KLM Royal Dutch Airlines
Pan America World Airlines
วันที่ : 27 มีนาคม 1977
สายการบิน : KLM Royal Dutch Airlines / Pan American World Airlines
เที่ยวบิน : KL4805 / PA1736
เครื่องบิน : Boeing 747-121 (Pan Am) / Boeing 747-206B (KLM)
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยาน Los Rodeos บนเกาะ Tenerife ในหมู่เกาะคานารี นอกชายฝั่งโมร็อกโก
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ชนประสานงากันบนรันเวย์ขณะทำการบินขึ้น,ความผิดพลาดของนักบิน (KLM), ความผิดพลาดของหอบังคับการบินในเรื่องความกำกวมของภาษา
จำนวนผู้เสียชีวิต : 248 / 335 (รวม 583 คน)
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 / 61 (คนบนเครื่อง Pan Am)
โดยจุดเริ่มต้นของอุบัติเหตุครั้งนี่เกิดจากการก่อวินาศกรรมที่สนามบิน Las Pamas ทำให้เที่ยวบินทุกเที่ยวบินที่จะไปลงที่นั้นโดนย้ายให้ไปลงที่เทนเนอรีฟแทน หลังจากนั้นเที่ยวบินที่จะไปยัง Las Pamas ก็ต้องรอจนสนามบินเปิดถึงค่อยไป ตอนนั้นเรื่องการตรงต่อเวลาของสายการบินค่อนข้างเคร่งครัดมาก ทำให้นักบินของ KLM เกิดความเครียด บวกกับสภาพอากาศที่แย่ลง ทำให้นักบิน KLM กังวลว่าจะไปไม่ทันเวลาเพราะเวลานั้น ถ้าไปไม่ทันเวลานักบินจะถูกเพิกถอนใบอนุญาติทำการบิน ก็จะเหมือนเป็นการตกงานไปโดยปริยาย และนัหลังจากนั้นนักบินก็นำเครื่องขึ้นโดยที่หอยังไม่ได้อนุญาติให้ขึ้น ซึ่งต่อมาก็ไปชนกับเครื่องของ Pan Am ที่ตามหลังมาบนรันเวย์
Japan Airlines (Boeing 747-SR46)
วันที่ : 12 สิงหาคม 1985
สายการบิน : Japan Airlines
เที่ยวบิน : JL123
เครื่องบิน : Boeing 747-SR46
สถานที่เกิดเหตุ : ภูเขาโอสุทากะ จังหวัดกุมมะ ญี่ปุ่น
สาเหตุของอุบัติเหตุ : vertical stabilizer หลุดออกจากตัวเครื่อง (เหตุจากความผิดพลาดในการซ่อมบำรุง) และเสียการควบคุม
จำนวนผู้เสียชีวิต : 520
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 4
Saudi Arabian Airlines / Air Kazakhstan
วันที่ : 12 พฤศจิกายน 1996
สายการบิน : Saudi Arabian Airlines / Air Kazakhstan
เที่ยวบิน : SV763 / 9Y1907
เครื่องบิน : Boeing 747-100 (Saudi) / Ilyushin II-76 (Kazakhstan)
สถานที่เกิดเหตุ : เมือง Charkhi Dahdri รัฐหรยาณา อินเดีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ชนกันกลางอากาศ, ความผิดพลาดของนักบิน (Air Kazakhstan), การสื่อสารแย่, ทัศนวิสัยแย่, ระบบเรด้าของสนามบินที่ล้าสมัย, เครื่องบินทั้ง 2 ลำไม่มีระบบ TCAS
จำนวนผู้เสียชีวิต : 312 / 37 (รวม 349 คน)
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0 / 0
Turkish Airlines
วันที่ : 3 มีนาคม 1974
สายการบิน : Turkish Airlines
เที่ยวบิน : TK981
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-10-10
สถานที่เกิดเหตุ : เมืองแอมเมอนงวิลล์ ฝรั่งเศส
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ประตูห้องสัมภาระเปิดออกขณะบิน ทำให้ความดันอากาศในห้องโดยสารลดลง และเสียการทรงตัว (ความผิดพลาดตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบเครื่องบิน)
จำนวนผู้เสียชีวิต : 346
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0
Saudi Arabian Airlines
วันที่ : 19 สิงหาคม 1980
สายการบิน : Saudi Arabian Airlines
เที่ยวบิน : SV163
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยาน King Khalid International Airport กรุงริยาดห์ ซาอุดิอาระเบีย
เครื่องบิน : Lockheed L1011-200 Tristar
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เกิดไฟไหม้ขณะกำลังบินขึ้น หลังจากลงจอดฉุกเฉินแล้วประตูเครื่องขัดข้องไม่สามารถเปิดได้ คนบนเครื่องเสียชีวิตเพราะถูกรมควันหรือไฟคลอก, ลูกเรือขาดการฝึกเรื่องอพยพผู้โดยสารหนีจากไฟไหม้, ความผิดพลาดของนักบิน
จำนวนผู้เสียชีวิต : 301
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0
Iran Air (Airbus A300B2-203)
วันที่ : 3 กรกฎาคม 1988
สายการบิน : Iran Air
เที่ยวบิน : 655
เครื่องบิน : Airbus A300B2-203
สถานที่เกิดเหตุ : อ่าวเปอร์เซียร์
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ถูกยิงโดย missile จากเรือรบ USS Vincennes (ที่ประจำการในสงครามอ่าวเปอร์เซียร์จำนวนผู้เสียชีวิต : 290
จำนวนผู้เสียชีวิต : 290 คน
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0
อิหร่านแอร์ เที่ยวบินที่ 655 หรือรู้จักกันในชื่อ IR655 เป็นเที่ยวบินพลเรือนของอิหร่านแอร์ เครื่องแอร์บัส A300 B2-203 ทะเบียน EP-IBU จากท่าอากาศยานนานาชาติเมห์ราบัด เตหะราน อิหร่าน แวะพักที่ท่าอากาศยานนานาชาติบันดาร์ อับบาส อิหร่าน ก่อนจะมุ่งหน้าสู่ท่าอากาศยานนานาชาติดูไบ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 มีผู้โดยสาร 275 คน ลูกเรือ 15 คน ถูกยิงตกด้วยมิสไซล์ของกองทัพเรือสหรัฐ จากเรือลาดตระเวน USS Vincennes (CG-49) ในอ่าวเปอร์เซีย ระหว่างเมืองบันดาร์ อับบาส กับดูไบ ผู้โดยสารและลูกเรือเสียชีวิตทั้งลำ
ทางการสหรัฐแถลงว่า เกิดจากความผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ควบคุมระบบเตือนภัย AEGIS ที่ระบุเครื่องบินพาณิชย์ที่กำลังไต่ระดับขึ้น ผิดพลาดเป็นเครื่องบิน เอฟ-14 ทอมแคทของอิหร่านกำลังลดระดับลงเพื่อเตรียมโจมตี เจ้าหน้าทื่ได้ส่งสัญญาณวิทยุเตือนนักบินของอิหร่านแอร์ ด้วยความถี่ฉุกเฉินทางทหารจำนวน 7 ครั้ง ความถี่ฉุกเฉินพลเรือนจำนวน 3 ครั้ง แต่ไม่ได้รับการตอบสนองใดๆ [1] (เนื่องจากนักบินเข้าใจว่า คำเตือนนั้นหมายถึงเครืองบินลาดตระเวน พี-3 ของอิหร่าน ที่บินอยู่ในบริเวณนั้นเป็นประจำ)
American Airlines
วันที่ : 25 พฤษภาคม 1979
สายการบิน : American Airlines
เที่ยวบิน : AA191
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-10
สถานที่เกิดเหตุ : ท่าอากาศยาน O'Hare ชิคาโก สหรัฐอเมริกา
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เครื่องยนต์หลุดออกจากปีกขณะบินขึ้น (ความผิดพลาดจากฝ่ายซ่อมบำรุง) เครื่องเสียหลักและตกใส่ชุมชนบ้านรถพ่วง
จำนวนผู้เสียชีวิต : 273 (รวม 2 คนบนพื้นดิน)
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 2
American Airlines (Airbus A300-600)
วันที่ : 12 พฤษภาคม 2001
สายการบิน : American Airlines
เที่ยวบิน : AA587
เครื่องบิน : Airbus A300-600
สถานที่เกิดเหตุ : Belle Harbor นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา
สาเหตุของอุบัติเหตุ : vertical stabilizer หลุดออกจากตัวเครื่อง (ความผิดพลาดของนักบินในการตอบสนองต่อ turbulence) เครื่องบินตกบนย่านพักอาศัย บ้านเรือนเสียหายหลายหลัง
จำนวนผู้เสียชีวิต : 265 (รวมผู้เสียชีวิตบนพื้นดิน 5 คน)
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 1
China Airlines (Airbus A300B4-622R)
วันที่ : 26 เมษายน 1994
สายการบิน : China Airlines
เที่ยวบิน : CI140
เครื่องบิน : Airbus A300B4-622R
สถานที่เกิดเหตุ : เมืองนาโกยา จังหวัดไอจิ ญี่ปุ่น
สาเหตุของอุบัติเหตุ : ลูกเรือบังคับเครื่องผิดพลาดขณะกำลังร่อนลง เครื่องเสียระดับและหยุดกลางคัน
จำนวนผู้เสียชีวิต : 264
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 7
Nigeria Airways
วันที่ : 11 กรกฎาคม 1991
สายการบิน : Nigeria Airways
เที่ยวบิน : 2120
เครื่องบิน : McDonnell Douglas DC-8-61
สถานที่เกิดเหตุ : กรุงเจดดาห์ ซาอุดิอาระเบีย
สาเหตุของอุบัติเหตุ : เกิดไฟไหม้ลามเข้าไปใน hydraulic line หลังจากออกบินไม่นาน (Mechanical Failure) เครื่องเสียการควบคุมระดับความสูง
จำนวนผู้เสียชีวิต : 261
จำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บ : 0