หนุ่มไทยอายุน้อยสุดใน \"นาซ่า\" !


Image Hosted by ImageShack.us

        

          ด้วยวัยเพียง 29 ปี "ดร.ก้องภพ อยู่เย็น" ได้ก้าวขึ้นเป็น "วิศวกรคนไทย" ที่อายุน้อยที่สุดในองค์การนาซ่า  ทำงานประจำอยู่สถาบัน "กอดดาร์ด สเปซ ไฟลท์ เซ็นเตอร์" ศูนย์วิจัยเกี่ยวกับการสำรวจโลกและจักรวาล ที่รัฐแมริแลนด์ ประเทศสหรัฐอเมริกา


        
         ดร. ก้องภพ เป็นสมาชิกของครอบครัวคนเก่งของ "คุณพ่อ-พลโท กัลยาณุวัตร อยู่เย็น" ผู้ทรงคุณวุฒิพิเศษ กองทัพบก และ "คุณแม่ กรรณิกา"  มีน้องสาวฝาแฝดอีก 2 คน คือ "กัลยานุช" ว่าที่สัตวแพทย์ (มหาวิทยาลัยเกษตรฯ) และ "กัลยานาถ" นักศึกษาแพทยศาสตร์ ปี 5 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์   (เก่งกันทั้งบ้านเลยแฮะ).....


         ดร. ก้องภพนั้น แม้จะเกิดที่ลอสแองเจลิส แต่พออายุได้ 20 วันก็กลับมาใช้ชีวิตอยู่เมืองไทยตลอด กระทั่งจบปริญญาตรี คณะวิศวกรรมด้านไฟฟ้า ที่จุฬาฯ ด้วยเกียรตินิยมอันดับ 2 จึงเดินทางไปเรียนต่อที่สหรัฐอเมริกา


          ดร. ก้องภพเข้าทำงานที่นาซ่า เริ่มจากเป็นนักเรียนฝึกงานมาสู่ลูกจ้างชั่วคราว รับผิดชอบค้นคว้าคลื่นส่งสัญญาณไมโครเวฟ  กระทั่ง ปี 2547 จึงได้บรรจุเป็นข้าราชการวิศวกรระดับ 11 และเลื่อนสู่ระดับ 12 เมื่อปีที่ผ่านมา ถือเป็นระดับสูงสุดของวิศวกรองค์การนาซ่า


"เรื่อง ที่ ดร.ก้องภพกำลังศึกษาค้นคว้าถือเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะเป็นคลื่นสัญญาณที่ใช้ส่งนอกโลก เวลานี้กำลังใช้ติดต่อสื่อสารระหว่างโลก กับโครงการสำรวจดาวอังคาร"


ดร.ก้องภพได้เป็นตัวแทนองค์การนาซ่าไปร่วมประชุมวิศวกรโลกที่ประเทศฝรั่งเศส





บทสัมภาษณ์ ดร.ก้องภพ อยู่เย็น




ในนาซ่ามีคนเอเชียเท่าไหร่?

           สัก 15% ได้ ส่วนมากเป็นคนขาว สำหรับคนไทยที่ผมรู้จักมี 2 คน อายุประมาณ 40 กับอีกคน 50 ปี คนหนึ่งเป็นนักฟิสิกส์แล้วมาทำด้านวิศวะ สร้างอุปกรณ์ อีกคนเป็นวิศวกร

การเป็นคนเอเชียและอายุน้อยมีปัญหา?"

          ไม่มีครับ ที่โน่นไม่มีการแบ่งสีผิว ชาติ ศาสนา อายุคือ การทำงานในนาซ่า เขาแบ่งเป็น 12 ระดับ เกินจากนั้นเป็นระดับผู้บริหาร คือคุมวิศวกรอีกที ทำงานด้านวิจัยเหมือนกัน แต่ไม่ได้ทำโดยตรง ตอน นี้ผมทำระดับ 13 แล้ว ต้องเขียนแผนงานเสนอหาเงินทุน พอได้เงินทุนมาก็มาทำงานที่เราเสนอไป คือทำงานกับนักวิทยาศาสตร์ คิดอุปกรณ์ใหม่ๆ


ถือว่าเป็นตำแหน่งสูงสุดที่คนไทยเคยทำมา?

          ไม่ รู้จะเทียบยังไง แต่คนที่ทำงานในนาซ่าทุกคนจบปริญญาเอก ทำงานเหมือนกัน เพียงแต่แบ่งทำงานกันเป็นกลุ่ม ผมทำอยู่กับกลุ่มนักฟิสิกส์ ซึ่งนักฟิสิกส์กลุ่มนี้เป็นแกนขององค์กร จะคิดทฤษฎีใหม่ๆ ขึ้นมาแล้วทำการทดลอง อย่างหัวหน้าทีมคนหนึ่งที่เพิ่งได้รางวัล โนเบล เรื่อง Cosmic Microwave Background เป็นคลื่นรังสีคอสมิกความถี่ไมโครเวฟ ซึ่งเกิดจากการระเบิดของบิ๊กแบงก์ จะแผ่รังสีออกมา วัดแล้วจะพิสูจน์ได้ว่าดวงดาวเกิดขึ้นได้ยังไง จักรวาลขยายตัวเร็วขนาดไหน ฯลฯ เป็นผลมาจากการทำวิจัยสำรวจจักรวาลเมื่อ 10-20 กว่าปีที่ผ่านมา


งานหนักอย่างนี้มีเวลาว่าง?


            มีครับ ถ้าว่างๆ ก็ไปซื้อของ ไปจ่ายตลาดกับแฟนบ้าง ไปเดินออกกำลังกายบ้าง แต่ไม่บ่อยเท่าไหร่ ทั่วไปก็ทำงาน 5 วันต่อสัปดาห์


ในนาซ่ามีจำกัดวาระการทำงานของแต่ละคน?

            ไม่ มีครับ ก็ทำงานไปเรื่อยๆ แต่มีเกษียณ ราว 62 ปี ที่เป็นอย่างนี้เพราะเขาบอกว่าคนอายุยืนขึ้น และอีกเหตุผล คือ รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายเกษียณอายุ เลยเลื่อนเวลาให้ทำงานยาวออกไปอีก ไม่รู้ว่าเป็นเหตุผลไหน แต่คงเหตุผลหลังมากกว่า


เรื่องของไทม์แมชชีนที่ข้ามเวลาในอนาคตเป็นไปได้?

            เป็นไปได้ครับ ถ้าเราสามารถข้ามมิติได้ เช่น ในโลกที่เราอยู่นี้ตามทฤษฎีมี 3 มิติ บวกเวลาอีก 1 มิติเป็น 4 มิติ แต่ในทางวิทยาศาสตร์มันมีมิติไม่จำกัด เพราะไม่มีอะไรไปกำหนดนิยามว่ามันต้องมี 3 มิติ ถ้าเราหามิติอื่นได้ และสามารถข้ามมิติหนึ่งได้ ซึ่งสเกลของเวลาจะต่างจากมิติของเรา


เงินเดือนบอกได้ไหม?

            ก็เป็นหลักแสนครับ พออยู่ได้ เป็นนักวิทยาศาสตร์ไม่รวย เป็นนักธุรกิจรวยกว่า



Image Hosted by ImageShack.us

6 ส.ค. 52 เวลา 14:56 3,046 11 72
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...