'โรคเบาหวาน' ไม่หวานอย่างที่คิด
ปัจจุบันเราพบว่า ผู้คนเป็นโรคเบาหวานกันมากขึ้นในช่วงอายุที่น้อยลง โรคเบาหวานเป็นโรคที่คุกคามต่อสุขภาพและชีวิต ทั้งยังต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาสูง เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่ไม่ใช่แค่เพียงแต่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่า ปกติ หรือมีน้ำตาลในปัสสาวะเท่านั้น แต่เป็นโรคที่สามารถทำให้เกิดความเสื่อมของอวัยวะต่างๆ ในร่างกาย ซึ่งจะนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อนอันมีผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตอย่างมาก
ภาวะแทรกซ้อนสำคัญของโรคเบาหวาน
1. หลอดเลือด : โรคเบาหวานมีความสัมพันธ์กับโรคหัวใจและหลอดเลือดเป็นอย่างมาก เพราะโรคเบาหวานจะทำให้เกิดความเสื่อมของหลอดเลือดแดงทั่วร่างกาย นำไปสู่โรคหลอดเลือดหัวใจ หลอดเลือดสมอง หลอดเลือดที่ขาและเท้า หากมีภาวะไขมันในเลือดสูงร่วมด้วย จะเป็นปัจจัยเสี่ยงทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้เร็วและรุนแรงยิ่งขึ้น
2. ระบบประสาท : เป็น โรคที่พบได้บ่อยที่สุด จะมีการทำลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน-ขา โดยมีอาการชาบริเวณปลายเท้า ปลายมือ แสบร้อนบริเวณปลายเท้า ปวดเหมือนมีเข็มแทง เวลาสัมผัสอาจทำให้เกิดอาการปวด และหมดความรู้สึกทางเพศ
3. ตา : มี ความผิดปกติของเส้นเลือดที่มาเลี้ยงจอประสาทตา อาจเป็นต้อกระจกก่อนวัยอันควร ประสาทตา หรือจอตาเสื่อม ตามัวลงเรื่อยๆ และมีความเสี่ยงที่อาจทำให้ตาบอดในที่สุด
4. ไต : ตัวบวม และมีความดันโลหิตสูง
5. ติดเชื้อง่าย : เนื่องจากภูมิต้านทานต่ำ หากเกิดแผลติดเชื้อ จะหายได้ยากมาก
ข้อควรปฏิบัติเพื่อลดภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน
1. ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
2. ควบคุมอาหารจำพวกแป้งและน้ำตาล รับประทานผัก ผลไม้ที่ไม่หวานให้มากขึ้น
3. ควบคุมระดับไขมันในเลือดสูงให้กลับสู่ภาวะปกติ
4. ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
5. รับประทานยารักษาโรคเบาหวานสม่ำเสมอ
ปัจจุบัน โรคเบาหวานยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แม้ว่าการพัฒนายาสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานจะมีการพัฒนาไปมาก แต่ผู้ป่วยเองก็ต้องใส่ใจในการดูแลตัวเอง โดยต้องควบคุมระดับน้ำตาลให้ได้ เพื่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนน้อยลงและช้าที่สุด
ทาง การแพทย์พบว่า ในร่างกายผู้ป่วยโรคเบาหวาน จะเกิดอนุมูลอิสระปริมาณมากผิดปกติ เกินกว่าความสามารถของร่างกายที่จะกำจัดได้ เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนและการเสื่อมของอวัยวะต่างๆ เร็วขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน จึงควรได้รับวิตามิน แร่ธาตุและสารอาหารอย่างเหมาะสม เพื่อช่วยป้องกัน หรือลดภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน
1. กรดไลโปอิก วันละ 300-600 มิลลิกรัม
2. วิตามิน ซี วันละ 2,000 มิลลิกรัม
3. วิตามิน อี วันละ 900 ยูนิตสากล
4. โครเมียม วันละ 200-400 ไมโครกรัม
5. โคเอนไซม์ คิวเทน วันละ 200 มิลลิกรัม
6. วิตามิน บี6 วันละ 150 มิลลิกรัม
7. ไบโอติน วันละ 9 มิลลิกรัม
คุณเป็นคนมีน้ำใจ ขอบคุณที่กด Like.ให้ครับ
ภาพ/ข้อมูล : ภก.ภัทรพงษ์ แก้วเภตรา ผู้เชี่ยวชาญจาก เมก้า วีแคร์