สิ่งมีชีวิตบนโลกอาจจะมีต้นกำเนิดมาจากนอกโลก

 

 

 

 

      ดาวหางที่เดินทางเข้าชนโลกในยุคแรกๆ นั้น ตัวมันเองประกอบด้วยน้ำ แอมโมเนีย เมทานอล และคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์อย่างเพียงพอในการผลิตกรดอะมิโน และเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต ที่มาของภาพ http://img2.tgdaily.com/sites/default/files/stock/article_images/science/lifeonearthstart.j


กลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติและนักวิจัยของห้องปฏิบัติการแห่งชาติลอว์เรนซ์ลิเวอร์มอร์  (Lawrence  Livermore  National  Laboratory : LLNL) ได้ร่วมกันยืนยันว่าจริงๆ แล้ว  สิ่งมีชีวิตอาจจะมาจากนอกโลก ทั้งนี้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ดังกล่าวช็อกกับก้อนน้ำแข็งผสมที่ถูกบีบอัดไว้  โดยมันคล้ายกับที่ถูกพบในดาวหางซึ่งมันสามารถสร้างกรดอะมิโนได้เป็นจำนวนมากที่ซึ่งเป็นหน่วยการสร้างชีวิต

ทั้งนี้การทดลองในครั้งแรกได้ยืนยันในสิ่งที่นักวิทยาศาสตร์เนีย โกลด์แมน แห่ง LLNL ได้ทำนายไว้ครั้งแรกในปี 2010 และ  อีกครั้งหนึ่งในปี 2013  โดยเนียได้ใช้การจำลองการวิจัยบนซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของ LLNL

งานวิจัยของโกลด์แมนเริ่มพบว่าก้อนน้ำแข็งของดาวหางที่พุ่งเข้าชนโลกเมื่อพันล้านปีก่อนหน้านี้นั้นอาจจะผลิตพรีไบไอติคที่หลากหลาย  หรือองค์ประกอบสำหรับการสร้างสิ่งมีชีวิต  รวมไปถึงกรดอะมิโน  

ทั้งนี้เป็นที่ทราบกันดีว่ากรดอะมิโนเป็นองค์ประกอบสำคัญของการสร้างโปรตีน  งานวิจัยของโกลด์แมนได้ทำนายไว้ว่าโมเลกุลพื้นฐานที่พบในดาวหางที่พุ่งชนโลกเมื่อหลายพันล้านปีนั้น  (อาทิ น้ำ แอมโมเนีย เมทานอล และคาร์บอนไดออกไซด์)นั้น  สามารถเป็นแหล่งพลังงานที่อุดมสมบูรณ์อย่างเพียงพอในการผลิตกรดอะมิโนและเป็นจุดเริ่มต้นของสิ่งมีชีวิต  

นอกจากนี้ นักวิทยาศาสตร์ของอิมพีเรียลคอลเลจ แห่งมหาวิทยาลัยลอนดอน และมหาวิทยาลัยเคนท์ ในประเทศอังกฤษ ได้ทำการทดลองและได้ผลวิจัยคล้ายกับผลงานวิจัยที่โกลด์แมนได้จำลองไว้บนคอมพิวเตอร์ โดยผลลัพธ์ที่ได้นั้นเป็นกรดอะมิโนชนิดต่างๆ หลากหลายที่มีการขึ้นรูปแล้ว

ทั้งนี้ผลลัพธ์ดังกล่าวได้ยืนยันว่าการทำนายก่อนหน้านี้ที่ว่าการพุ่งชนโลกของดาวหางก่อให้เกิดสารพรีไบโอติค  และเกิดการสร้างสิ่งมีชีวิตขึ้น ณ สถานที่ที่ดาวหางพุ่งเข้าชน  นอกจากนี้ โกลด์แมน ได้กล่าวเสริมว่า งานวิจัยที่เขากำลังดำเนินการอยู่นี้จะเป็นการให้ข้อมูลที่มีความใกล้เคียงความเป็นจริงว่า  เส้นทางการสังเคราะห์สร้างองค์ประกอบโปรตีนในระบบสุริยะจักรวาลของเรามาได้อย่างไร  และขยายไปถึงแหล่งที่เป็นไปได้ที่สิ่งมีชีวิตได้เริ่มกำเนิดขึ้น

จากที่ทราบกันเป็นอย่างดีว่า  ดาวหางเป็นก้อนน้ำแข็งและเป็นสารตั้งต้นอินทรีย์ของกรดอะมิโน  ทั้งนี้ได้มีการยืนยันเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ได้มีการพบไกลซีน (Glycine : เป็นกรดอะมิโนที่มีขนาดเล็กที่สุดในบรรดากรดอะมิโน) บนดาวหาง Wild-2

ทั้งนี้ งานวิจัยต้นแบบของโกลด์แมนได้จำลองพลวัตของโมเลกุล โดยได้แสดงให้เห็นว่าคลื่นช็อคที่เกิดจากการชนกันของดาวเคราะห์ ได้ผ่านเข้าไปยังก้อนผสมของดาวหางและก่อให้เกิดการสังเคราะห์กรดอะมิโนขึ้น ซึ่งกลไกการสังเคราะห์นี้อาจจะก่อให้เกิดโมเลกุลพรีไบโอติคที่หลากหลายตามเงื่อนไขของการพุ่งชน โดยเป็นอิสระจากลักษณะภายนอกหรือสิ่งแวดล้อมทางเคมีที่มีอยู่ก่อนแล้วบนดาวเคราะห์

ผลลัพธ์ทั้งจากงานวิจัยการจำลองบนคอมพิวเตอร์ของโกลด์แมน  และจากการทดลองของกลุ่มนักวิทยาศาสตร์นานาชาติ  นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญมากในการทำความเข้าใจในเรื่องของจุดเริ่มต้นของการสร้างสิ่งมีชีวิต

ทั้งนี้กลุ่มนักวิทยาศาสตร์ยังพบว่าในตัวก้อนน้ำแข็งที่มีสารประกอบเดียวกันกับสารประกอบที่เกิดขึ้นจากการพุ่งชนของดาวหาง  อาจจะถูกพบได้ในระบบสุริยะจักรวาล  อาทิ  ดวงจันทร์ของดาวเสาร์ที่ชื่อว่า เอนเซลาดัส ประกอบไปด้วยสารอินทรีย์ที่น้ำหนักเบาและก้อนน้ำแข็ง  โดยกลุ่มนักวิทยาศาสตร์ได้สรุปว่ามีความเป็นไปได้สูงมากที่การพุ่งชนของดาวหางที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูงในระดับหนึ่ง (หรือพลังงานสูงในระดับหนึ่ง) จะเสริมให้เกิดคลื่นช็อคที่ทำให้เกิดการสังเคราะห์สารประกอบอินทรีย์ที่ซับซ้อนมากขึ้น  รวมไปถึงกรดอะมิโนจากก้อนน้ำแข็งดังกล่าว

แหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.spacedaily.com/reports/Its_a_shock_Life_on_Earth_may_have_come_from_out_of_this_world_999.html

http://www.chemistry2011.org/news/OrganicChemistry/SyntheticChemistry/LifeOnEarthShockinglyComesFromOutOfThisWorld

ที่มา: http://www.space.mict.go.th/newss.php?id=5
 
Credit: http://board.postjung.com/715412.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...