วโมงนับจากถูกตรึงกางเขนจนเสียชีวิตจากการเสียเลือด ขาดน้ำ และน้ำหนักของร่างกายที่กดทับปอด

การตรึงที่กางเขน เป็นการทรมานนักโทษให้ตายอย่างช้าๆ ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนขยาดกลัว มิกล้ากระทำผิด วิธีตรึงที่กางเขนนั้น แผกแตกต่างกันไปบ้าง เล็กน้อยในแต่ละแห่ง แต่ผลลัพธ์นั้นก็เหมือนกัน คือ ความเจ็บปวดรวดร้าวจนตาย อย่างช้าๆ ท่านเคยคิดสงสัยเหมือนข้าพเจ้าหรือไม่ว่า ตะปูที่แทงทะลุมือและเท้าจะทำให้คนตายได้อย่างไรกัน ขอเชิญพิจารณาร่วมกับข้าพเจ้าถึงเรื่องนี้

การโบยตี – บาง ครั้ง สิ่งแรกสุด ในกระบวนการตรึงที่กางเขนก็คือ การเฆี่ยนตีผู้กระทำผิดจนเกือบจะตาย จากประวัติศาสตร์ที่มิได้ระบุระยะเวลาอย่างชัดแจ้ง, นักโทษที่ถูกโบย 40 ที ถึงแก่ความตาย ดังนั้นเองพวกทหารโรมันจึงโบยนักโทษแต่เพียง 39 ที เท่านั้น โดยใช้แส้ที่มีสายหนังหลายเส้น แต่ละเส้นมีหินหรือกระดูกแหลมคมติดอยู่ที่ปลายแส้ นักโทษที่ถูกโบยจะมีแผ่นหลังและสีข้างเป็นรอยแตกยับ กระดูกสันหลังได้รับความกระทบกระเทือนจนประสาทถูกทำลาย

การแบกไม้กางเขน นักโทษบางคนต้องแบกไม้กางเขนไปยังแดนประหารเป็นระยะทางไกล เพื่อประจานตัวเอง มิให้ประชาชนเอาเป็นเยี่ยงอย่าง โดยทั่วไปแล้ว นักโทษผู้เคราะห์ร้ายจะถูกบังคับให้แบกกางเขน

นักประวัติศาสตร์ รายงานเราว่า ชาวโรมันใช้วิธีตรึงที่กางเขน 2 แบบ ในสถานที่ต่างกันและอันที่จริงแล้ว เราก็ไม่แน่ใจว่าพวกเขาใช้วิธีใดกับองค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา

วิธี แรก พวกทหารโรมันจะปักไม้ท่อนตรงลงในแดนประหารอย่างแน่นหนา นักโทษจะถูกบังคับให้แบกไม้อีกท่อนหนึ่ง (ซึ่งมีขนาดและน้ำหนักพอๆ กับไม้หมอนรถไฟ) ไป จนถึงที่ประหารซึ่งทหารโรมันจะตรึงแขนทั้งสองข้างของเขากับท่อนไม้ที่แบกมา จากนั้นก็จะยกขึ้นพาดกับไม้หลักตรงรอยบาก แล้วผูกให้ติดกันแน่น พวกทหารจะตอกตะปูทะลุเท้าของนักโทษให้ติดแน่นกับไม้หลัก โดยให้เข่าทั้งคู่งอ และฝ่าเท้านาบไปกับไม้หลักนั้น

วิธี ที่สอง ทหารโรมันจะเอาไม้มาประกอบกันเป็นไม้กางเขน แล้วบังคับให้นักโทษแบกลากไปยังแดนประหาร ณ ที่นั้นพวกเขาจะตรึงแขนและเท้าของนักโทษกับไม้กางเขน ดังได้พรรณนามาแล้วข้างต้น การตรึงทั้งสองวิธีจะใช้เชือกหรือสายหนัง รัดรึงแขนทั้งสองข้างของผู้เคราะห์ร้ายเข้ากับบางเขน บางครั้งอาจใช้แทนการตอกตะปู หรืออาจใช้ประกอบเพิ่มจากการตอกตะปูแล้วก็ได้

 

จากนั้น พวกเขาก็จะช่วยกันยกกางเขนมาหย่อนลงในหลุมที่ขุดในหินแล้วตอกลิ่มที่โคน กางเขนเพื่อมิให้โคลงเคลง ตอนนี้เองที่ความทุกข์ทรมานจนตายอย่างช้าๆ ได้เริ่มขึ้น เมื่อแขนทั้งสองข้างของนักโทษเหยียดออก น้ำหนักของร่างกายก็ถ่วงลงจากข้อมือ ดึงกล้ามเนื้อที่ทรวงอก (ซึ่ง มีหน้าที่ควบคุมการหายใจ) ทำ ให้เกิดอาการชา การหายใจติดขัด ตามเนื้อตามตัวของนักโทษจะปรากฎ รอยจ้ำ ดำๆ หลายๆ แห่งให้เห็น ทั้งนี้เพราะร่างกายขาดออกซิเจน ดังนั้นเพื่อจะได้หายใจสักหนึ่งหรือสองเฮือก นักโทษผู้ อ่อนระโหยโรยแรงก็จะกระ...กระสนเหยียดตัวขึ้น โดยการเขย่งเท้า (ทำให้น้ำหนักของร่างกายทั้งหมดมาตกที่ตะปูตัวที่แทงทะลุเท้าทั้งสองข้าง)

แต่ในไม่ช้าผู้เคราะห์ร้ายก็จะทิ้งตังลงอยู่ในสภาพเดิม (คือ เข่างอทั้งคู่) เพราะ เจ็บปวดแสนสาหัส เขาจะเหยียดตัวขึ้นแล้วก็ทิ้งตัวลงอย่างนี้เรื่อยๆ ไป ครั้นเวลาร่วงเลยไป ร่างที่บอบช้ำหมดเรียวแรงก็จะหยุดนิ่ง เขย่งขาไม่ได้อีก นักโทษจะสั่นเทาไปทั้งตัว ทั้งนี้เพราะกล้ามเนื้อที่ทรวงอกเป็นอัมพาต ทำให้หายใจไม่ออก มีนักโทษประหารบางรายทนการทรมานอย่างนี้ ได้นานจนพวกทหารโรมันต้องใช้หอกเสียบ และทุบขาให้หักทั้งสองข้าง เพื่อทำให้เขาไม่สามารถเหยียดตัวขึ้นหายใจได้ ไม่ช้าก็จะเกิดการชักกะตุกอย่างรุนแรงที่บริเวณหน้าอกของนักโทษ ทำให้เขาสิ้นชีวิตลงทันที

ลองพิจารณาดูเถิดว่า ลมหายใจ (ของนักโทษ) แต่ ละเฮือกนั้นมีค่ามากเพียงใด เพราะฉะนั้นพระดำรัสของ พระเยซูบนไม้กางเขน เกี่ยวกับการอภัยบาปจึงมีความหมายลึกซึ้งจริงๆ และเนื่องจากพระเยซูผู้ทรงฤทธิ์อำนาจไม่จำกัดยินยอมให้พวกเขาแขวนพระองค์เอง ที่กางเขน เพื่อเป็นค่าไถ่พวกเรา ท่านเปาโลจึงเรียกร้องให้เรามีความเชื่อว่า “…. พระองค์ก็ทรงถ่อมพระองค์ลง ยอมเชื่อฟังจนถึงความมรณากระทั่งความมรณาที่กางเขน” ( ฟิลิปปี 2:6)

 

 

บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก 
เรื่อง Crucifixion – The slow death โดย Bill Morris 
ในนิตยสาร “The Church Musican” 
ประจำเดือน มีนาคม 1982, หน้า 12-13 
 

Credit: http://board.postjung.com/545917.html
26 ต.ค. 56 เวลา 20:03 1,427 1 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...