โรคปากนกกระจอก

โรคปากนกกระจอก หรือแผลที่มุมปาก (Angular stomatitis or angular cheilitis) เป็นโรคแผลที่มุมปากที่พบได้บ่อย ส่วนใหญ่เข้าใจว่าเกิดจากการขาดวิตามินบี 2 (Riboflavin)

ลักษณะอาการที่พบ คือ จะมีการหลุดลอกของเซลล์หนังกำพร้าบริเวณมุมปาก แล้วต่อมาเกิดเป็นแผล และอาจติดเชื้อแบดทีเรียแทรกซ้อน อักเสบ ปวดเจ็บได้

สาเหตุของโรคปากนกกระจอก แบ่งได้ดังนี้

- ปัญหาของโรคผิวหนังเอง เช่น Atopic dermatitis (ผิวหนังอักเสบแพ้ จากภูมิแพ้ ในเด็ก) Seborrheic dermatitis ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคปากนกกระจอกที่พบได้บ่อยที่สุด 
- ผู้ป่วยสูงอายุที่ไม่มีฟัน ทำให้รูปปากผิดปกติ ทำให้เกิดการอับชื้นที่มุมปาก เกิดการติดเชื้อจากเชื้อราได้ 
- การขาดอาหาร ได้แก่ การขาดวิตามินบี 2 การขาดธาตุเหล็ก การขาดวิตามินซี และการขาดโปรตีน (พบได้น้อย) 
- การติดเชื้อแทรกซ้อน จากเชื้อแบคทีเรีย 
- ภาวะน้ำลายมากกว่าปกติ (hypersalivation)

แนวทางการป้องกันและรักษา

- หาสาเหตุที่แท้จริงที่ทำให้เกิดโรคปากนกกระจอก แล้วรักษาที่สาเหตุ อาการดังกล่าวจะหายได้ 
- ทำความสะอาดช่องปาก เช็ดมุมปากให้แห้งตลอดเวลา 
- กรณีที่ไม่ได้ใส่ฟัน ควรไปพบทันตแพทย์เพื่อแก้ไขปัญหา 
- การใช้ยาป้ายแผลในปาก เช่น kenalog in oral base ได้ผลดีในแง่แผลที่เกิดจากภาวะอักเสบจากภูมิแพ้

ดังนั้น กรณีที่เป็นปากนกกระจอก ไม่จำเป็นว่าต้องเป็นโรคขาดอาหารเสมอไป ควรมองหาสาเหตุข้างต้นด้วย เพื่อจะได้รักษาได้ตรงสาเหตุค่ะ



ปากนกกระจอก (มุมปากเปื่อย)

1. ระวังความสะอาดบริเวณมุมปาก อย่าให้เปียกแฉะด้วยน้ำลาย, อาจใช้ขี้ผึ้งหรือวาสลินทา. 
2. กินวิตามินบี 2 หรือ บีรวม 1 - 2 เม็ด วันละ 3 - 4 ครั้ง.

3. ถ้าไม่ดีขึ้นใน 1-2 สัปดาห์ ควรไปหาหมอ.

Credit: http://www.goosiam.com/Health/html/0008770.html
26 ก.ย. 56 เวลา 12:50 7,530 30
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...