สู่ความเวิ้งว้าง! ยาน'วอยเอเจอร์1'ออกจากระบบสุริยะแล้ว (คลิป)

 

 

 

สู่ความเวิ้งว้าง! ยาน'วอยเอเจอร์1'ออกจากระบบสุริยะแล้ว

 

 

ยานสำรวจอวกาศ ‘วอยเอเจอร์ 1′ เดินทางออกจากระบบสุริยะจักรวาลไปแล้ว หลังจากถูกส่งจากโลกภายใต้โครงการชื่อเดียวกัน เพื่อไปทำภารกิจในอวกาศเมื่อราว 36 ปีก่อน…

สำนักข่าวต่างประเทศ รายงานเมื่อวันที่ 13 ก.ย. อ้างรายงานของสำนักงานบริหารารบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐฯ (นาซา) ว่า ยานสำรวจอวกาศ ‘วอยเอเจอร์ 1′ เดินทางออกจากระบบสุริยะจักรวาลไปสู่มวลสารระหว่างดวงดาว (Interstellar Medium) ในอวกาศอันเวิ้งว้างแล้ว หลังจากถูกส่งออกไปปฏิบัติภารกิจเมื่อราว 36 ปีก่อน ถือเป็นครั้งแรกที่วัตถุที่มนุษย์สร้างเดินทางหลุดออกจากชั้นเฮลิโอสเฟียร์ หรือฟองที่แบ่งแยกระบบสุริยะออกจากส่วนที่เหลือในจักรวาล

เอ็ด สโตน หัวหน้านักวิทยาศาสตร์ผู้ดูแลภารกิจ วอยเอเจอร์ กล่าวว่า อุปกรณ์ตรวจวัดค่าพลาสมาซึ่งติดตั้งบนวอยเอเจอร์ 1 พังเสียหายไปตั้งแต่ช่วงทศวรษที่ 1980 แต่นักวิทยาศาสตร์ตรวจพบคลื่นในพลาสมา จึงใช้สิ่งนี้ในการหาค่าความหนาแน่นแทน โดยแรงสั่นสะเทือนของพลาสมาดังกล่าว เกิดจากการระเบิดของลมสุริยะและสนามแม่เหล็กของดวงอาทิตย์ในปี 2012 ส่งผลให้เกิดสิ่งที่สโนเรียกว่า สึนามิพายุสุริยะ และส่งแรงสั่นไปถึงวอยเอเจอร์ 1 ในเดือนเม.ย. 2013

ผลการตรวจวัดใน ช่วงวันที่ 9 เม.ย.ถึง 22 พ.ค. ปีนี้ แสดงให้เห็นว่า จุดที่วอยเอเจอร์อยู่ (ณ ตอนนั้น) มีความหนาแน่นของอิเล็กตรอนประมาณ 0.08 ต่อลบ.ซม. ใกล้เคียงกับระดับความหนาแน่นของอิเล็กตรอนในพื้นที่มวลสารระหว่างดวงดาว ซึ่งอยู่ที่ประมาณ 0.05-0.22 ต่อลบ.ซม.

 

 

นัก วิทยาศาสตร์ยังใช้การตรวจวัดอีกหลายวิธี เพื่อหาว่ายานวอยเอเจอร์ 1 เคลื่อนตัวไปถึงพื้นที่มวลสารระหว่างดวงดาวแล้วหรือยัง โดยจากหลักฐานจากข้อมูลอนุภาคในเดือนก.ค.และต้นเดือนส.ค. 2012 แสดงให้นักวิทยาศาสตร์เห็นการลดลงของความเข้มข้นของอนุภาค ซึ่งปกติเกิดขึ้นในระบบสุริยะ และพบอนุภาคเพิ่มขึ้นของความหนาแน่นของอนุภาค ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อออกจากระบบสุริยะ

ขณะเดียวกัน การวัดค่าสนามแม่เหล็กกลับให้ผลตรงกันข้าม โดยนักวิทยาศาสตร์ไม่พบการเปลี่ยนแปลงอย่างสิ้นเชิงของสนามแม่เหล็กรอบยานวอ ยอเจอร์ อย่างที่ควรจะเป็นหากออกจากเฮลิโอสเฟียร์ อย่างไรก็ตาม มาร์ค สวิสดัค นักวิทยาศาสตรแห่งสมาคมนักวิจัยแห่งสถาบันเพื่อการวิจัยอิเล็กตรอนและ ฟิสิกส์ประยุค ของมหาวิทยาลัยแมรีแลนด์ เผยผลการวิจัยล่าสุดว่า การตรวจวัดระดับอนุภาค มีความน่าเชื่อถือกว่าการวัดสนามแม่เหล็ก ซึ่งอาจมีการเปลี่ยนแปลงไม่มากเท่าที่มนุษย์คิด

สวิสดัคเผยอีกว่า การอธิบายที่เป็นไปได้อย่างหนึ่งคือ หากเปรียบเฮลิโอสเฟียร์เป็นห้องติดเครื่องปรับอากาศ วอยเอเจอร์ได้เปิดประตูออกสู่ห้องร้อนๆแล้วเมื่อวันที่ 27 ก.ค. และอยู่ในพื้นที่ห้องที่อากาศเย็นและร้อผสมปนเปกันนานราว 1 เดือน ก่อนจะเข้าสู่ห้องร้อนจริงๆในวันที่ 25 ส.ค.ที่ผ่านมา

ทั้งนี้ สโตนระบุว่า วอยอเจอร์ 1 ในตอนนี้เข้าสู่ภารกิจใหม่อย่างเต็มตัว และนี่ถือเป็นภารกิจสำรวจมวลสารระหว่างดวงดาวครั้งแรก “เราจะมองมาและเรียนรู้ว่า ลมอนุภาคซึ่งเกิดจากดาวภายนอกระบบสุริยะจะส่งผลต่อเฮลิโอสเฟียร์อย่างไร”

อนึ่ง โครงการ วอยเอเจอร์ เริ่มต้นขึ้นในปี 1977 เป็นการส่งยานคู่แฝด วอยเอเจอร์ 1 และ 2 ออกสู่อวกาศโดยทั้งระยะห่างการปล่อย 16 วัน และในวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นาซาเปิดเผยว่าตอนนี้ วอยเอเจอร์ 1 อยู่ห่างจากโลกราว 1.88 หมื่นล้านกิโลเมตร ขณะที่ วอยเอเจอร์ 2 อยู่ห่างจากโลกประมาณ 1.53 หมื่นล้านกิโลเมตร และดูเหมือนว่าจะออกจากระบบสุริยะจักรวาลตามพี่ของมันในอีก 3-4 ปีข้างหน้า

 

คุณเป็นคนมีน้ำใจ ขอบคุณที่กด Like.ให้ครับ

Source : kapook

Credit: http://fanthai.com/
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...