"ที่หนึ่ง" ของเมืองไทย
กว่าจะมาเป็นเมืองไทยแบบที่เราเห็นกันทุกวันนี้ มีหลายต่อหลายอย่างที่เราหยิบของเขามาเป็นของเราเอง แต่ก็ีมีหลายอย่างเหมือนกันที่เราสร้างขึ้นมาเป็นของตัวเอง และต่อไปนี้คือจุดเริ่มต้นแรกของสิ่งต่างๆ ที่เราเห็นอยู่ในชีวิตประจำวัน
นามสกุลหมายเลข 1 ที่รัชกาลที่ 6 ทรงคิดพระราชทาน
นาม สกุลหมายเลข 1 ที่รัชกาลที่ 6 ทรงคิดพระราชทาน คือ นามสกุล "สุขุม" พระราชทานเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2456 ต้นสกุลคือ เจ้าพระยายมราช (ปั้น สุขุม)
แบบเรียนเล่มแรกของไทย
แบบเรียนเล่มแรกของไทยชื่อ จินดามณี แต่งโดยพระมหาราชครู กวีในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช (ครองราชย์ปี พ.ศ. 2199-2231)
ถนนสายแรกในเมืองไทย
ถนน สายแรกในเมืองไทยคือ ถนนเจริญกรุง (New Road) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2404 โดยต่อมาได้มีการตัดถนนบำรุงเมือง ถนนเฟื่องนคร รวมทั้งถนนพระราม 4 และถนนสีลมในเขตชานพระนคร
น้ำแข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรก
น้ำ แข็งเข้ามาเมืองไทยครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 4 ประมาณ พ.ศ. 2410 สันนิษฐานว่า ผลิตที่สิงคโปร์แล้วส่งมาถวายโดยใส่ห ีบกลบขี้เืลื่อย คนเฒ่าคนแก่ในสมัยนั้นไม่เชื่อว่าจะทำน้ำแข็งได้จริง ถึงกับออกปากว่า "จะปั้นน้ำเป็นตัวได้อย่างไร"
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระพาสต่างประเทศ
พระ มหากษัตริย์ไทยพระองค์แรกที่เสด็จพระพาสต่างประเทศคือ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยเสด็จประพาสสิงคโปร์เป็นแห่งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2413 และเสด็จชวาด้วย
ผู้ที่คิดออกล็อตเตอรี่เป็นคนแรกในเมืองไทย
ผู้ ที่คิดออกล็อตเตอรี่เป็นคนแรกในเมืองไทยคือ มิสเตอร์เฮนรี่ อาลบาสเตอร์ (ต้นตระกูล "เศวตศิลา") ชนชาติอังกฤษ เป็นผู้นำลักษณะการออกรางวัลสลากแบบยุโรปมาเผยแพร่เป็นคนแรก โดยเรียกว่า "ลอตเตอรี่" โดยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระบรมราชานุญาต ให้กรมทหารมหาดเล็กออกล็อตเตอรี่เป็นครั้งแรกในประเทศไทย เมื่อปี พ.ศ. 2417 เนื่องในงานพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา
คนไทยคนแรกที่ได้ขึ้นเครื่องบิน
คน ไทยคนแรกที่ได้ขึ้นเครื่องบินคืิอ พรบรมวงศ์เธอ กรมพระยากำแพงเพ็ชรอัครโยธิน โดยประทับเครื่องบินออร์วิลไรท์ คู่กับกัปตัน มร.เวน เดนเปอร์น ซึ่งขับวนเวียนเหนือสนามราชกรีฑาสโมสร เป็นเวลา 3 นาที 45 วินาที เมื่อวันที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2453 เป็นเครื่องบินที่ฝรั่งเศสนำมาแสดง ณ ราชกรีฑาสโมสร (สนามม้านางเลิ้ง) ซึ่งถือว่าเป็นสนามบินแห่งแรก ที่ใช้ในการบินของเมืองไทยด้วย
พระมหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศ
พระ มหากษัตริย์ไทยพระองค์แรก ที่ทรงผ่านการศึกษาจากต่างประเทศ คือ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เสด็จไปศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ ตั้งแต่เมื่อครั้งยังดำรงพระอิสริยยศ สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เมื่อปี พ.ศ. 2436-2445 รวมระยะเวลา 9 ปี
ผู้ที่ให้กำเนิดรถแท็กซี่ขึ้นในประเทศไทยครั้งแรก
ผู้ ที่ให้กำเนิดรถแท็กซี่ขึ้นในประเทศไทยครั้งแรกคือ พลโท พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) เป็นรถยนต์นั่ง (รถเก๋ง) ยี่ห้อออสติน จำนวน 4 คัน เปิดบริการรับจ้างครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2466 ในสมัยรัชกาลที่ 6 ในสมัยนั้นเรียกว่า "รถไมล์"
ประเทศไทยเริ่มนับเวลาตามแบบสากลครั้งแรก
ประเทศ ไทยเริ่มนับเวลาตามแบบสากลครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยแต่เดิมเรานับเวลาตอนกลางวันเป็น "โมง" และตอนกลางคืนเป็น "ทุ่ม" พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงให้เปลี่ยนมาเรียกว่า "นาฬิกา" (เขียนย่อว่า "น.") และให้นับเวลาทางราชกาลใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับธรรมเนียมสากลนิยม โดยให้ถือว่าเวลาหลังเที่ยงคืนเป็นเวลาเปลี่ยนวันใหม่ และให้ถือเวลาที่ตำบลกรีนิช ประเทศอังกฤษเป็นมาตรฐาน ซึ่งเวลาในประเทศไทย เป็นเวลาก่อนหรือเร็วกว่าที่กรีนิช 7 ช.ม. เช่น ไทยเป็นเวลา 19.00 น. ทางกรีนิชเท่ากับ 12.00 น. เป็นต้น
ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเป็นเครื่องแรก
ผู้ที่ประดิษฐ์เครื่องพิมพ์ดีดภาษาไทยเป็นเครื่องแรกคือ มิสเตอร์เอ็ดวิน แมกพาร์แลนด์ ยี่ห้อเรมิงตัน
นายกรัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทย
นายก รัฐมนตรีคนแรกของประเทศไทยคือ พระยามโนปกรณนิติธาดา (ก้อน หุตะสิงห์) เข้าดำรงตำแหน่งเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2475-20 มิถุนายน พ.ศ. 2476 ส่วนนายกรัฐมนตรีคนแรกที่ถูกบังคับให้ออกจากตำแหน่งคือ นายควง อภัยวงศ์ หลังจากที่เข้าดำรงตำแหน่งได้ประมาณ 1 เดือนเศษ ในวันที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2491 ได้ถูกคณะนายทหารเข้าพบ เพื่อขอร้องแกมบังคับให้ลาออกจากตำแหน่ง ทั้งนี้เพื่อเปิดทางให้กับ จอมพล ป. พิบูลสงคราม กลับเข้าเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยที่ 3
ผู้ประพันธ์เพลงชาติไทยในปัจจุบัน
ผู้ ประพันธ์เพลงชาติไทยในปัจจุบันคือ พระเจนดุริยางค์ (ปิติ วาทยากร) เป็นผู้แต่ทำนอง และหลวงสารานุประพันธ์ (นวล ปาจิณพยัคฆ์) เป็นผู้แต่งเนื้อร้องเมื่อ พ.ศ. 2483
ผู้ที่คิดฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทย
ผู้ ที่คิดฝนเทียมหรือฝนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรกในเมืองไทยคือ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช โดยทรงคิดค้นและวิจัยมาตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2498 และทรงถ่ายทอดแนวพระราชดำริและผลงานวิจัยแก่ ม.ร.ว.เทพฤทธิ์ เทวกุล วิศวกรผู้เชี่ยวชาญทางการเกษตร จนมีการทำฝนหลวงพระราชทานครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2512
มงกุฏราชกุมารพระองค์แรก ที่ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบก
มงกุฏราชกุมารพระองค์แรก ที่ทรงเข้าศึกษาในโรงเรียนเสนาธิการทหารบกคือ สมเด็จพระบรมโอรสธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมงกุฎราชกุมาร
สมเด็จเจ้าฟ้าองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของประเทศไทย
สมเด็จ เจ้าฟ้าองค์แรกที่สำเร็จการศึกษาปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยของประเทศไทยคือ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โดยทรงจบอักษรศาสตร์บัณฑิต เกียรตินิยมอันดับ 1 จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ.2519
คนไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ
คน ไทยคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งให้เป็นประธานสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติคือ พลตรี พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์ เมื่อเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2499
ผู้นำไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซ
ผู้นำไทย คนแรกที่ได้รับรางวัลแมกไซไซคือ นายอานันท์ ปันยารชุน อดีตนายกรัฐมนตรีคนที่ 18 ของไทย ได้รับในสาขาบริการภาครัฐบาล ประจำปี พ.ศ. 2540