อะไรคือ ลามก

 

 

 

 

 

 

ใครเคยดูเว็บโป๊ยกมือขึ้น? ไม่ต้องแย่งกันยกมือหรอกครับ ผมรู้แล้ว ผมเข้าใจว่าท่านผู้อ่านที่ไม่ใช่นักกฎหมายคงทราบนะครับว่ากฎหมายบ้านเราก็ห้ามการเผยแพร่สิ่งลามกทางทุกสื่อ แต่ในเรื่องการเผยแพร่ทางอินเทอร์เน็ตนี้ก็อาจจะยังไม่ชัดเจนว่ากฎหมายที่มีอยู่ครอบคลุมหรือไม่ ซึ่งก็กำลังมีการพยายามยกร่างกฎหมายเฉพาะในเรื่องนี้อยู่ แต่ผมว่ายังไงท่านผู้อ่านบางท่านก็คงสงสัยนะครับว่า ไอ้ “ลามก” ที่กฎหมายห้ามน่ะมันแค่ไหน เพราะไอ้เราคนดู ก็คงแยกไม่ค่อยออกหรอกครับว่าอันไหนลามกอันไหนเป็นศิลปะ ก็อยากดูมันทั้งหมดนั่นล่ะครับ

สื่อลามกนั้นมันมีอยู่ 2 ลักษณะ คือ

-pornography อันได้แก่ การแสดงถึงพฤติกรรมทางเพศไม่ว่าจะเป็นการเขียนหรือภาพที่นำไปสู่การตื่นเต้นทางเพศหรือยั่วยุกามารมณ์หรือทำให้เกิดกำหนัด

-อีกลักษณะหนึ่งคือ obscenity หมายถึงสิ่งที่ทำให้เกิดความรู้สึกอันน่ารังเกียจ เช่น แสดงถ้อยคำหรือวัตถุสิ่งของทางเพศในลักษณะที่หยาบช้าน่าเกลียด ซึ่งในกฎหมายก็ไม่มีบทนิยามชัดเจนเอาไว้ เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้องตีความ ในอเมริกาแม้จะมีกฎหมายบางตัวที่พยายามนิยามเรื่องนี้เอาไว้ แต่ศาลสูงสุดของสหรัฐอเมริกา (เทียบได้กับศาลฎีกาของบ้านเราครับ) ก็เคยวางหลักในเรื่องนี้ไว้โดยเอาบรรทัดฐานการพิจารณาเรื่องนี้ไปยึดโยงกับมาตรฐานของชุมชน ทำให้เกิดปัญหาการตีความ(อีกแล้ว) กันยืดยาวว่าจะเอามาตรฐานของชุมชนไหนครับ ชุมชนของผู้เผยแพร่สหรือชุมชนของผู้รับสิ่งลามก

ศาลไทยก็เคยตีความคำว่า “สิ่งอันลามก” นี้ด้วยเช่นกัน (เราก็ไม่น้อยหน้าเขาเหมือนกัน)ผมจะลองยกตัวอย่างให้จินตนาการกันเลยนะครับ

กรณีที่ศาลวินิจฉัยว่าเป็น “สิ่งลามก” 
- ภาพหญิงเปลือยกายกอดชาย 
- ภาพหญิงสวมแต่กางเกงในโปร่งตา มีผู้ชายนอนกอด มือโอบบริเวณทรวงอก
- ภาพหญิงเปลือยกายท่อนบนใช้มือกดหูโทรศัพท์กดที่อวัยวะเพศ
- ภาพหญิงเปลือยกายมีแหคลุมตัว มือข้างหนึ่งกุมนมอีกข้างหนึ่งกุมอวัยวะเพศ
- ภาพหญิงเปิดเสื้อให้เห็นนมล้วงมือเข้าไปในกระโปรง
- ภาพหญิงเปลือยสวมกางเกงในมือล้วงไปที่อวัยวะเพศ
- ภาพหญิงเปลือยสวมกางเกงขาสั้นมือข้างหนึ่งล้วงไปจับที่อวัยวะเพศ ภาพดังกล่าวแม้ไม่เห็นอวัยวะเพศชัดเจนแต่มีลักษณะยั่วยุกามารมณ์

ส่วนกรณีที่ศาลเคยวินิจฉัยว่าไม่ใช่ “สิ่งลามก” ก็คือภาพสตรีแสดงส่วนสัดความสมบูรณ์ของร่างกายไม่มีสิ่งปกปิด ส่วนล่างพยายามปกปิดหรือทำเป็นเพียงเงาๆ ลบเลือนให้เป็นอวัยวะที่ราบเรียบแล้วซึ่งศาลบอกว่าไม่มีลักษณะน่าเกลียด น่าอุจาดบัดสี จึงไม่ลามก ท่านผู้อ่านพอแยกบรรทัดฐานของศาลออกไหมครับ ตอนนี้ท่านคงแยกออกแล้วนะครับว่าอะไรลามกไม่ลามกในความหมายทางกฎหมาย รวมถึงว่าอะไรเป็นเว็บไซต์ลามกด้วย แต่การแยกออกกับการเลิกดูมันคนละเรื่องกันใช่ไหมครับ

 

ที่มา: http://www.lawyerthai.com/articles/it/009.php 
ภาพประกอบจากเนต
Credit: http://board.postjung.com/715126.html
19 ต.ค. 56 เวลา 16:51 9,346 5 170
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...