นอนไม่หลับ (เมลาโทนิน กับการนอนหลับ)

 

 

 

 

 

 

 

อาการนอนไม่หลับ เป็นอาการที่เรามักพบเห็นได้ง่าย ทั้งในวัยคนทำงาน หรือผู้สูงอายุ ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะนอนไม่หลับได้ และเวลานอนไม่หลับจะสร้างความทุกข์ทรมานกับผู้คนนั้นพอสมควรเลยทีเดียว

การปฏิบัติตนเพื่อช่วยแก้ไขปัญหาการนอนหลับ อันมีต้นเหตุมาจากทางกายหรือทางจิต ทำได้โดยการรับประทานอาหารให้ตรงเวลา การออกกำลังกายสม่ำเสมอ ควรสวมเสื้อผ้าที่สบาย อย่าดื่มกาแฟหรือเครื่องดื่มที่กระตุ้นประสาทก่อนถึงเวลานอนใน 6 ชั่วโมง อาบน้ำอุ่นเพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อ รวมไปถึงการนั่งสมาธิ, สวดมนต์ หรือฟังเพลงเบา ๆ ก่อนนอน

สำหรับสาเหตุจากสารอาหาร เราพบว่า แอลฟ่า – ทริปโตเฟน ซึ่งเป็นกรดอะมิโนชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ แต่ไม่สามารถสร้างขึ้นเองได้ และสารแอลฟ่า – ทริปโตเฟน ชนิดนี้เป็นวัตถุดิบที่สมองใช้สังเคราะห์ ซีโรโทนิน เมลาโทนิน และไนอาซิน อันเป็นสารช่วยให้นอนหลับ ในผู้สูงอายุ จะมีการหลั่งเมลาโทนินลดลงตามธรรมชาติ จึงทำให้นอนหลับยาก จึงมีการใช้เมลาโทนินช่วยในการนอนหลับ

เมลาโทนิน เป็นฮอร์โมนที่เกิดจากการสังเคราะห์มาจากกรดอะมิโน ทริปโตเฟน (Tryptophan) โดยมีการสร้างขึ้นที่ลำไส้ใหญ่ จอตาและต่อมไพเนียล โดยมีความมืดเป็นตัวกระตุ้นและหยุดหลั่งเมื่อเจอแสงสว่าง ปริมาณของเมลาโทนินจะเพิ่มสูงขึ้นในตอนกลางคืนเริ่มตั้งแต่ประมาณ 22 นาฬิกา ปริมาณสูงสุดประมาณ 3 นาฬิกา (ตามหลักนาฬิกาชีวิต เวลา 23:00 – 3:00 เป็นเวลาของตับและถุงน้ำดี ดังนั้นไม่ควรนอนเกิน 5 ทุ่ม ) เมลาโทนินถือว่าเป็นสารที่ช่วยปรับสภาพร่างกายในรอบวันเพราะคุณสมบัติที่เกี่ยวข้องกับความสว่างและความมืด (circadian rhythm) เมลาโทนินเหนี่ยวนำให้เกิดการนอนหลับลึก 

ระดับเมลาโทนินที่ต่ำเกินไปอาจจะเกี่ยวข้องกับความผิดปกติของการนอน เมื่ออายุมากขึ้นร่างกายจะผลิตเมลาโทนินน้อยลง ส่งผลให้เวลานอนของผู้สูงอายุโดยเฉลี่ยแล้วลดน้อยลงและประสบกับปัญหานอนไม่หลับบ่อยครั้ง รวมทั้งการทำงานที่ต้องเปลี่ยนกะ และอาการ Jet-lag ก็จะทำให้ปริมาณเมลาโมนินต่ำเกินไป 

เมลาโทนินสามารถสังเคราะห์จากกรดอะมิโนชื่อทริปโตเฟน ซึ่งเจ้าทริปโตเฟนจะพบมากใน สาหร่ายเกลียวทอง นม(นมก่อนนอน) โยเกิร์ต ไข่ งา เมล็ดดอกทานตะวัน เมล็ดฟักทอง ถั่วลิสง เนยถั่วลิสง เต้าหู้ ถั่วเหลือง ไก่งวง เนยแข็ง เนื้อปลาแซลมอน ช็อกโกแลต กล้วย ลูกพรุน และข้าวเหนียว ซึ่งถ้าวันใดรับประทานข้าวเหนียวส้มตำเป็นมื้อใหญ่ ก็อาจทำให้เกิดความง่วงได้ไม่ยาก

จากการวิเคราะห์ส่วนประกอบของสาหร่ายเกลียวทอง พบว่า ในสาหร่ายเกลียวทอง 1 กรัม มีทริปโตเฟนอยู่ถึง 13.0 มิลลิกรัม และไนอาซิน 2.67 มิลลิกรัม นับว่ามีปริมาณสูงกว่าอาหารประเภทเนื้อ, ถั่ว, ไข่, ปลา และพืชผักหลายชนิด 

ดังนั้นหลายท่านที่ทานสาหร่ายเกลียวทอง แล้วพบว่าเกิดอาการง่วงเหงาหาวนอน ก็อย่าเพิ่งตกใจเพราะร่างกายกำลังปรับสมดุลการผลิตฮอร์โมนเมลาโทนินอยู่ครับ ซึ่งแต่ละคนก็ไม่เหมือนกันจริงๆ บางคนทานแล้วตาสว่างข้าวปลาไม่หิวกิน 2 วันทานมื้อเดียว ,บางคนทานแล้วหลับไป 2-3 วันก็มี แต่ระยะเวลาในการปรับก็ขึ้นอยู่กับวิถีชีวิตของแต่ละคนครับ ให้เวลาในการซ่อมแซมตัวเองของร่างกายจากการปรับสมดุลด้วยสารอาหารจากสาหร่ายเกลียวทอง ในระยะยาวประกอบกับการมีพฤติกรรมในการใช้ชีวิตที่ถูกต้อง ทำจิตใจให้แจ่มใส เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พร้อมทั้งหมั่นออกกำลังกายเป็นประจำ รางวัลที่ธรรมชาติมอบให้ก็คือ สุขภาพที่แข็งแรงโดยไม่ต้องพึ่งยานอนหลับ หรือสารเคมีใดๆครับ

วิธีรับประทาน
- ก่อนเข้านอน 5 เม็ด + น้ำไม่เกิน 1 แก้ว (สังเกตุดูว่า นอนหลับลึกหรือไม่ ถ้านอนไม่หลับ ให้เปลี่ยนเป็นทานช่วงบ่าย)

…....................................

 

 

 

 

ที่มา: Herbale
Credit: http://women.postjung.com/716579.html
25 ต.ค. 56 เวลา 20:48 1,619 110
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...