โรคไบโพล่าร์ โรคที่ผู้คนเริ่มเป็นกันเยอะขึ้น

 

 

 

 

 

   จากสถิติสากลระบุว่า ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ หรือโรคอารมณ์ 2 ขั้ว จำนวน 1% เมื่อเทียบอัตราส่วนประชากร แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีผู้ป่วยด้วยโรคดังกล่าวสูงถึง 6 ล้านคน!!! ทว่าโรคนี้ยังไม่เป็นที่ตื่นตัวในประชาชนทั่วไป เพราะผู้ป่วยสามารถหายเป็นปกติได้ยาวนานเป็นปี กระทั่งลืมไปว่าตนเองเคยป่วย!! จนเมื่อกลับมาสำแดงอาการอีกครั้ง...โรคดังกล่าวก็อาจทำให้สูญเสียทั้งชีวิตและทรัพย์สินของทั้งตนเอง ครอบครัว และสังคมไปอย่างไม่อาจเรียกคืนได้
       
       ล่าสุดโรคไบโพลาร์กลับเป็นที่กล่าวถึงอีกครั้ง เมื่อมีการเผยแพร่ภาพอดีตนางแบบอินเตอร์ชาวไทยระดับตำนานซึ่งเคยมีรายได้ถึงปีละ 50 ล้านบาท ในลักษณะบุคคลเร่ร่อนไร้บ้าน สร้างความแปลกใจให้สังคมไทยว่าเหตุใดเธอจึงดำเนินชีวิตอย่างยากลำบาก จนกระทั่งมีผู้ที่เคยอยู่ใกล้ชิดให้ข้อมูลว่าเธอเคยมีประวัติป่วยเป็นโรคไบโพลาร์ ยิ่งก่อให้เกิดข้อสงสัยว่าโรคดังกล่าวสามารถทำให้ชีวิตคนๆ หนึ่งพลิกผันได้มากถึงขนาดนี้จริงหรือไม่
       
       นพ.โกวิทย์ นพพร จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรงพยาบาลมนารมย์ กล่าวถึงกรณี “เมื่อคนใกล้ตัวเป็นไบโพลาร์” ว่า ไบโพลาร์ มาจากคำว่า "Bi" แปลว่าสอง และ "Polar" แปลว่าขั้ว รวมแล้วมีความหมายว่า โรคอารมณ์แปรปรวนสองขั้ว ซึ่งเป็นลักษณะของพื้นอารมณ์ ที่ผิดปกติ คือ สุขมากเกินไปจนมีลักษณะคึกคัก และ ทุกข์มากเกินไปจนเข้าข่ายซึมเศร้า โดยอารมณ์ในที่นี้หมายถึงการแสดงออกทางสีหน้าและพฤติกรรม ที่เกิดจากมุมมองที่มีต่อตัวเอง มุมมองต่อผู้อื่น มุมมองต่อสิ่งแวดล้อมและมุมมองต่ออนาคต ที่ไม่เป็นไปตามความเป็นจริง
       
       "ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์จะมีการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์ที่ผิดเพี้ยนไปจากปกติ มีผลต่อวิจารณญาณ การคิด การใช้เหตุผลและการตัดสินใจในเรื่องต่างๆ จนส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตประจำวันและผลกระทบต่อคนรอบข้าง โดยพฤติกรรมของขั้วที่สุขมากเกินไป ผู้ป่วยจะขาดสมาธิ พูดมากไม่หยุด คิดและตัดสินใจเร็ว ไม่อยู่นิ่ง ขาดความยับยั้งชั่งใจ มั่นใจในตัวเองสูงเกินจริง คิดว่าตนเองถูกต้องคนเดียว ใช้เงินสิ้นเปลืองอย่างไม่สมเหตุผล มีพฤติกรรมแสดงออกทางเพศมากขึ้น ไม่สามารถควบคุมความคิดให้อยู่นิ่งได้ ดูเป็นคนคึกคักครื้นเครง แต่ในบางครั้งจะหงุดหงิดก้าวร้าวเมื่อไม่ได้ดั่งใจ"
       
       นพ.โกวิทย์ กล่าวอีกว่า ในผู้ป่วยที่อาการไม่มากจะสามารถสร้างสรรค์ผลงานได้ดี เพราะมีความคิดบรรเจิด แต่ในรายที่เป็นระดับรุนแรงอาจก่อหนี้สินล้นพ้นตัว เพราะมีสิ่งที่ต้องการทำมากมาย การซื้อทรัพย์สิน ลงทุนและเล่นการพนัน ซึ่งไม่อาจหยุดทำได้ ในขณะที่พฤติกรรมของขั้วที่ทุกข์มากเกินไปจะมีลักษณะซึมเศร้า ท้อแท้ เบื่อหน่ายกับชีวิต กินไม่ได้ นอนไม่หลับ เฉยชา หงุดหงิด กังวล ไร้เรี่ยวแรง รู้สึกว่าตัวเองป่วยเป็นโรคต่างๆ มีความรู้สึกผิดเกินกว่าที่ควรจะเป็น ไม่สมเหตุผล บางรายที่มีอาการมากจะรู้สึกว่าตัวเองเป็นคนไม่ดี ไร้ค่า มีความคิดหรือการกระทำเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายร่วมด้วย
       
       โรคไบโพลาร์มีลักษณะการดำเนินโรคแบบเป็นๆ หายๆ ไม่สามารถกำหนดช่วงเวลาการแสดงอาการได้แน่นอนว่าจะเป็นยาวนานเท่าไร หรือจะกลับเป็นปกติได้นานเพียงใดก่อนที่จะกลับไปแสดงอาการอีกครั้ง โดยปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดโรคไบโพลาร์ นพ.โกวิทย์ อธิบายว่า มีทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่ 1.ญาติพี่น้องมีประวัติป่วยหรือเคยป่วยโรคไบโพลาร์ 2.เป็นคนที่มีความเครียดสูง 3.เคยติดยาหรือใช้สารเสพติด 4.ประสบกับวิกฤตชีวิตรุนแรง เป็นต้น
       
       "ต้นตอสำคัญของโรคเกิดจากกรรมพันธุ์ และระดับสารเคมีในสมองผิดปกติทำให้สมองทำงานผิดปกติตามไปด้วย ในขั้นตอนการรักษาจิตแพทย์จะต้องซักประวัติทั้งของผู้ป่วยและเครือญาติสืบย้อนไปในอดีต เพื่อค้นหาสาเหตุการเกิดโรคที่แท้จริงเพื่อวางแผนแนวทางการรักษาให้ตรงจุด ทั้งการรักษาด้วยยา และการรักษาด้วยการบำบัด เช่น จิตบำบัด พฤติกรรมบำบัด กลุ่มบำบัด และครอบครัวบำบัด หากผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่องก็สามารถหายได้และกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ แต่ผู้ป่วยที่ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องต่อเนื่อง อาจทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมากมาย เช่น ติดยาเสพติด มีปัญหายุ่งยากด้านการเงิน เป็นหนี้เป็นสิน บ้านถูกยึด ทำผิดกฎหมาย ไม่สามารถปรับตัวอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้ และอาจรุนแรงถึงขั้นฆ่าตัวตายได้ในที่สุด"
       
       ดังนั้น ผู้ป่วยโรคไบโพลาร์ไม่ว่าจะแสดงอาการในขั้วอารมณ์ใด ล้วนจำเป็นต้องได้รับกำลังใจและความเข้าใจจากคนรอบข้าง รวมถึงการรักษาที่เหมาะสมต่อเนื่อง เพราะเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายจากอาการป่วยและดำเนินชีวิตตามปกติได้ แต่ก็สามารถกลับมาเป็นซ้ำได้อีก หากไม่ได้รับการเอาใจใส่ ติดตามดูแลอย่างเหมาะสม

 ภาวะซึมเศร้าหรืออารมณ์ตก       ภาวะแมเนียหรืออารมณ์คลุ้มคลั่ง    ขาดความร่างเริงไม่สนุกสนานเหมือนเก่า    มีพลังมากขึ้นกว่าปกติ    เบื่อหน่ายอยู่ตลอดเวลา    มีการแสดงออกและการคิดอ่านมากกว่าปกติ    อารมณ์เศร้า หรือร้องไห้ง่ายโดยไม่มีเหตุชัดเจน    มีความเข้มของอารมณ์มากขึ้น ทั้งอารมณ์แบบ สนุกสนาน 
     ร่าเริง และก้าวร้าว โดยเฉพาะเมื่อถูกขัดใจ    ความอยากอาหารและการนอนลดลง หมดเรี่ยวแรง
     ในการทำงาน อ่อนเพลียตลอดเวลา     ความเชื่อมั่นตนเองมากขึ้น เชื่อว่าตนเองเก่งสามารถ
      ควบคุมทุกสิ่ง ทุกอย่างได้ และชอบวิจารณ์ผู้อื่น 
      มากขึ้น เอาแต่ใจ    หงุดหงิด โกรธง่ายกว่าปกติ    มีอาการหลงผิดถึงความยิ่งใหญ่ หรือความเก่งของตนเอง    มองโลกในแง่ร้ายไปหมด    ความต้องการในการนอนลดลง แต่ไม่อ่อนเพลีย    ขาดสมาธิ ความจำลดลง    ความคิดว่องไวเหมือนรถด่วน แสดงออกด้วยการพูดเร็ว
     และมีเนื้อหามาก เสียงดัง    หมกหมุ่น คิดวนเวียนเรื่องเดิม ไม่สามารถตัดสินใจได้    ขาดความจดจ่อต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งได้นานๆ    ไม่อยากสังสรรค์ หรือออกสังคม

   ขยันทำกิจกรรมต่างๆ อย่างขาดความยั้งคิดหรือ
      มีพฤติกรรมเสี่ยงมากขึ้นหรือแสดงออกแบบเกินตัว

   มีอาการปวดที่ไม่ทราบสาเหตุ    มีความต้องการทางเพศสูงขึ้น    มองตนเองว่าไร้ค่า หรือเป็นภาระ ไม่รู้จะมีชีวิตต่อไปทำไม      มีความคิดทำร้ายตนเอง หรืออยากฆ่าตัวตายบ่อยๆ  

ที่มา http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94

      http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000112298

ที่มา: http://www.manarom.com/article-detail.php?id=94 
http://www.manager.co.th/qol/viewnews.aspx?NewsID=9560000112298
Credit: http://board.postjung.com/713434.html
12 ต.ค. 56 เวลา 17:38 2,096 1 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...