จักรพรรดิองค์สุดท้าย

 

ราชวงศ์ชิงขึ้นปกครองประเทศจีนมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1644 แต่ต่อมาอำนาจของ

ระบอบจักรพรรดิเริ่มสั่นคลอน เพราะในช่วงปลายศตวรรษที่ 1800 เกิดการ

เคลื่อนไหวของกลุ่มผู้ฝักใฝ่สาธารณรัฐขึ้นและเริ่มแพร่หลายทำให้ระบอบ

จักรพรรดิเริ่มอ่อนแอลง

 

 

หลังจากพระจักรพรรดิเซียนเฟิงสวรรคตในปี 1861 พระนางซูสีไทเฮาพระ

มเหสีปฎิเสธที่จะย้ายออกจากวัง และขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระราช

โอรสวัย 6 ชันษา พระนางเป็นผู้ปกครองที่ปราศจากความปราณี จนได้รับ

ขนานนามว่า "นางพญามังกร" ครั้นแล้วพระราชโอรสของพระนางก็สิ้นพระ

ชนม์ลงในปี 1875 พระนางก็ยังคงยึดอำนาจไว้ด้วยการนำพระราชนัดดาวัย

4 ชันษา นามว่าพระเจ้ากวงซู ขึ้นสืบราชสมบัติและสำเร็จราชการแทนพระ

ราชนัดดาอีก ต่อมาในปี 1898 พระเจ้ากวงซูพยายามทวงพระราชอำนาจคืน

พระนางจึงจับพระองค์ขังคุกจนสิ้นพระชนม์ในปี 1908 และพระนางเองก็สิ้น

พระชนม์หลังจากพระเจ้ากวงซูเพียง 1 วัน

 

 

ดังนั้นพระราชสมบัติจึงตกเป็นของผู่อี๋ (ภาษาอังกฤษเรียก ปูยี) ซึ่งต้องขึ้น

ครองราชในปี 1908 ด้วยวัยเพียง 2 ชันษา ช่วงนั้นเป็นช่วงที่ราชสำนักกำ

ลังอ่อนแอมาก จนในที่สุดก็เกิดการปฏิวัติขึ้นในปี 1911 และมีการสถาปนา

สาธารณรัฐจีนขึ้นในปี 1912 ยุวกษัตริย์ผู่อี๋ (ปูยี) จึงจำต้องสละราชสมบัติ

อย่างไรก็ตามการสละบัลลังก์ก็มิได้ส่งผลกระทบต่อชีวิตของพระจักรพรรดิ

ผู่อี๋มากนัก พระองค์ยังคงใช้ชีวิตอย่างฟุ่มเฟือยอยู่ภายในกำแพงพระราชวัง

ต้องห้ามในปักกิ่งซึ่งปกป้องพระองค์จากการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นทั่วประเทศ

 

 

แม้ว่าจะไม่มีตำแหน่งจักรพรรดิแล้ว ผู่อี๋ (ปูยี) ก็ยังคงถูกรายล้อมด้วยคนรับ

ใช้นับพันที่ยังจงรักภักดีและพร้อมตอบสนองความปรารถนาทุกประการของ

พระองค์แม้แต่บิดามารดาบังเกิดเกล้าก็ยังยินดีคุกเข่าให้กับเด็กชายน้อยผู้

นี้ต่อไป จนกระทั่งในปี 1917 ผู่อี๋ก็ได้ขึ้นบัลลังก์อีกครั้งแต่เพียงชั่วระยะเวลา

ไม่ถึง 2 สัปดาห์เท่านั้น ชีวิตในวัยเยาว์ของผู่อี๋นั้นได้อยู่แต่ในพระราชวัง ไม่

เคยได้ออกไปไหน พระองค์ได้รับการศึกษาอย่างดีโดยเฉพาะในเรื่องภาษา

อังกฤษ พระองค์ทรงสนใจทุกเรื่องเกี่ยวกับชาวตะวันตกและตัดสินใจใช้ชื่อ

ภาษาอังกฤษว่า "เฮนรี่" พระองค์ทรงปรารถนาโลกภายนอกเป็นอย่างมาก

จนมีหลายครั้งที่ต้องทำการติดสินบนแก่ยาม เพื่อหลบหนีไปจากการบังคับ

จองจำภายในกำแพงพระราชวังต้องห้าม

 

ผู่อี๋ (ปูยี) ถ่ายตอนที่อยู่เทียนสิน

 

จนกระทั่งในปี 1924 ผู่อี๋ถูกบังคับให้ย้ายจากพระราชวังถือเป็นการออกสู่

โลกภายนอกอย่างถาวรดังที่เขาเฝ้าคอยมาทั้งชีวิต เขาเริ่มต้นการใช้ชีวิต

สามัญชนด้วยอัญมณีและทรัพย์สินที่นำออกมาจากพระราชวัง แล้วกล่าว

ว่า "ข้าพเจ้าได้พบกับอิสระแล้ว"  อิสระภาพของผู่อี๋มิได้ยั่งยืนดังที่วาดหวัง

ไว้ เพราะในปี 1932 ขณะนั้นแมนจูเรียและมองโกเลียตกอยู่ในการปกครอง

ของญี่ปุ่น ญี่ปุ่นเล็งเห็นประโยชน์จากการนำผู่อี๋มารับตำแหน่งประธานาธิบดี

และเป็นจักรพรรดิหุ่นเชิดของประเทศแมนจูเรีย แต่หลังจากญี่ปุ่นแพ้สงคราม

ในปี 1945 ผู่อี๋ก็ถูกจับเป็นนักโทษของโซเวียตและถูกคุมขังอยู่ในบ้านของเขา

 

 

ในปี 1950 อดีตจักรพรรดิวัย 44 ปี ก็ได้กลับสู่มาตุภูมิอีกครั้งในฐานะอาชญา

กรสงคราม ช่วง 9 ปีต่อจากนั้นเขาได้เปลี่ยนแนวคิดจากผู้สนับสนุนระบอบ

กษัตริย์อย่างแรงกล้าไปเป็นผู้สนับสนุนระบอบคอมมิวนิสสต์อย่างทุ่มเท และ

เมื่อถูกปล่อยตัวในปี 1959 เขาก็แทบไม่เหลือคราบของผู่อี๋คนเดิมอีกเลย ต่อ

มาผู่อี๋ได้กลายมาเป็นคนสวนของสวนพฤกษศาสตร์ปักกิ่ง เรียนรู้การเตรียม

ดินเพื่อการเพาะปลูกบนผืนแผ่นดินที่ครั้งหนึ่งเคยเป็นแผ่นดินของพระองค์

และจากโลกนี้ไปในปี 1967 ในฐานะคนสวนที่อาศัยอยู่ในบ้านที่ชำรุดทรุดโทรม

 

รวมภาพจริงของผู่อี๋ (ปูยี) และครอบครัว

 

...ภาพวัยเด็ก...

 

  องค์ชายชุน บิดาของผู่อี๋ (ซ้าย) ผู่อี๋ตอนอายุ 2 ปี (กลาง) 

องค์ชายชุน ปูเจี๋ย(นั่งบนตัก) ผู่อี๋(ยืน)(ขวา)

 

              ผู่อี๋ อายุ 3 ชันษา ว่าราชการ                ผู่อี๋บนบัลลังก์ออกว่าราชการ

 

...ภาพวัยรุ่นจนถึงวัยหนุ่ม...

 

 

เรจินัลด์ จอห์นสตัน พระอาจารย์ชาวสก็อตแลนด์

 

                   เข้ารับตำแหน่งจักรพรรดิแมนจูเรีย        ในชุดจักรพรรดิแมนจูเรีย

 

...ถ่ายร่วมกับฮองเฮาวานจง ภรรยาคนแรก...

 

ถ่ายเมื่อปี 1932

 

...ภรรยาของผู่อี๋ (ปูยี)...

 

คนที่ 1 ฮองเฮาวานจง หรือ อลิซาเบท (ซ้าย) คนที่ 2 สนมเหวินซิ่ว (ขวา)

 

คนที่ 3 อี้หลิง (ซ้าย) คนที่ 4 อี้จิน (ขวา) คนที่ 5 หลี่ซู่เสียน (กลาง)

 

...บั้นปลายชีวิต...

 

 

ในวัยชราต้องเย็บผ้าเองและประกอบอาชีพคนสวนในบั้นปลายของชีวิต

 

ที่มา : http://www.indepencil.com/กษัตริย์องค์สุดท้าย/

 

         http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=drib777&date=25-05-2005&group=11&gblog=1

8 ต.ค. 56 เวลา 00:47 16,355 2 170
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...