สวัสดีครับเพื่อนๆ วันนี้อยากจะพาเพื่อนๆ มารู้จักกับการใช้เทคโนโลยีชั้นสูงที่ได้แนวคิดจากการใช้วัสดุจากธรรมชาติมาพัฒนาจนเป็นวันดุที่ใช้กับเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกกัน มันคือแอร์บัส A380 ครับ วันนี้คงไม่ได้มาคุยในรายละเอียดของ แอร์บัส A380 แต่จะมีดูเรื่องราวของการหยิบจับเอาอาวุธโบราณของชาวโมกูล กับปีกของนกอินทรีย์ มาต่อยอดจนกลายเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลกกัน
เมื่อครั้งอดีต ที่ยังทำการสู้รบกันด้วยดาบ หอก ทวน หรือธนู อาวุธอย่างธนูช่างได้เปรียบคู่ต่อสู้อย่างมากมาย ซึ่งธนูก็มีอยู่สองแบบด้วยกัน คือแบบ Long Bow และ Composite Bow ซึ่งแบบ Long Bow เป็นคันธนูที่ชาวยุโรปนิยมใช้ ส่วนแบบ Composite Bow เป็นแบบที่ชาวโมกูลคิดค้นขึ้นมา ซึงใช้เส้นเอ็นของกวางกับเขาควาย ที่ใช้ผสมเพื่อทำคันธนู ซึ่งทำให้คันธนูมีความยืดหยุุ่น เป็นนวตกรรมต้นแบบที่ใช้ผลิตผนังเครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380
A380 เครื่องบินโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีวิธีรีดน้ำหนักตัวเครื่องบินให้เบาได้อย่างไร ผนังหากทำด้วยอลูมิเนียม เบาแต่ไม่เพียงพอที่จะรับแรงกระแทก หากชนนกด้วยความเร็ว 290 ไมล์ต่อชั่วโมง
ด้วยเทคนิคการผลิตคันธนูของชาวมองโกล ที่นำวัสดุ 2 สิ่งเข้มมาผสมกัน A380 นำแนวคิดผสมวัสดุของชาวมองโกล แต่ผสม 3 ส่วนคือ เส้นใยแก้วที่ถักเป็นตาข่ายถึ่ยิบ เคลือบด้วยไฟเบอร์กลาส และอลูมิเนียม รวมกัน ทำให้วัสดุมีความแข็ง เหนียวและยืดหยุ่น เรียกวัสุดนี้ว่า Glass Reinforcement Aluminum (GRA) ทำให้ผนังเครื่องบิน A380 มีน้ำหนักเบามาก และคงทนต่อแรงกระแทกได้อย่างมาก
ปีกของนกอินทรีย์ส่วนไหน ขณะร่อนบนท้องฟ้า เป็นต้นแบบในการออกแบบปีกเครื่องบินที่ใหญ่ที่สุดในโลก Airbus A380 สำหรับผมแล้วจริงๆ ก็ดูเหมือนว่าเกือบทุกส่วนของปีกนกอินทรีย์เลยนะครับ แต่จริงๆ แล้วส่วนไหนกันแน่
A380 Winglet (ปลายปีกเครื่องบินโค้งงอขึ้น) เพื่อแก้ปัญหาลมหมุนบริเวณปลายปีก เป็นตัวกันอากาศไม่ให้ไหลเวียนวนขึ้นมา ถูกออกแบบโดยการเลียนแบบ นวัตกรรมธรรมชาติ คือปลายปีกของนกอินทรีย์เวลาบินจะยกปลายปีกขึ้น Winglet ถูกออกแบบเพื่อช่วยลดความยาวของปีกเครื่องบิน A380
เป็นยังไงครับ ไม่น่าเชื่อว่าการศึกษาธรรมชาติของสัตว์ หรือการศึกษาประวัติศาสตร์ที่เราเก็บข้อมูลและบันทึกไว้ หรือยังมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์อย่่างเช่นคันธนูขาวโมกูล ก็มีประโยชน์ต่อนักวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ได้นำมาเป็นต้นแบบ ในการพัฒนาอันยิ่งใหญ่ หวังว่าเพื่อนๆ หลายคนที่เคยสงสัยว่า เราศึกษาประวัติศาสตร์ทำไม คงได้คำตอบจากเรื่องนี้บ้างนะครับ และหวังว่าเรื่องราวดีๆ เหล่านี้คงได้ประโยชน์กับเพื่อนๆ เพื่อเป็นแนวทางในการศึกษาเรื่องอื่นๆ ต่อไป แล้วพบกันใหม่ครับ...mata
เรียบเรียงโดย พรชัย สังเวียนวงศ์ (mata)
ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก http://topicstock.pantip.com, รายการสำรวจโลก