ไม่ว่าใครคงเคยประสบอาการแน่นท้องเพราะแก๊สในกระเพาะอาหาร ซึ่งปัญหาดังกล่าวสร้างความอึดอัด ชวนรำคาญใจ แถมยังทำให้ต้องอายหากลมในท้องระบายออกมาในเวลาที่ไม่เหมาะสมอีกต่างหาก
เป็นที่ทราบกันดีว่าถั่วเป็นหนึ่งในอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหาร แต่ทราบหรือไม่ว่ายังมีอาหารอีกหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการแน่นท้องได้ วันนี้เรานำอาหารและการปฎิบัติตนที่ถูกต้องเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาดังกล่าวมาฝากกันค่ะ
1. อย่าดื่มน้ำพร้อมอาหาร
การดื่มน้ำระหว่างมื้ออาหารนับเป็นเรื่องที่ฟังดูปกติ แต่กลับทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะได้ เพราะโดยปกติแล้วเราจะกลืนอากาศเข้าไประหว่างดื่มน้ำและรับประทานอาหารอยู่แล้ว แต่หากยิ่งรับประทานและดื่มสลับกันระหว่างมื้ออาหารจะยิ่งทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะมากขึ้น ฉะนั้นควรเก็บน้ำไว้เป็นรายการสุดท้ายหลังรับประทานอาหารอิ่มแล้ว
2. เคี้ยวอาหารให้ช้าๆ
การรับประทานที่เร็วเกินไปก็ยังทำให้เรากลืนอากาศเข้าไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้นควรเคี้ยวให้ละเอียด แต่ละมื้อควรมีเวลารับประทานอย่างน้อย 20 นาที และควรเลี่ยงการรับประทานระหว่างยืน เดิน และดูโทรทัศน์
3. การออกกำลังการอย่างหนัก
มีผลศึกษาเปิดเผยว่า 71% ของนักวิ่งมีปัญหาเรื่องการย่อย แก๊สในกระเพาะ และท้องอืด เพราะระหว่างการออกกำลังกายเรามีแนวโน้มจะหายใจทางปาก ซึ่งทำให้ได้รับอากาศเข้าท้องมากเกินไป
4. รับประทานผักบางประเภท
เชอรี่ หัวหอม ผักกาดขาว แอปเปิ้ล เห็ด และข้าวโพด เหล่านี้เป็นผักผลไม้ที่ก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ นอกจากนี้คือถั่วทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นขนาดเล็กขนาดใหญ่ หรือถั่วที่ขึ้นชื่อว่าดีต่อสุขภาพอย่างถั่วเหลือง ซึ่งลำไส้เล็กย่อยไม่หมดจึงเหลือไปถึงลำไส้ใหญ่ ทำให้แบคทีเรียสร้างแก๊สขึ้นได้
5. ความเครียดและความตื่นเต้น
นอกจากจะสร้างปัญหาสุขภาพหลายอย่างแล้ว ความเครียดและความตื่นเต้นยังทำให้เรากลืนอากาศเข้าไปโดยไม่รู้ตัว
6. ชีส
ในอาหารจำพวกนม หรือชีส จะมีน้ำตาลแล็คโตส ซึ่งจะถูกย่อยโดยเอนไซม์ชื่อแลคเตส แต่หากกระบวนการย่อยทำงานไม่ดีก็จะเกิดแก๊สและอาการท้องอืดได้
7. อาหารอุ่นซ้ำ
อาหารจำพวกแป้งที่ย่อยยาก อย่างแป้งพาสต้า เมื่อเย็นลง แล้วอุ่นซ้ำจะย่อยยากขึ้น เมื่อย่อยไม่หมดและหลงเหลือไปถึงลำไส้เล็ก จะทำให้แบคทีเรียย่อยอาหาร และนำไปสู่อาการท้องอืดได้
8. เบียร์และไวน์แดง
ไม่เพียงแต่จะมีแก๊สเท่านั้น เบียร์ยังหมักจากยีสต์ที่อาจทำให้สมดุลย์ของแบคทีเรียในกระเพาะเสียไป และก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อยอาหารได้ ส่วนไวน์มีสารที่ทำให้ไวน์เป็นสีแดงที่อาจก่อให้เกิดปัญหาในระบบย่อย
9. หมากฝรั่ง
การเคี้ยวหมากฝรั่งทำให้เรากลืนลมเข้าไปมากเกินไปได้ นอกจากนี้สารไซลิทอลในหมากฝรั่งหลายชนิดยังก่อให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้
10. น้ำอัดลม
ไม่ต้องบอกคงทราบกันดีว่าคาร์บอนไดออกไซด์ที่อัดไว้ในน้ำอัดลมให้มีความซ่าจะก่อให้เกิดแก๊สได้โดยตรง
สำหรับท่านที่มีแก๊สเยอะ การหลีกเลี่ยงอาหารกลุ่มเสี่ยงก็อาจช่วยให้ไม่ต้องหงุดหงิดใจอีกต่อไปก็เป็นได้ค่ะ
เรียบเรียงจากเดลิเมล