"ชุดชั้นใน" สิ่งสำคัญคู่กายผู้หญิงทุกคน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

พญ.ประภาพรรณ นาควัชระ สูตินรีแพทย์โรงพยาบาลบํารุงราษฎร์ ให้ความรู้เรื่องการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสม กับทรวงอกและการเลือกชุดชั้นในให้เหมาะสมในแต่ละวัย ตลอดจนช่วงแห่งการเปลี่ยนแปลง

 



     วัยรุ่นหรือวัยเริ่มสาว...เป็นวัยที่เพิ่งเริ่มสวมบรา ควรสวมบราแบบมีพยุงทรงที่ทําจากผ้าฝ้าย ไม่ระคายเคืองต่อผิวหนัง ไม่มีโครง เนื้อผ้าควรเป็นฝ้ายร้อยเปอร์เซ็นต์ ซึ่งช่วยในการระบายอากาศ และรองรับการขยายตัวของเนื้อเยื่อหน้าอกโดยไม่ต้องอาศัยโครง ซึ่งอาจจะไปกดทับเส้นประสาทและหยุดชะงักการเติบโตของเนื้อเยื่อต่างๆได้

     ช่วงตั้งครรภ์...ต้องได้รับการดูแลทรวงอกเป็นพิเศษ เพราะทรวงอกของผู้หญิงตั้งครรภ์จะมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา นับแต่การเริ่มตั้งครรภ์จนถึงการให้นมบุตรและช่วงหลังการลดน้ำหนัก ในกลุ่มนี้ควรวัดไซส์บราทุกๆ 3 เดือน และควรซื้อบราครั้งละ 3 ตัวเท่านั้น ควรเป็นผ้าเนื้อนิ่ม นุ่มสบาย ออกแบบพิเศษในการพยุงฐานรอบอก และเก็บเนื้อเต้านมด้านข้างได้อย่างกระชับ โดยไม่มีการกดทับไขมันและเนื้อเยื่อที่มีการขยายตัวอย่างมากของสตรีในระหว่างการให้นมบุตร

     ช่วงมีรอบเดือน...บราที่สวมในช่วงนี้ควรอ่อนนุ่ม ไร้รอยตะเข็บ รอยต่อ หรือเลือกแบบทอขึ้นทั้งตัว หรือหลวมเล็กน้อย จะช่วยให้รู้สึกสบายและคลายความอึดอัดได้มาก ช่วงนี้ฮอร์โมนภายในร่างกายมีส่วนสําคัญในการขยายตัวของทรวงอก ผู้หญิงมักจะอึดอัด คัด แน่นตึง และเจ็บบริเวณหน้าอก บางรายหน้าอกอาจจะมีการขยายเพิ่มขึ้นถึง 1 Cup size

     วัยทอง เป็นช่วงวัยที่ทรวงอกเริ่มหย่อนคล้อย ควรสวมบราที่มีโครงซัพพอร์ต เพื่อความมั่นใจและความสวยงามในการสวมเสื้อผ้า

 

 




          ได้ฟังคําแนะนําที่เป็นประโยชน์กันไปแล้ว เชื่อว่าสาวๆ คงหันมาดูแลทรวงอก และเสริมบุคลิก เติมความเชื่อมั่นมากขึ้น หรืออาจจะลองแวะไปขอคําปรึกษา เพื่อเลือกบราตัวใหม่ให้เหมาะสมได้

 

 

 

 

 

การเลือกซื้อชุดชั้นในให้ถูกต้องตามขนาด

 

 

 

  สุภาพสตรีบางท่านคงอาจเคยมีคำถามเกี่ยวกับการเลือกสวมใส่เลื้อชั้นใน โดยทั่วไปการเลือกเสื้อชั้นในให้เหมาะสมนั้น มีปัจจัยที่ควรคำนึงถึง เช่นเรื่องขนาด cup size, เนื้อผ้า ลักษณะรูปทรงของเสื้อชั้นใน ฯลฯ การเลือกนั้นมีหลักทั่วไป คือ ใส่แล้วต้องไม่คับหรือรัดจนแน่นเกิน ใส่แนบเนื้อ ไม่ระคาย และควรเสริมบุคลิกของผู้สวมใส่


       การเลือกเสื้อชั้นใน มักจะมีการเลือกทั้งขนาดของเส้นรอบอก และขนาดของเต้า ซึ่งหลายท่านอาจไม่ทราบที่มาของการเลือกขนาดของเต้า หรือที่เรียกว่า cup size ซึ่งการดู cup size ที่มักจะเรียกเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ เช่น A B C D นั้นมีวิธีการคิดหลายอย่าง แต่ที่เป็นมาตรฐาน และ ใช้กันอยู่พอจะสรุปวิธีการเรียกได้ดังนี้ 


       การเลือกขนาดของเต้าของเสื้อชั้นในนั้น อาศัย การวัดหาความแตกต่างของเส้นรอบอกที่ระดับใต้ราวนมและที่ระดับหัวนม โดยการวัดความยาวของเส้นดังกล่าวดังรูป การจะบ่งว่าเสื้อชั้นในเป็นเสื้อชั้นในขนาดใดนั้น จะใช้ระยะเส้นรอบวง ในหมายเลข 1 (ระดับใต้อก) + 5 นิ้ว (การวัดทั้งหมดหน่วยวัดเป็นนิ้ว) เป็นตัวเลขขนาดของเสื้อชั้นใน เช่น เส้นรอบใต้อกยาว 37 นิ้ว ขนาดเสื้อชั้นในจะเป็นหมายเลข 42 (37+5) ส่วนจะเป็น cup size อะไรนั้น จะใช้ระยะเส้นรอบวง ในหมายเลข 2 (ที่ระดับหัวนม) ตัวเลขขนาดของเสื้อชั้นใน เมื่อได้ตัวเลขจะนำไปเทียบในตาราง เช่น เส้นรอบอกที่ระดับหัวนมเท่ากับ 45 นิ้ว จะได้ cup ในการเลือกเสื้อชั้นใน

 

 

 

 

เมื่อได้ชุดชั้นในที่ถูกต้องตามขนาดและถูกใจแล้ว  อย่าลืมรักษาชุดชั้นในให้ถูกวิธีกันนะคะ

เพราะทุกวันนี้ ชุดชั้นใน ไม่ว่าจะเป็นเสื้อชั้นใน กางเกงชั้นใน เสตย์ เสื้อบังทรง ปะติโค๊ด สวยๆ … ราคาแพงนะคะ เป็นเพราะวิวัํฒนาการของเนื้อผ้า วัสดุที่ใช้ ลวดลาย และแบบรูปทรงจะเสริม จะกระชับ ล้วนแล้วจะออกแบบตัดเย็บมาเอาใจสาวๆอย่างเราซึ่งบราชุดชั้นในเหล่านั้น ต้องอาศัยวิธีซักการดูแลเป็นพิเศษกันค่ะ มีสิ่งหนึ่งที่อยากจะแนะนำ เมื่อซึ้อบราชุดชั้นในมาแล้ว ควรจะซักบราชุดชั้นในนั้นก่อนที่จะสวมใส่กันในครั้งแรก มันเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพอนามัยสำหรับตัวเราเองนะคะ และยังเป็นการทำความสะอาดสิ่งสกปรก ฝุ่น คราบไขมัน หรือสารเคมีที่เกิดขึ้นในระหว่างผ่านกระบวนการตัดเย็บ อีกทั้งตั้งวางโชว์ในตู้ตามห้างสรรพสินค้า ซึ่้งอาจกลายเป็นคราบฝังแน่น ทำให้เนื้อผ้าหมอง ซักยากขึ้น เป็นข้อแนะนำเล็กๆ น้อยๆ ในเบื้องต้นที่ไม่ควรข้ามค่ะ 


       เคล็ดลับวิธีการซักบราชุดชั้นในสวยๆ ด้วยมือ เป็นวิํธีที่ถนอมบราชุดชั้นในของเราดีที่สุด

     1. แยกบราชุดชั้นในสีขาวและสีสัน ซักคนคะครั้งหรืออาจจะซักบราชุดชั้นในสีขาวก่อน แล้วค่อยตามด้วยบราชุดชั้นในที่มีสีสัน เป็นการประหยัดน้ำและน้ำยาหรือผงซักผ้าค่ะ
     2. ตรวจสอบ จัดสาย ตะขอเกี่ยว ฟองน้ำเสริมตามรูปทรงขอบราชุดชั้นในของเรา ระวังตะขอจะไปเกี่ยวกับเนื้อผ้าลูกไม้หรือโครงอาจจะบิดงอในระหว่างซักกันค่ะ 
     3. ซักน้ำแรก ชำระล้้างสิ่งสกปรก คราบเหงื่อออกจากบราชุดชั้นในของเรา ด้วยน้ำเย็นกันนะคะ
     4. เลือกน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอก ตามคำแนะนำของป้ายกำกับของบราชุดชั้นในนั้นๆโดยเฉพาะ หรือ เลือกน้ำยาชักผ้าหรือผงซักฟอกอย่างอ่อน สำหรับซักบราชุดชั้นในที่ไม่มีฤทธิ์เป็นกรดกัดกร่อนและให้ใช้ปริมาณที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตกค้างอันมีผลกับเนื้อผ้า หรือวัสดุของบราชุดชั้นในนั้น ห้ามใช้น้ำยาฟอกขาวเป็นอันขาดค่ะ
    
     5. ล้างออกด้วยน้ำเย็นสัก 2-3 น้ำ หรือให้แน่ใจว่า ไม่มีน้ำยาซักผ้าหรือผงซักฟอกหลงเหลืออยู่ค่ะ
     6. ซักน้ำสุดท้ายด้วยน้ำยาปรับผ้านุ่มหอมๆ อาจแช่ผ้าไว้สักเล็กน้อย เพื่อให้กลิ่นติดทน และใยผ้าคืนตัวนะคะ เราจะได้บราชุดชั้นในหอมๆ สวมใส่นุ่มไม่ระคายเื่คืองต่อผิวค่ะ
     7. อย่าบิด แต่ใช้วิธีบีบน้ำออกจากบราชุดชั้นในที่ผ่านกระบวนการซักเรียบร้อยแล้วเบาๆ ให้พอแห้งหมาดๆ ก็พอนะคะ แล้วกลับตะเข็บด้านในออก สบัดเบาๆ จัดรูปทรงให้บาลานซ์กันก่อนผึ่งในที่ที่มีลมโกรก ตากแดดอ่อนๆ พอ อย่าตากไว้กลางแจ้งเชียว เพราะจะทำให้เนื้อผ้าซีด ยางและความยืดหยุ่นตามขอบต่างๆ เสื่อมเร็วค่ะ

    8. สบัดบราชุดชั้นในที่ผ่านกระบวนการซักเรียบร้อยแล้วเบาๆ ให้เนื้อผ้าคืนตัว กลับตะเข็บด้านในออก จัดรูปทรงให้บาลานซ์กันก่อนผึ่งในที่ที่มีลมโกรก ตากแดดอ่อนๆ พอนะคะ อย่าตากไว้กลางแจ้งเชียว เพราะจะทำให้เนื้อผ้าซีด ยางและความยืดหยุ่นตามขอบต่างๆเสื่อมเร็วค่ะ

          เป็นอันเสร็จเรียบร้อย ได้บราชุดชั้นในสะอาดๆ กลิ่นหอมสดชื่นนะคะไว้ใส่ใส่วันต่อๆไป อยากจะทิ้งท้ายอีกนิดค่ะ… ควรซักบราชุดชั้นในที่เราสวมใส่แล้วทุกครั้งในแต่ละวัน ไม่ควรเก็บสะสมไว้ซักพร้อมกันหลายๆตัวนะคะ เพื่อป้องกันการหมักหมมของสิ่งสกปรก เหงื่อ คราบไคล จนอาจกลายเป็นคราบเหลืองฝังแน่น และแหล่งสะสมเชื้อโรคนะคะ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ซ้ำขออภัยค่ะ

 

รูปประกอบ  :  Google

ที่มา: chicbiscuit.com
 
Credit: http://women.postjung.com/713218.html
#ชุดชั้นใน
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
11 ต.ค. 56 เวลา 18:30 4,223 1 120
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...