สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 19 กันยายน ระบุว่า มีการเกิดหลุมยุบราว 3 พันหลุมที่บริเวณทะเลสาบ "เดดซี" ฝั่งของอิสราเอล ประเมินว่าเพิ่มขึ้นเฉลี่ยราว 1 หลุมต่อวัน แตกต่างอย่างลิบลับจากเมื่อปี 1990 ซึ่งเคยมีเพียงแค่ 40 จุด
โดยหลุมแรกเกิดขึ้นเมื่อปี 1980 โดยทะเลสาบเดดซี กำลังเผชิญกำลังภาวะแห้งแล้งจัดโดยหลุมยุบเหล่านี้จะกว้างเฉลี่ย 1 เมตร และมีสภาพคล้ายชามที่ทำให้เกิดพื้นที่ว่างใต้พื้นผิวทะเลทราบที่เกิดการบีบตัวซึ่งเกิดจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำจืดและเกลือที่ฝังอยู่ในระดับใต้พื้นดิน โดยเมื่อน้ำจืดดูดเกลือ จะทำให้เกิดพื้นที่ว่าง และทำให้พื้นที่โดยรอบนั้นทรุดตัวอย่างทันที
ขณะที่ธนาคารโลกเคยเสนอทางออกที่จะแก้ไขปัญหานี้ คือ สร้างคลองเชื่อมกับทะเลสาบเดดซี กับทะเลสาบเรดซี ขึ้น แต่นักสิ่งแวดล้อมแย้งว่า มันจะทำลายสภาพของทะเลสาบเดดซี ทั้งหมด ทั้งนี้ สำหรับทะเลสาบ "เดดซี" กินพื้นที่ยาวกว่า 30 ไมล์จากอิสราเอล ไปยังเขตเวสต์แบงก์ และจอร์แดน