กระแสคลั่ง สัตว์เลี้ยงสายพันธุ์ใหม่ 'เอเลี่ยนสปีชีส์'?
ชูกาไกลเดอร์
ชูก้าไกลเดอร์เผือก
ภาพ ถ่ายดาราดังหลายคน กับสัตว์หน้าตาแปลกๆ ที่นำโพสต์และแชร์ต่อๆ กันตามสื่อออนไลน์ ดึงดูดให้หลายคนอยากรู้ว่า เจ้าสัตว์เหล่านี้เป็น “ตัวอะไร” และมาจากไหน ??
อย่าง เจ้าเฟนเนค ฟ็อกซ์ ที่อวดโฉมของมันคู่กับดาราสาวหน้าหวาน “แอฟ ทักษอร” จริงๆ แล้วมันก็คือ สุนัขจิ้งจอกทะเลทราย มีถิ่นกำเนิดในซูดานและอียิปต์ รูปร่างคล้ายสุนัข แต่มีใบหูที่ใหญ่ เพื่อใช้ในการหาอาหาร อย่างแมลงที่อยู่ใต้พื้นทะเลทราย
ฐิติ ภูมิ พันธุเวทย์ ผู้เลี้ยง เฟนเนค ฟ็อกซ์ เล่าให้ฟังว่า หลงใหลในความแปลกที่สุนัขทั่วไปไม่มี ดูสะดุดตา ขนฟู แปลกและสวย ที่สำคัญคือไม่เห่า ซึ่งก่อนหน้านี้เคยเลี้ยงอีกัวน่าและงูมา ก่อน เพราะมองว่า สัตว์เลี้ยงทั่วไปไม่น่าหลงใหลเท่าสัตว์พวกนี้ โดยเมื่อ 5-7 ปีที่แล้ว เฟน เนค ฟ็อกซ์ มีราคาตัวละ 100,000 บาท แต่เมื่อ 2 ปีที่แล้ว ราคาลดลงเหลือประมาณ 55,000 บาท จึงตัดสินใจเลี้ยง
“ปัจจุบัน เฟนเนค ฟ็อกซ์ เป็นที่รู้จักเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ส่วนหนึ่งเป็นกระแสจากดารา เวลาถ่ายรูป คู่เฟนเนค ฟ็อกซ์ ลงโซเชียลมีเดีย คนก็จะให้ความสนใจเยอะ แต่ผมว่าคนสนใจเลี้ยงเพราะกระแสพวก นี้ เลี้ยงได้ไม่นานก็เบื่อ เพราะเค้าไม่ได้ให้ความสนใจจริงๆ รักจริงๆ แค่เห่อ ตามแฟชั่น ส่วนตัวผมเห็นก็มีบ้างที่ถอดใจเลิกเลี้ยงเฟนเนค ฟ็อกซ์ เพราะไม่มีเวลาให้ พอไม่ให้เวลาเค้า (เฟนเนค ฟ็อกซ์) ก็จะไม่เชื่องได้ง่ายๆ” ฐิติภูมิ กล่าว
ส่วนเจ้าแพร์รี่ด็อก หรือกระรอกหมา สัตว์ตระกูลฟันแทะ รูปร่างคล้ายกระรอก แต่เห่าได้ จากอเมริกาเหนือ ก็เป็นที่นิยมถึงขั้นมีแฟนเพจ “หมู่บ้าน แพร์รี่ด็อก ประเทศไทย” ที่มียอดไลค์กว่า 13,000 ไลค์
“สุ พรรษา หล่อเฟื่องธรรม” แอดมินประจำแฟนเพจ บอกว่า เริ่มเลี้ยงแพร์รี่ด็อก เมื่อ 3 ปีที่แล้ว นอกจากเลี้ยงแล้ว ยังทำแฟนเพจ บล็อก และคลิปวิธีการเลี้ยง เผยแพร่ผ่านยูทูบ เพื่อให้คนที่อยากเลี้ยงแพร์รี่ด็อกมีข้อมูลการเลี้ยง และมีพื้นที่ในการแลก เปลี่ยนวิธีการดูแล
“ที่ตัดสินใจเลี้ยง บอกตรงๆ ว่าชอบความแปลกของเขา (แพร์รี่ด็อก) ตรงที่เห่าได้ ยืนได้ ต่างจากสัตว์เลี้ยงประเภทอื่น แต่แพร์รี่ด็อก จะไม่เหมือนสุนัขหรือ แมว จึงไม่ถูกต้อง หากผู้อยากได้แพร์รี่ด็อก หวังว่า เขาจะเหมือนน้องหมาหรือน้องแมว แต่ถ้าเลี้ยงเป็นเพื่อนใจ หรือชอบสัตว์ เลี้ยงขี้อ้อน ติดคน ตัวไซส์ไม่ใหญ่ กินพวกพืช แพร์รี่ด็อก ก็เหมาะมาก แต่ข้อเสีย คือ มีพฤติกรรมกัด แทะ และขุด ตามธรรมชาติของสัตว์ป่า ซึ่งเราค่อยๆ สอนเขาได้ค่ะ” สุพรรษา กล่าว
“โอ้ ต” เจ้าของร้านขายสัตว์แปลก Mini zoo ที่จตุจักรพลาซ่า ยืนยันว่า สัตว์ทุกตัวที่นำมาขายล้วนถูกต้องกฎหมายสามารถ ซื้อขายได้ แม้เป็นสัตว์ใกล้สูญพันธ์ุ แต่ต้องนำเข้าในจำนวนควบคุม โดยระบุว่าเสน่ห์ของ สัตว์พวกนี้ นอกจากจะดูแปลกตา ทำให้เจ้าของดูเท่แล้ว บางชนิดเลี้ยงง่ายกว่าสุนัขและแมว แต่ยอมรับว่า คนนำมาคืนก็เยอะเหมือนกัน เพราะสุดท้ายก็รับนิสัยไม่ได้
“มี เอามาคืนเยอะ สาเหตุหลักๆ เพราะไม่เข้าใจธรรมชาติของเขา อย่างสัตว์ฟันแทะ พวกกระรอก พอปล่อยเค้าเดิน เล่นในบ้านก็จะแทะเฟอร์นิเจอร์จนพัง สัตว์บางชนิดชอบปล่อยกลิ่นแสดงอาณาเขต ก็ทำให้เจ้าของรับไม่ได้ ก่อนผมจะขาย ผมจะบอกทุกครั้งว่าคุณเลี้ยงสัตว์ป่า อยู่นะ ต้องทำความเข้าใจก่อนว่าเค้าเป็นสัตว์ป่า แต่หลายคนพอรับไม่ได้ก็ เริ่มเบื่อ เริ่มปล่อยปละละเลยจนก้าวร้าว พอมันก้าวร้าวไม่เชื่อง ก็ไม่อยากเลี้ยงแล้ว เป็นไปได้ผมก็ไม่อยากรับคืน หรือ นำไปปล่อยทิ้งไว้ที่ไหน จะคุยกับลูกค้าว่าลองกลับไปปรับวิธีเลี้ยง เพราะ สัตว์พวกนี้ เรารับมาแล้ว เราเอาไปขายต่อไม่ได้ทันที เพราะเขามีหัวใจ อย่าง ลิงมาโมเสทเนี่ย ตอนนี้คนนิยมเลี้ยงมาก เพราะเขาฉลาด เหมือนคน เหมือน เด็ก เลี้ยงไปเขาจะรับรู้ว่าเจ้าของคือครอบครัวเขา พอเจ้าของนำมาคืน เค้าจะเหมือนสูญเสียคนในครอบครัวไป จะเฉา จะไม่ยอมกิน ข้าว ตรอมใจก็มี เผลอๆ อาจจะเข้ากับเจ้าของใหม่ไม่ได้ด้วย” เจ้าของร้าน Mini zoo เล่า
ชินชิล่า (Chinchilla)
ส่วน ข้อวิตกที่เกรงว่า หากสัตว์ต่างถิ่นหลุดเข้าไปอยู่ในธรรมชาติ หรือคนตั้งใจเอาไปทิ้งตามป่า สัตว์เหล่านี้จะไปแย่งอาหารสัตว์พื้นเมือง รวมถึงไปฆ่าสัตว์พื้นเมือง จนทำลายระบบนิเวศ โอ้ต มองว่า สัตว์พวกนี้ถ้านำไปปล่อยก็ไม่รอด เพราะแม้จะเป็นสัตว์ป่า แต่ถูกเลี้ยงโดยมนุษย์ มีคนหาอาหารให้ พอหลุดไป หรือถูกจงใจทิ้ง ก็ไม่สามารถหาอาหารเองได้ สัตว์พวกนี้ไม่เหมือนกับปลาดูด หรือปลา ซอกเกอร์ ที่เคยแพร่พันธ์ุจนเป็นข่าวครึกโครมในช่วงหนึ่ง
นายมโนพัศ หัวเมืองแก้ว อธิบดีกรมป่าไม้ ระบุว่า ไม่ต้องการให้นำสัตว์เหล่านี้ไปทิ้งตามป่า หากต้องการทิ้งขอให้นำมาให้กรมป่าไม้ เพราะสัตว์เหล่านี้จะไม่ไปทำลายระบบ นิเวศอย่างที่หลายคนกลัว แต่สามารถนำสัตว์พวกนี้ ไปเลี้ยงไปฝึก หรือไปทำการ ศึกษา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อการเพาะพันธ์ุสัตว์ในอนาคต เพราะประเทศเราเป็น เมืองร้อน ถือเป็นอากาศเหมาะสมในเพาะพันธ์ุสัตว์บางประเภท ซึ่งสัตว์บาง ประเภทมีมูลค่าสูง อาจต่อยอดไปสู่การเพาะพันธ์ุส่งไปขายต่างประเทศ
ส่วน กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ที่มีภารกิจโดยตรงในการพยาบาลสัตว์ต่างถิ่น ที่ถูกจับมาได้จากการนำเข้าอย่างผิดกฎหมาย โดยสัตว์บางประเภทที่สามารถปล่อย กลับป่าในไทยได้ ก็ต้องนำเค้าไปเข้าโรงเรียนอนุบาลเพื่อสอนสัตว์พวกนี้ให้หา อาหารกินเอง จำลองสถานที่ และบรรยากาศให้สัตว์รู้สึกเหมือนอยู่ในป่า รวมถึง จำลองสถานการณ์กระตุ้นสัญชาตญาณสัตว์ป่าให้รู้จักเอาตัวรอดด้วย
เจ้า หน้าที่หน่วยเพาะเลี้ยง กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ระบุว่า กว่าจะนำสัตว์พวกนี้ไปปล่อยป่าได้ แต่ละตัวต้องใช้เงินจำนวนมาก เพราะสัตว์บางตัวต้องใช้เวลานานถึงจะสามารถ ปล่อยได้หากมีความพร้อมแล้ว ส่วนสัตว์แปลกที่ไม่ใช่แต่สัตว์หน้าตาน่า รัก เช่น งู แมงป่อง แมงมุม แมลง กิ้งก่า เจ้าหน้าที่ ยืนยันว่า ไม่สามารถปล่อยเข้าป่าของไทยได้ เพราะสัตว์พวกนี้จะกลายเป็น เอเลี่ยน สปีชี ส์ ที่จะทำลายระบบนิเวศ
ปัจจุบันมีหน่วยเพาะเลี้ยงสัตว์ในประเทศ ไทยหลายแห่ง ที่มีสัตว์พวกนี้อยู่ในการดูแล โดยภารกิจของหน่วยงานที่รับผิดชอบ จะต้องทำ การปฐมพยาบาลสัตว์พวกนี้ หาพื้นที่ๆ เหมาะสมกับสายพันธ์ุ และคอยหาอาหารให้จนกว่าคดีจะตัดสินให้ส่งสัตว์พวกนี้ กลับคืนประเทศเดิม หรือบางคดีอาจยืดเยื้อก็ต้องเลี้ยงไปจนมันสิ้นอายุขัย
ลิงมาโมเสท (ภาพประกอบจาก วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี)
แม้ สัตว์แปลกจะมีความน่ารัก และเสริมภาพลักษณ์ของเจ้าของ แต่สิ่งที่ทุกฝ่ายเห็นตรงกันก็คือ ถ้าไม่ได้รัก และสามารถใส่ใจได้อย่างจริง จัง ก็ไม่ควรเลี้ยงสัตว์เหล่านี้ หากต้องการเลี้ยงจริงต้องศึกษาข้อมูลมาก เพราะสัตว์เหล่านี้มีลักษณะพิเศษต่างจากสัตว์เลี้ยงทั่วไป ต้องการอาหาร พิเศษ ต้องการที่นอนพิเศษ ต้องการความเอาใจใส่เป็นพิเศษ ซึ่งหากไม่สามารถทำ ตามได้ ก็ไม่ควรมีไว้ในครอบครอง คุณทำใจกับเรื่องเหล่านี้ไม่ได้ตั้งแต่แรก นั่นเป็นสัญญาณว่าคุณไม่เหมาะกับ การมีเค้าไว้ในครอบครอง
สำหรับ คนที่มั่นใจว่า มีคุณสมบัติเหมาะสมที่จะเลี้ยงสัตว์แปลกพวกนี้ “ไทยรัฐออนไลน์” ได้รวบรวมราคาสัตว์ที่ได้รับความนิยมมาฝาก (สำรวจจากเว็บไซต์ และร้านขาย สัตว์ที่สวนจตุจักร)
Small spotted Genet นำเข้าจากแอฟริกา
เต่าเสือดาว
เต่าเสือดาว 250,000 บาท
เฟนเนค ฟ็อกซ์ 60,000 บาท
ลิงมาโมเสท ตัวผู้ 30,000 บาท ตัวเมีย 35,000 บาท
เมียร์แคท 30,000 บาท
ชูกาไกลเดอร์ ตัวผู้ 800 บาท ตัวเมีย 900 บาท
ชูก้าไกลเดอร์เผือก 25,000 บาท
ชินชิล่า เพาะในไทย 13,000 บาท
พอสซั่ม 7,500 บาท
แพร์รี่ด็อก 5,500 บาท โดยประมาณ
Small spotted Genet นำเข้าจากแอฟริกา โฆษณาว่าคล้ายแมว ราคา 19,500 บาท
คุณเป็นคนมีน้ำใจ ขอบคุณที่กด Like.ให้ครับ
Source : thairath