สาวรุ่นแดนปลาดิบในวัย 20 ปีพอดิบพอดี สวมชุมกิโมโนลายสวย เดินถือร่มฝ่าหิมะไปร่วมงาน "เซอิจิน โน ฮิ" หรือวันบรรลุนิติภาวะ ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ถือเป็นธรรมเนียมสำคัญสำหรับหนุ่มสาว ในการตระหนักถึงการเป็นผู้ใหญ่ที่ต้องมีความพยายาม ความรับผิดชอบ และรู้จักวางแผนชีวิตด้วยตัวเอง (ภาพ-เอพี)
“วันบรรลุนิติภาวะ หรือ เซย์จินโนะฮิ” (seijin no hi) นั้นเกิดขึ้นมาตั้งแต่สมัยเอโดะ (ค.ศ. 1603 – 1868) โดยมีรากฐานมาจากประเพณีและวัฒนธรรมที่มีมาแต่โบราณของญี่ปุ่น เพื่อแสดงการที่บุคคลจะต้องละทิ้งความเป็นเด็กและเริ่มต้นการเป็นผู้ใหญ่ โดยคำว่า “เซย์จิน” Seijin นั้นก็แปลตรงๆ ตัวว่า “ผู้ใหญ่” นั่นเอง
ในประเพณีดั้งเดิมนั้นจะมีเพียงการเฉลิมฉลองตามความเชื่อในศาสนาชินโต ซึ่งพิธีกรรมก็จะแตกต่างกันเล็กน้อยระหว่างผู้ชายและผู้หญิง และมักจะกระทำพิธีเฉพาะผู้ที่เกิดในตระกูลซามูไร เด็กหนุ่มอายุ 15 (หรือราว 10 – 16 ปี) จะเข้าพิธีบรรลุนิติภาวะที่เรียกว่า “เก็มปาคุ” Gempuku โดยผู้เข้าร่วมพิธีจะแต่งเครื่องสวมหัวชื่อว่า “เอโบะชิ” และจะได้ชื่อใหม่ เป็นการแสดงว่าตนเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีสิ่งที่ต้องรับผิดชอบ ต้องปฏิบัติตนอย่างผู้ใหญ่ รวมถึงสามารถทำสิ่งต่างๆ ได้เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ท่านอื่นๆ ในครอบครัว และแต่งงานได้แล้ว สำหรับเด็กสาวในตระกูลซามูไรเช่นกัน งานวันบรรลุนิติภาวะจะจัดขึ้นในชื่อที่เรียกว่า “โมงิ” Mogi เมื่ออายุ 13 ปี (หรือราว 12 – 16 ปี) พวกเธอจะได้รับกิโมโนพิเศษหนึ่งชุด ที่จะสามารถใส่ในฐานะผู้ใหญ่ได้เป็นครั้งแรก
วันบรรลุนิติภาวะ ของญี่ปุ่นคือ วันจันทร์ที่สอง เดือนมกราคม วันบรรลุนิติภาวะ (เซอิจิน โนะ ฮิ)
วันสำหรับคนหนุ่มสาวผู้มีอายุครบ 20 ปี
รวมภาพ สาวญี่ปุ่นในชุดกิโมโน
สาวญี่ปุ่นในชุดกิโมโน
สาวญี่ปุ่นในชุดกิโมโน