น้ำท่วมอุโมงค์...รถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่

 

 

 

 

กว่ารถไฟฟ้าใต้ดินจะเปิดให้บริการแก่ประชาชนทั่วไปได้นั้น ต้องใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างนานพอสมควร เคยนึกสงสัยไหมว่าเมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วมขึ้น น้ำจะไหลลงไปในอุโมงค์ของรถไฟฟ้าใต้ดินได้หรือไม่

คุณนรชัย เยาวขันธ์ ผู้จัดการหมวดงานควบคุมการเดินรถ บริษัทรถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน) อธิบายว่า เป็นเรื่องปกติของคนกรุงเทพฯ ซึ่งมักจะเป็นกังวลเรื่องน้ำท่วม เพราะในอดีตกรุงเทพฯ มักจะประสบกับปัญหาน้ำท่วมบ่อยครั้ง ในการก่อสร้างรถไฟฟ้าใต้ดินมี 2 เรื่องที่จะต้องคำนึงถึงอย่างมาก เรื่องแรกคือการออกแบบ ซึ่งวิศวกรจะต้องคำนึงว่าจุดที่น้ำสามารถเข้าไปได้นั้นมีอยู่ 3จุด จุดแรกคือ ทางเข้าทาง-ออกสถานี จุดที่ 2 คือ อาคาระบายอากาศ และ จุดที่ 3 คือ จุดที่รถไฟฟ้าใช้ในการขึ้นลงเพื่อซ่อมบำรุง ทั้ง 3 จุดนี้จะก่อสร้างโดยยกทางเข้า-ออกให้สูงเท่ากับระดับที่น้ำเคยท่วมสูงที่สุดเฉลี่ย 200 ปี

เพราะฉะนั้นส่วนนี้ก็จะเป็นการป้องกันน้ำท่วมได้ในระดับหนึ่ง นอกจากนั้นยังมีแผ่นเหล็กที่ใช้กั้น เมื่อเกิดเหตุการณ์น้ำท่วม ซึ่งจะใช้แผ่นเหล็กสูงประมาณ 1 เมตร ในกรณีที่จะเข้าไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินบริเวณทางเข้า-ออก หรืออาคารระบายอากาศนั้นเป็นไปได้ยาก เพราะน้ำต้องท่วมสูงมากๆ จึงจะสามารถเข้าไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดินได้ โดยปกติในส่วนของอุโมงค์ก็มียางกันซึมเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำซึมเข้าไปในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน เพราะน้ำสามารถซึมเข้าทางด้านรอยต่อของ concrete segment ได้ ถ้ามีน้ำซึมเข้ามาในอุโมงค์รถไฟฟ้าใต้ดิน ก็จะมีเครื่องสูบน้ำที่ติดตั้งไว้เป็นระยะตลอดความยาวของอุโมงค์ และที่สถานีต่างๆ จะสูบน้ำทิ้งลงที่จุดระบายน้ำของกรุงเทพฯ


TIPS ทุกแห่งของสถานีรถไฟฟ้าใต้ดินจะมีอาคารแท่งสูงสี่เหลี่ยมอยู่ ซึ่งอาคารที่ว่าคืออาคารระบายอากาศของอุโมงค์และสถานี รวมทั้งทำหน้าที่เป็นทางออกฉุกเฉินของผู้โดยสารรถไฟฟ้าใต้ดินสำหรับขึ้นสู่ผิวดินได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก :  วิทยาศาสตร์รอบตัว(จาก สสวท.)

 
Credit: http://board.postjung.com/704368.html
9 ก.ย. 56 เวลา 10:25 1,940 90
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...