ปืนพกของกองทัพบกไทย จากอดีตถึงปัจจุบัน

ปืนพกที่เข้าประจำการในกองทัพไทยนั้น ถ้าเอาตั้งแต่สมัยโบราณเลยก็คือปืนพกคาบศิลาครับ แต่ช่วงที่เริ่มเข้าประจำการในกองทัพนั้นไม่ทราบแน่ชัดครับ แต่ในช่วงสงครามอินโดจีน-สงครามมหาเอเชียบูรพา (พ.ศ.๒๔๘๓-๒๔๘๘)เราก็เริ่มมีการจัดปืนพกลงไปในหน่วยแล้ว โดยในยุคแรกเราประจำการสามารถสืบหาประวัติได้ดังนี้


            ปืนพกแบบ 44  FN/Browning M1900

 

 

ปืนพกแบบ 44 ข. (ปพ. 44 ข.) หรือปืน FN/Browning M1910

 

ปืนพกแบบ 44 ก. (ปพ. 44 ก.) หรือ ปืน FN/Browning M1900 และปืนพกแบบ 44 ข. (ปพ. 44 ข.) หรือปืน Browning M1910 ซึ่งปืนพกทั้ง 2 รุ่นนี้ผลิตโดยบริษัท FN ประเทศเบลเยียม .ใช้กระสุน 7.62x17 mm. SR (.32 ACP) ระบบปฏิบัติการแบบ Single Action ระยะหวังผล 15-25 ม. ระยะยิงไกลสุด 50 เมตร ความจุ 7 นัด (หน้าตาคล้ายปืน Tokarev TT ของทางโซเวียตเลยครับ)

 

ปืนพกแบบ 79 ขนาด .38 super

 

ปืนพกแบบ 79 (ปพ.79) หรือปืน Colt .38 Super ผลิตโดยบริษัท Colt , USA ใช้กระสุนขนาด .38 Super Auto ใช้ระบบปฏิบัติการแบบ Double Action ระยะหวังผล 50 ม. ระยะยิงไกลสุด 1,000 ม. ความจุ 8 นัด รูปร่างคล้ายกับปืนพก 86 หรือปืน Colt Government M1911 มากครับ

 

 

ปพ. 80 ขนาด 9 มม.ซึ่งทดลองผลิตที่อังกฤษ

 

 ปืนพกแบบ 80 (ปพ.80) หรือปืน Star Model ผลิตโดยบริษัท Star Bonifacio Echeverria S.A. ประเทศ Spain ใช้กระสุนขนาด 9x19mm. Parabellum (จริงๆมันมีขนาด 9 มม.อีกรุ่นใช้กระสุนขนาด 9x23 mm. Largo ซึ่งผมไม่แน่ใจนะว่าใช้ 9 มม. รุ่นไหนแน่ แต่คิดว่าน่าจะเป็น 9 มม. พาราฯมากกว่า) ระบบปฏิบัติการแบบ Single Action ระยะหวังผล 50 ม. ระยะยิงไกลสุด 1,000 ม. ความจุ 9 นัดจากหลักฐานของฝรั่งว่า ทบ.ไทยคงซื้อลิขสิทธิ์มาในปี ค.ศ.1935 (พ.ศ.2478) และสั่งเครื่องจักรใหม่เพื่อเปิดสายการผลิต เช่น แบบจับยึด (Jig and Fixtures) เครื่องเจาะ เครื่องกลึงต่างๆ ของบริษัท Greenwood & Batley จากประเทศอังกฤษ เครื่องมือชุดนี้สามารถผลิตปืนพกได้ 20 - 25 กระบอกต่อวัน โดยทำงานวันละ 8 ชั่วโมง ราคาเครื่องจักรเป็นเงิน 24,000 ปอนด์  โดยต้องส่งมอบเครื่องจักรทั้งหมดและตัวอย่างปืนจำนวนหนึ่งมาเพื่อพิสูจน์ว่า ใช้ทำปืนได้จริงภายใน 117 สัปดาห์ (2 ปี 3 เดือน) ซึ่งตรงกับเดือนมีนาคม ค.ศ.1936 (พ.ศ.2479)แต่แล้วแผนเกิดหยุดชะงักลงเมื่อปี ค.ศ.1936 - 39 เกิดสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ในประเทศสเปน โรงงานสตาร์ถูกถล่มราบเป็นหน้ากลองคนงานหนีตายกันจ้าละหวั่น เอกสารหายสูญไปหมด แม้แต่ปืนต้นแบบในห้องเก็บก็ถูกปล้นเอาออกไปรบ สตาร์จำต้องเลิกส่งคนมาช่วยติดตั้งเครื่องจักรและทดสอบการผลิตในกรุงเทพ  เมื่อฝรั่งไปพบปืนตัวอย่างที่ผลิตจากอังกฤษ มีตราประทับชื่อบริษัท Greenwood & Batley ตรากงจักร และชื่อปืนพกแบบ 80 ตอกอยู่ที่สไลด์ ด้วยเหตุนี้เองแม้แต่กรมสรรพาวุธของเราก็เข้าใจผิดหลงบันทึกในทะเบียนปืน เก่าว่ามีปืนพกทำจากเมืองผู้ดีเหลือคงคลังอีกหลายสิบกระบอก มิใช่มีสายเลือดกระทิงดุสเปนแต่อย่างใด ปืนที่พบในอเมริกายังมีประหลาดอีกชนิดคือ ปืนพกกล ปพ.80 ซึ่งคงสร้างเพื่อทดลองตามแผนในใจของราชการไทย ดูจากเหตุการณ์อันวุ่นวายในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2  จนทางการให้มีการย้ายเครื่องจักรบางส่วนไปหลบลูกระเบิดแล้ว ต่อมาคงสั่งระงับการผลิตไปเลย และอาจทำให้มี ปพ. 80 อยู่ในโลกไม่เกิน 100 กระบอก ตบท้ายด้วยปืนพกกลต้นแบบ ปพ.80 ดูคันยิงกลที่สไลด์

 

บนปืนพก แบบ 86 ขนาด .45 ACP ( 11 มิลลิเมตร)

 

ปืนพกแบบ 86 (ปพ.86) หรือปืน Colt M1911A1 ผลิตโดยบริษัท Colt , USA ใช้กระสุนขนาด .45 ACP (11.43x23 mm.) ระบบปฏิบัติการแบบ Single Action , Short recoil operation ระยะหวังผล 50 ม. ระยะยิงไกลสุด 1,500 ม. ความจุ 7 นัด

 

ปพ.95/03  ขนาด 11 มม. ที่ไทยทำด้วยมือทั้งกระบอก

 

ปืนพกแบบ 95 ครั้นสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 ปืนโคลท์ M1911A1 ขนาด 11 มม. จากอเมริกาในชื่อใหม่ว่า  ปพ.แบบ 86  ได้เป็นปืนพกมาตราฐานของราชการไทย แต่ด้วยเหตุผลกลใดไม่ทราบ ในปี พ.ศ.2498 ทบ. เกิดขาดแคลนปืนพกขึ้นอีกรอบ เดือดร้อนถึงเหล่าผู้สำเร็จการศึกษานายร้อย จปร. ไม่มีปืนพกประจำตัว กรมสรรพาวุธทหารบกจึงนำแบบปืนสตาร์ ปพ. 80 มาปัดฝุ่นขยายให้เป็นปืนขนาด 11 มม. ด้วยเครื่องจักรที่สั่งมาไว้เกือบ 20 ปีก่อน กลายเป็น "ปืนพกแบบ 95" (ปพ.95) คาดว่าช่างไทยคงแอบลองทำไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2495 แล้วจึงมีชื่อรุ่นอย่างนี้หนังสือฉลอง 90 ปี กรมสรรพาวุธว่าไว้มี ปพ.95 เพียง 300 กระบอก จำหน่ายแก่นายทหารที่จบในปี พ.ศ.2499 เดี๋ยวนี้แต่ละท่านก็สิ้นสุดอายุราชการไปหมดแล้ว แต่ใครจะไปนึกว่ามีปืน 11 มม. ที่มียอดผลิตแค่ 300 กระบอกในโลกอยู่ ในมือ ปพ.95 รุ่นนี้ถือเป็นรุ่นดั้งเดิมคือมีเข็มแทงชนวน ใช้แบบแท่งมีสลักล็อกท้ายของสตาร์ 
ปพ.95/03
ต่อมาในปี พ.ศ. 2503 ทางกรมก็นำ ปพ.95 ที่ยังอยู่คงคลังกลับมาเปลี่ยนเข็มแทงชนวนให้เป็นแบบมีแป้นปิดท้ายเหมือ นโคลท์ที่แข็งแรงกว่าและถอดง่ายกว่าเพราะการถอดแบบของสตาร์นั้นต้องตอกศูนย์ หลังออกก่อนด้วยจึงจะเอาเข็มแทงชะนวนออกมาได้ ซึ่งทางการต้องเปลี่ยนสไลด์ใหม่ทั้งหมดแล้วตั้งชื่อว่า "ปืนพกแบบ 95/03" (ปพ.95/03) แปลว่าดัดแปลงใหม่ปี พ.ศ. 2503  การผลิตอีกแบบไม่ต่อเนื่องกระปิดกระปรอย ทราบว่าช่วงที่การปะทะกับ ผกค. ยังรุนแรงคือ ปี พ.ศ. 2517-2520 ก็ยังมีการผลิตกันทีละชุดๆละ 120 - 200 กระบอก  ตามความทรงจำของช่างที่ทำ คาดว่ามีเพิ่มอีกราว 1,500 กระบอกเท่านั้น ดังนั้นจึงพอนับว่า ปพ. 95/03 รุ่นปรับปรุงใหม่นี้เป็นของหาได้ยากอีกรุ่นหนึ่ง  แต่ท่านเดายอดผลิตตามเลขประจำปืน (Serial Number) ไม่ได้นะครับเพราะทางกรมฯก็ผลิตปืนเลียนแบบ M1911A1 หลังอ่อนที่เรียกว่า ปพ. แบบ 18 เรียงเลขพร้อมกันไปด้วยทำให้ ปพ.95/03 เช่นกระบอกที่นำมาทดสอบนี้มีเลขที่สูงถึง 10,400

 

ปืนพก HK USP

 

ปืนพก HK USPผลิตโดย บริษัท Heckler & Koch ประเทศเยอรมนี ประจำการในไทยเมื่อปีพ.ศ. 2546 ใช้กระสุนขนาด 9x19 mm. Luger , .40 S&W และ .45 ACP ระบบปฏิบัติการแบบ Short recoil ระยะหวังผล 50 ม. ระยะยิงไกลสุด 1,500 ม. ความจุ 15 นัด (9x19 mm. Luger) , 13 นัด (.40 S&W) และ 12 นัด (.45 ACP) ในปัจจุบันยังมีใช้งานในเฉพาะบางหน่วยงานเท่านั้น


Credit: โรงเรียนเสนาธิการ ทหารบก
#ปืน
KEO
ผู้กำกับภาพ
สมาชิก VIP
26 มี.ค. 53 เวลา 01:16 38,836 15 216
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...