ป่าดูนลำพัน มีอะไรน่าดูบ้าง

 

 

 

 

 

ปูทูลกระหม่อมหรือเดิมที่ชาวบ้านเรียกกันว่า “ปูแป้ง” เป็นปูน้ำจืดที่มีสีสันสวยงามพบทั่วไปในป่าดูนลำพันบริเวณรอบๆหนองดูน ปูทูลกระหม่อมไดีรับการตรวจสอบทางวิชาการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2536 โดยศาสตราจารย์ไพบูลย์ นัยเนตร ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับผู้เชี่ยวชาญจากพิพิธภัณฑ์ประวัติศาสตร์ทางธรรมชาติ ( National Museum of Natural History, Leiden, The Netherlands) ประเทศเนเธอร์แลนด์ พบว่าเป็นปูน้ำจืดชนิดใหม่ของโลกอยู่ในกลุ่มปูป่า มีสีสันสวยงาม กระดองสีม่วงเปลือกมังคุด ขอบเบ้าตา ขอบกระดอง ขาเดินทั้ง 4 คู่และก้ามหนีบทั้ง 2 ข้าง มีสีเหลืองส้ม ปลายขาข้อสุดท้ายและปลายก้ามหนีบมีสีขาวงาช้าง การค้นพบปูทูลกระหม่อมได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร “Crustaceana” ซึ่งเป็นวารสารชั้นนำของโลกเกี่ยวกับอนุกรมวิธานของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง จำพวกกุ้ง กั้ง ปู ฉบับ 65 (1) ค.ศ. 1993


ที่มาของชื่อ “ปูทูลกระหม่อม” สืบเนื่องมาจากในปี พ.ศ. 2536 เป็นปีที่สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ทรงเจริญพระชนมายุครบ 3 รอบ ในฐานะที่พระองค์ทรงเป็นผู้นำและมีพระปรีชาสามารถในงานด้านวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจึงได้กราบทูลขอพระราชทานพระอนุญาต อัญเชิญพระนามของพระองค์มาเป็นนามของปูน้ำจืดชนิดนี้และได้รับพระราช ทานอนุญาตให้เรียกชื่อปูชนิดนี้ว่า “ปูทูลกระหม่อม” โดยมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า “Thaipotamon chulabhorn” เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่วงการด้านอนุกรมวิธานด้านปูของไทยซึ่งถือเป็น เกียรติประวัติของประเทศไทยที่มีปูซึ่งมีความสวยงามชนิดใหม่และพบเพียงแห่งเดียวที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพันเท่านั้น ดังนั้นปูทูลกระหม่อม (Thaipotamon chulabhorn Naiyanetr, 1993) จึงได้ถูกกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ลำดับที่ 14 ของสัตว์ป่าจำพวกไม่มีกระดูกสันหลังในกฎกระทรวงฉบับที่ 11 (พ.ศ. 2543) เพิ่มเติมจากบัญชีสัตว์ป่าคุ้มครองท้ายกระทรวงฉบับที่ 4 (พ.ศ. 2537 ) เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2543 ในประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 117 ตอนที่ 3 วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2543

ลักษณะนิเวศวิทยาทั่วไปของปูทูลกระหม่อม

            ปู ทูลกระหม่อมเป็นสัตว์ถิ่นเดียวจัดอยู่ในกลุ่มป่า พบที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน มีความกว้างของกระดองเฉลี่ยประมาณ 3.5 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 20-35 กรัม ปูทูลกระหม่อมเพศผู้และเพศเมียจะต่างกันที่ลักษณะของส่วนท้อง (ตะปิ้ง)   โดยเพศผู้จะมีลักษณะของตะปิ้งเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้าย ปิรามิด เพศเมียตะปิ้งจะเป็นรูปกลมมน และยังมีสุนัขจิ้งจอก อีเห็นและสัตว์อีกหลายชนิด แต่สัตว์อย่างสุนัขจิ้งจอกและอีเห้นได้สูญพันธุ์ไปแล้วในป่าแห่งนี้ น่าเสียดายนะครับ ที่สัตว์ป่าเหล่านี่ถูกคุกคาม ไปจากพื้นป่า ก็เหลือแต่เจ้าปูนี่ล่ะครบที่ยังอยู่

 

ป่าดูนลำพัน ตั้งอยู่ที่บ้านนาเชือก หมู่ที่ 1 ตำบลนาเชือก อำเภอนาเชือก จังหวัดมหาสารคาม อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอนาเชือกไปทางทิศใต้ ประมาณ 3 กิโลเมตร

 

 

 

 

 

 

 
Credit: http://board.postjung.com/707969.html
21 ก.ย. 56 เวลา 08:03 1,889 100
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...