HapiFork ส้อมอัจฉริยะช่วยลดน้ำหนัก

 

 

 

 

 

HapiFork ส้อมอัจฉริยะ จะสั่นเตือนเบาๆ เมื่อผู้ใช้ทานอาหารเร็วเกินไป

ทุกคนที่อยากมีสุขภาพดี ก็คงเคร่งเครียดกับการนับอยู่ตลอดเวลา ไม่ว่าจะเป็นนับจำนวนพลังงานที่ได้จากอาหารเปรียบเทียบกับพลังงานที่ได้เผาผลาญไปกับการออกกำลังกายว่าจะสมดุลกันหรือไม่ หรือคอยนับคอยดูน้ำหนักตัวของตัวเองตลอดเวลา หรือนับว่าวันนี้วิ่งไปแล้วกี่กิโล

แต่ตอนนี้ได้มีเครื่องใช้ชิ้นใหม่บนโต๊ะอาหารที่เรียกว่า  HapiFork ที่จะช่วยเหล่าผู้รักสุขภาพทั้งหลายลดน้ำหนักได้ โดยการนับจำนวนอาหารที่รับประทานเข้าไปว่าทานไปกี่คำแล้ว และช่วยเตือนให้รับประทานช้าๆ เพื่อจะได้ทานอาหารพอดีๆ ไม่มากเกินไป ทำให้การเผาผลาญพลังงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

เทคโนโลยีนั้นได้อำนวยความสะดวกในการดำเนินชีวิตประจำวันให้แก่คนเราอย่างมาก เพราะสามารถติดตามเรื่องราวต่างๆ ในชีวิตประจำวันของคนเราได้อย่างง่ายดายด้วยสมาร์ทโฟน  pedometers หรือเครื่องวัดจำนวนก้าว หรือแม้กระทั่งเซนเซอร์ขนาดเล็กที่สามารถติดไว้กับสายรัดข้อมือได้ ซึ่งการติดตามข้อมูลต่างๆ ของตนเองอยู่เสมอของคนเหล่านี้นั้น กำลังจะกลายเป็นอะไรที่มากเกินกว่าความเป็นห่วงสุขภาพของตนเองไปเสียแล้ว

ผู้คนที่ห่วงใยในสุขภาพของตนเองนั้นมักจะติดตามกิจกรรมของตนเองอย่างทุกฝีก้าวไม่ว่าจะยามหลับหรือยามตื่น ไม่ว่าจะเป็นท่าทางลักษณะการนอน อัตราการเต้นของหัวใจ อารมณ์ คุณภาพของอากาศที่ตนหายใจอยู่ รวมทั้งพฤติกรรมการทำงาน เพื่อให้พวกเขารู้สึกว่าพวกเขามีข้อมูลเพียงพอที่จะรู้ได้ว่าสุขภาพของพวกเขาเป็นอย่างไร

ในกรณีของ HapiFork  HapiFork สามารถที่จะบอกผู้รักสุขภาพทั้งหลายให้ได้ทราบว่า พวกเขารับประทานอาหารเร็วเท่าใด โดยปกติแล้วกระเพาะอาหารของคนเรานั้นจะใช้เวลาประมาณ 20 นาที ในการส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าอิ่มแล้วและถึงเวลาที่จะหยุดทานได้แล้ว ดังนั้นการรับประทานอาหารที่เร็วเกินไปย่อมมีโอกาสที่จะทานเกินความจำเป็นของร่างกายได้ ผู้พัฒนา HapiFork กล่าวว่า การรับประทานช้าๆ นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพอย่างมาก รวมไปถึงลดความเสี่ยงในการเกิดโรคกรดไหลย้อน โรคอ้วน และโรคเบาหวานด้วย

ส้อมอัจฉริยะราคา 99 เหรียญสหรัฐนี้ได้เปิดตัวเป็นครั้งแรกในงาน Consumer Electronics Show  ซึ่งจัดขึ้นในเดือนมกราคมที่ผ่านมาที่ประเทศสหรัฐอเมริกา ปรากฎว่ามีผู้สนใจส้อมอัจฉริยะชิ้นนี้เป็นจำนวนมาก โดยส้อม HapiFork จะเริ่มวางขายในปลายปีนี้

ส้อม HapiFork ตัวนี้ ทำงานโดยเก็บข้อมูลพฤติกรรมการรับประทานอาหารของผู้ใช้อย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยมันจะส่งข้อมูลต่างๆ ที่มันเก็บได้ เช่น ระยะเวลาในการรับประทานอาหารแต่ละครั้ง และความถี่ในการทานอาหารแต่ละคำ ไปยังสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ โดย HapiFork จะมีแอพพลิเคชันในสมาร์ทโฟนที่สามารถแชร์ข้อมูลให้กับเพื่อนๆ และครอบครัวได้อีกด้วย

นอกจากนี้ อุปกรณ์ตัวนี้สามารถตั้งค่าให้สามารถปรับเปลี่ยนการแจ้งเตือนตามพฤติกรรมของผู้ใช้ได้ โดยจะสั่นเพื่อเป็นการเตือนผู้ใช้ว่ารับประทานอาหารเร็วเกินไปโดยเตือนเบาๆ เพื่อให้ผู้ใช้ชะลอความเร็วลง แต่การตั้งค่าเริ่มต้นนั้นจะกำหนดให้ทานอาหารได้  1  คำต่อ 10 วินาที หากใน 10 วินาทีทานอาหารเกิน 1 คำ ส้อมอัจฉริยะก็จะสั่นเตือนทันที แต่ค่าที่ตั้งมาจากโรงงานนี้สามารถเปลี่ยนแปลงได้

การนับจำนวนคำของ HapiFork ก็คือ เมื่อปลายของ HapiFork สัมผัสที่ปากของผู้ใช้ วงจรไฟฟ้าภายในส้อมก็จะครบวงจรและจะนับเป็นการทานอาหาร 1 คำ ข้อมูลจากการใช้จะถูกส่งจาก HapiFork เข้าสู่สมาร์ทโฟนของผู้ใช้โดยอัตโนมัติโดยใช้ Bluetooth หรือ micro USB ก็ได้  ด้ามของ HapiFork ทำมาจากพลาสติกที่หนาเพื่อป้องกันวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่ภายในจากน้ำและสิ่งสกปรกต่างๆ เนื่องจาก HapiFork สามารถล้างน้ำได้แบบส้อมปกติ หรือจะล้างด้วยเครื่องล้างจานก็ได้เช่นกัน  และเวลาจะใช้ก็ต้องกดปุ่มเปิดเสียก่อน แต่เมื่อใช้เสร็จแล้วมันจะปิดเองโดยอัตโนมัติ

Fabrice Boutain ผู้ก่อตั้งบริษัท HapiLabs ผู้พัฒนา HapiFork ได้ทำการทดสอบส้อมอัจฉริยะดังกล่าว โดยใช้ HapiFork ต้นแบบจำนวน 10  คัน รับประทานอาหาร พบว่าหากทานเกิน 1 คำ ต่อ 10 วินาทีส้อมก็จะสั่นทำให้การทานอาหารไม่สะดวกนัก โดยเฉพาะเมื่อส้อมที่สั่นสัมผัสกับฟัน ทำให้การใช้ในระยะแรกๆ จะรู้สึกรำคาญและไม่ค่อยชิน แต่เมื่อใช้ไปนานๆ ก็จะช่วยดัดนิสัยของผู้ใช้ให้รับประทานช้าลงจนเป็นนิสัยเอง

Boutaink กล่าวว่า จากการทดสอบ ต้องใช้เวลาประมาณ 21 วันกว่าจะเริ่มชินและทานช้าลงจนเป็นนิสัย ดังนั้นหากใช้ HapiFork ติดต่อกันเป็นเวลา 21 วันผู้ใช้ก็จะกินช้าลงจนเป็นนิสัย ดังนั้นส้อม HapiFork จะช่วยเราในการฝึกให้เป็นคนทานช้าๆ เพื่อให้กินอย่างพอดีไม่มากเกินความต้องการของร่างกายนั่นเอง

ที่มา: CNN.com
Credit: http://women.postjung.com/712417.html
9 ต.ค. 56 เวลา 19:28 520 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...