โรงเรียนราชินี

 

 

 

 

 

โรงเรียนราชินี

 

โรงเรียนราชินี เป็นโรงเรียนเก่าแก่แห่งหนึ่ง ตั้งอยู่เลขที่ 444 ถนนมหาราช แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้ทรงให้กำเนิดโรงเรียนคือ สมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนาถในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2447 ณ ตึกแถวมุมถนนอัษฎางค์และถนนจักรเพชร ต่อมาได้ย้ายไปอยู่ตึกริมแม่น้ำเจ้าพระยาใกล้ปากคลองตลาด และมีการเปิดรับนักเรียนกินนอนขึ้นใน พ.ศ. 2448 และสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ได้ขอพระราชทานย้ายโรงเรียนมาอยู่ ณ ตึกสุนันทาลัย จนถึงปัจจุบัน

 ประวัติ
 
    ตึกสุนันทาลัย เป็นอาคารก่ออิฐฉาบปูน 2 ชั้น ทาสีขาว ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบ Neo Classic ด้านหน้ามีมุขเป็นรูปมงกุฎยื่นออกมา ประดับด้วยลวดลายปูนปั้น ส่วนยอดประดับด้วยปูนปั้นเป็นรูปตราแผ่นดินสมัยรัชกาลที่ 5 มีประตูใหญ่ ออกมาสู่มุขที่เป็นเฉลียงรูปโค้ง ซุ้มประตูทำเป็นรูป โค้งรองรับด้วยเสาโครินเธียน ประดับด้วยตุ๊กตาปั้นตั้งอยู่ในช่อง ส่วนยอดอาคารมีหลังคาโดม ซึ่งต่อมาสูญหายไป สันนิษฐานว่าถูกรื้อไประหว่างการบูรณะอาคาร

ผังตึกสุนันทาลัยเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนานไปกับแม่น้ำเจ้าพระยา โดยด้านหน้าหันออกสู่แม่น้ำ ส่วนด้านหลังหันออกสู่ถนนมหาราช มีมุขยื่นออกมา จึงดูคล้ายรูปกากบาท ทางขึ้นชั้นบนอยู่ภายนอกอาคาร อยู่ตรงกับทางเดินด้านหน้า โครงสร้างเป็นกำแพงรับน้ำหนัก หลังคาทรงปั้นหยา มุงกระเบื้องไม่มีกันสาด มีทางเดินโดยรอบทำหน้าที่เป็นกันสาด ในตัวทางเดินด้านหน้ามีผนังเจาะโค้งรูปครึ่งวงกลม มีช่องแสงรูปครึ่งวงกลมเหนือประตูภายใน ประดับด้วยกระจกสีลวดลายงดงาม

ตึกสุนันทาลัย เป็นอาคารที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเป็นอนุสรณ์สถาน แสดงความอาลัยรักถึงพระมเหสี สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์ พระบรมราชเทวี ซึ่งเสด็จทิวงคตด้วยอุบัติเหตุเรือพระที่นั่งล่ม เมื่อ พ.ศ. 2423 ต่อมาได้พระราชทานให้เป็นที่ตั้งโรงเรียนสตรีสุนันทาลัย เป็นโรงเรียนสตรีแห่งแรกในประเทศไทย เป็นที่ตั้งของโรงเรียนสวนกุหลาบอังกฤษสุนันทาลัย และเป็นที่ตั้งของโรงเรียนราชินีในเวลาต่อมา

ตึกสุนันทาลัย ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นจากสมาคมสถาปนิกสยาม ประจำปี พ.ศ. 2525

เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2548 เกิดเหตุเพลงไหม้ชั้นบนของตึกสุนันทาลัย โครงหลังคาและฝ้าเพดานชั้นสองซึ่งเป็นไม้เสียหายทั้งหมด เนื่องจากความสะเพร่าของผู้รับเหมาซ่อมแซมอาคาร  ราชินีมูลนิธิ ซึ่งเป็นผู้ดูแลอาคาร ได้มีมติที่จะบูรณะตึกสุนันทาลัยให้มีลักษณะใกล้เคียงกับอาคารเดิมตั้งแต่แรกสร้าง โดยการเสริมความแข็งแรงของอาคารเดิม และก่อสร้างหลังคาโดม และดวงโคมบนยอดตึก รวมถึงบันไดโค้งจากด้านข้างของหน้ามุขทอดตัวลงสู่ด้านหน้า สร้างด้วยหินอ่อน ตามแบบดั้งเดิม นอกจากนี้ยังมีการยกตัวอาคารที่ทรุดไปตามกาลเวลาขึ้นอีก1.5เมตร [5]

เพลงประจำโรงเรียน

เพลงประจำโรงเรียนราชินีนั้นมีทั้งหมดจำนวน 3 เพลง คือ เพลงราชินีเป็นที่รัก (ไทยเดิม) เพลงพิกุลแก้ว และ เพลงเทิดพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชินีนาถ

ซึ่งในตอนแรกนั้น เพลงพิกุลแก้วเป็นเพียงบทกลอนซึ่งหม่อมเจ้าพิจิตรจิราภา เทวกุลทรงประพันธ์โดยลายพระหัตถ์ให้นักเรียนซึ่งสำเร็จการศึกษา แต่ต่อมาได้มีการใส่ทำนองเข้าไปแล้วใช้เป็นเพลงประจำโรงเรียน แต่เนื่องจากเป็นลาบพระหัตถ์ซึ่งค่อนข้างอ่านยาก จึงมีการเข้าใจว่าทรงประพันธ์วรรคแรกของบทที่สองว่า "เมื่อถึงคราวชรา" ซึ่งในหนังสือรุ่นหรือบันทึกเนื้อเพลงก็จะเขียนไว้เช่นนั้น แต่เมื่อไม่กี่ปีมานี้มีการตรวจสอบอีกทีจึงทราบว่าทรงประพันธ์ไว้ว่า "แม้ว่าถึงคราวชรา" และสำหรับนักเรียนราชินีแล้วเพลงนี้จะเป็นเพลงที่ผูกพันมากที่สุด

สีประจำโรงเรียน

สีประจำโรงเรียนนั้นคือสีน้ำเงินและสีชมพู ซึ่งสีน้ำเงินนั้นเป็นสีประจำวันพระราชสมภพของสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง และ สีชมพู หมายถึงสีประจำวันพระบรมราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

อักษรย่อ

ตัวอักษรย่อของโรงเรียนราชินีนั้นคือ ส.ผ. ซึ่งมาจากพระนามเดิมของ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระพันปีหลวง คือ "เสาวภาผ่องศรี" ซึ่งจะปักด้วยไหมสีขาวไว้ที่กระเป๋าเสื้อด้านซ้าย(ตรงหัวใจ)ของนักเรียนทุกคน

ดอกไม้ประจำโรงเรียน

ดอกไม้ประจำโรงเรียนราชินีคือดอกพิกุล ซึ่งดอกพิกุลนั้นแม้จะร่วงหล่นจากต้นผิแห้งไปแล้วแต่ยังคงไว้ซึ่งกลิ่นหอม ซึ่งเป็นการสอนนักเรียนราชินีให้ประพฤติตนเองให้ดีดั่งดอกพิกุลไม่ว่าจะแก่ชราก็ขอให้คงความดีเอาไว้

ส่วนที่เรียกว่าพิกุลแก้วนั้น เพราะแต่เดิมโรงเรียนราชินีเป็นโรงเรียนในวังเป็นการเรียกให้สอดคล้องกับสิ่งของที่เกี่ยวข้องกับกษัตริย์ ตัวอย่างเช่น นางของกษัตริย์ก็จะเรียกว่านางแก้ว ช้างของกษัตริย์ก็จะเรียกจะช้างแก้ว

คำปฏิญาณตน

ทุกวันหลังจากสิ้นสุดการเคารพธงชาติแล้วนักเรียนราชินีทุกคนจะกล่าวคำปฏิญาณตนดังนี้

" พวกเราเป็นไทยอยู่ได้จนถึงทุกวันนี้ ก็เพราะเรามีชาติ มีศาสนา พระมหากษัตริย์

ซึ่งบรรพบุรุษของเรา เอาเลือด เอาเนื้อ เอาชีวิต และความลำบากยากเข็ญเข้าแลกไว้

เราต้องสละชีพเพื่อชาติ เราต้องบำรุงศาสนา เราต้องรักษาพระมหากษัตริย์

เรานักเรียนจักต้องประพฤติตน อยู่ในระเบียบวินัยของโรงเรียน มีความซื่อสัตย์ต่อตนเองและผู้อื่น

เรานักเรียนจักต้องไม่ทำตน ให้เป็นที่เดือดร้อนแก่ตนเองและผู้อื่น "

ชีวิตภายในรั้วโรงเรียน

โรงเรียนราชินีมีการศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาลศึกษาปีที่ 2 ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6

ในระดับอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษานั้นจะมีทั้งนักเรียนหญิงและนักเรียนชาย (ซึ่งจะมีนักเรียนประมาณ 10-20 คน ต่อช่วงชั้น ในช่วงชั้นหนึ่งๆจะมีนักเรียนประมาณ 200-300 คน)

ส่วนในระดับมัธยมเปิดสอนเฉพาะนักเรียนหญิงเท่านั้น

ทุกๆปีจะมีการเลือกตั้งประธานนักเรียนเพื่อส่งเสริมระบอบประชาธิปไตย ซึ่งจะแบ่งเป็นสองส่วนคือ ส่วนประถมศึกษา และส่วนมัธยมศึกษา แบ่งเป็นสี่พรรคคือ

พรรคพิกุลแก้วก้าวหน้า พรรคราชินีสร้างสรรค์ พรรคน้ำเงินชมพูพัฒนา พรรคอาสาราชินี

ซึ่งทั้งสองส่วนนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นพรรคเดียวกัน จะมีการจัดการหาเสียงและอภิปรายเสนอนโยบายต่างๆ เพื่อฝึกฝนนักเรียน

นักเรียนผู้ดี ระดับชั้นอนุบาล ครูประจำชั้นจะมอบดาวเด็กดีซึ่งมีเจ็ดสีและเจ็ดความหมายให้กับนักเรียนที่มีคุณสมบัติ [6] ดาวสีแดง เป็นนักเรียนที่มีคุณธรรม จริยธรรม และค่านิยมที่พึงประสงค์ ดาวสีเหลือง เป็นนักเรียนที่มีความสามารถคิดรวบยอด คิดแก้ปัญหา และคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ดาวสีชมพู เป็นนักเรียนที่มีความสนใจใฝ่รู้ รักการอ่าน และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ดาวสีเขียว เป็นนักเรียนที่มีสุขนิสัย สุขภาพกาย และสุขภาพจิตที่ดี ดาวสีแสด เป็นนักเรียนที่มีความรู้ และทักษะพื้นฐานตามพัฒนาการทุกด้าน ดาวสีฟ้า เป็นนักเรียนที่มีความสามารถทำงานจนสำเร็จ ทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ ดาวสีม่วง เป็นนักเรียนที่มีสุนทรียภาพ และลักษณะนิสัยด้านศิลปะ ดนตรี และ การเคลื่อนไหว ระดับชั้นประถมฯ ขึ้นไปจะมีการเลือกโดยเพื่อนนักเรียนและคุณครูถึงนักเรียนที่มีคุณสมบัติตามหัวข้อ เช่น ตรงต่อเวลา ไหว้สวยงาม วาจาไพเราะ

จะมีการมอบเกียรติบัตรกุหลาบแดงให้กับนักเรียนที่มีความประพฤติดี สองคนต่อห้องทุกๆปี โดยสังเกตจากความดีที่ได้บันทึกลงในสมุดความดีเป็นสำคัญ

ยุวกาชาด

โรงเรียนราชินีเป็นโรงเรียนแรกที่ได้จัดการเรียนการสอนวิชายุวกาชาดขึ้น และดำรงมาจนถึงทุกวันนี้ โดยจะเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึงมัธยมศึกษาปีที่ 3 แต่จะมีการสวมเครื่องแบบเมื่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เป็นต้นไป และจะมีการจัดค่าย (จัดครั้งแรกชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ต่อไปก็จะเป็น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3) ซึ่งจะมีการจัดค่ายที่ "ค่ายสุทธสิริโสภา" ตั้งอยู่ที่เขาใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา

โรงเรียนราชินีบน

 

ประวัติ

 

โรงเรียนราชินีบนเดิมมีนามว่า โรงเรียนศรีจิตรสง่า อยู่ในความอุปถัมภ์ของหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล พ.ศ. 2450 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณใน สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พระพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 ให้ดำรงตำแหน่งอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี ด้วยน้ำพระทัยใฝ่ค้นคว้า และพระอุสาหะวิริยะที่จะสร้างความสามารถในการบริหารโรงเรียน เพื่อที่จะได้สามารถรับราชการสนองพระมหากรุณาธิคุณได้ดียิ่งขึ้น จึงได้ทรงเสียพระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดตั้งโรงเรียนสตรีขึ้น ที่ตึกถนนอัษฎางค์ เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2454 เปิดสอนตั้งแต่ชั้นเด็กเล็กจนถึงมัธยมปีที่ 3 ให้ชื่อว่า “ โรงเรียนศรีจิตรสง่า ” ด้วยวิธีร่วมทุน

 

พ.ศ. 2465 โรงเรียนย้ายมาเปิดสอนที่ตึกของพระยามหิบาล ถนนสามเสนแขวงถนนนครไชยศรี เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร บริเวณแยกบางกระบือและโรงไฟฟ้าสามเสน (สถานที่ปัจจุบัน)เมื่อตั้งอยู่ที่นี่ได้ 3 ปี ได้ขยายการสอนสูงขึ้นตามลำดับจนถึงชั้นมัธยมปีที่ 6

 

พ.ศ. 2469 สมเด็จพระราชปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธรทรงพระศรัทธาบริจาคทุนทรัพย์อุดหนุนการศึกษาเป็นจำนวนมากโปรดให้จัดซื้อที่ดิน บ้านพระยามหิบาลจำนวน 2 ไร่ 75 ตารางวา กับขอพระราชทานที่ดินของสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี พระพันวัสสาอัยยิกาเจ้า ตรงริมถนนเขียวไข่กา มาสมทบ ขอพระราชทานพระบรมราชานุญาตพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวถมคูที่คั่นอยู่ตรงกลางนั้นเสีย จึงถมเนื้อที่ติดต่อกันรวม 4 ไร่ 1 งาน 97 ตารางวา โปรดให้กองช่างสุขาภิบาลอำนวยการสร้างสถานที่ศึกษาสำหรับสตรี ณ ที่แห่งนี้ ประทานเครื่องเรือนพร้อมเสร็จ โดยทรงสั่งทำที่โรงเรียนเพาะช่างทรงพระดำริว่านักเรียนชั้นมัธยม 7 และ 8 ของโรงเรียนราชินีที่ถนนมหาราช เป็นชั้นสูง ซึ่งจวนสำเร็จการเรียนอยู่แล้วควรจะให้คุ้นเคยกับสถานที่อันถูกต้องตามแบบสุขาภิบาลบ้าง เมื่อออกไปอยู่บ้านจะได้รู้จักแต่งบ้าน และรักษาสุขาภิบาล และอนามัยเป็นอันดี ทรงปรึกษาหม่อมเจ้าหญิงพิจิตรจิราภา เทวกุล ท่านอาจารย์ใหญ่โรงเรียนราชินี ซึ่งท่านทรงเห็นด้วยและตัดสินพระทัยยุบโรงเรียนศรีจิตสง่า สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงพระกรุณาโปรดให้รับนักเรียนที่เคยเรียนที่โรงเรียนศรีจิตสง่านี้เข้าเรียนต่อไปในโรงเรียนใหม่นี้ จึงเป็นอันว่าโรงเรียนใหม่นี้รับนักเรียนตั้งแต่ชั้นมัธยมปีที่ 3 ขึ้นไป โปรดให้นักเรียนราชินีที่จบชั้นมัธยมปีที่ 6 มาเรียนชั้นมัธยม 7 – 8 ต่อ ณ โรงเรียนราชินีบนนี้ ตั้งแต่ พ.ศ. 2472 เป็นต้นไป สมเด็จพระราชปิตุจฉาเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ประทานนาม โรงเรียนว่า “ โรงเรียนราชินีบน ” เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ ดังแจ้งในแผ่นจารึกหน้าตึกพิจิตรจิราภาว่าสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เป็นองค์แรกที่ทอดพระเนตรเห็นความสำคัญของการศึกษาแห่งสตรี ซึ่งจะเป็นมารดาและบุพพาจารย์สืบต่อไปในภายหน้า ได้ทรงสละพระราชทรัพย์เป็นอเนกประการ เพื่อพระราชทานการศึกษาแก่สตรี เริ่มตั้งแต่ พระราชธิดาในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตลอดจนกุลสตรีทั่วไป

 

สมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธรเป็นพระองค์หนึ่งที่ได้รับพระมหากรุณา จึงทรงสร้าง โรงเรียนราชินีบน แห่งนี้ขึ้นไว้เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระพันปีหลวงพระองค์นั้น สมเด็จพระปิตุจฉา เจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร โปรดให้ทำแผ่นศิลาจารึกคำเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีพัชรินทรา บรมราชชนนีพันปีหลวงในรัชกาลที่ 6 ตอกไว้กับตึกแรก ที่ทรงสร้างในโรงเรียนราชินีบน

 

นอกจากนี้ยังได้ทรงสร้างห้องแถวไม้ไว้เก็บผลประโยชน์ไว้บำรุงโรงเรียนทุกปี ขณะที่ยังดำรงพระชนม์อยู่ก็จะประทานเงินสำหรับใช้สอยประจำตลอดมา นอกจากนี้ยังได้พระราชทานวังสุคันธาวาสที่ตั้งอยู่ ถนนวิทยุ ให้แก่โรงเรียนราชินีบน

 

โรงเรียนราชินีบน ได้เปิดทำการสอนเมื่อวันทื่ 17 พฤษภาคม 2472 มีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช ( วัดเบญจมบพิตร ) ขณะนั้นเป็นพระเทพมุนีเป็นประธานประกอบพิธีสงฆ์ พระวรวงศ์เธอพระองค์หญิง สุทธสิริโสภา เสด็จแทนพระองค์ สมเด็จพระราชปิตุจฉาฯ ทรงทำพิธีเปิดป้ายนามโรงเรียน เมื่อแรกเปิด มีนักเรียน 63 คน ตึกเรียนหลังแรกเป็นตึกสีครีม ปีกหนึ่งเป็นสองชั้น อีกปีกหนึ่งเป็นชั้นเดียว ชั้นบนสำหรับนักเรียนประจำ ส่วนชั้นล่างเป็นห้องเรียน ปัจจุบันเรียกตึกนี้ว่า ตึกพิจิตรจิราภา

 

โรงเรียนราชินีบน สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ด้วยพระกรุณาของสมเด็จเจ้าฟ้าวไลยอลงกรณ์ กรมหลวงเพ็ชรบุรีราชสิรินธร ทรงสร้างห้องแถวไว้เพื่อเก็บผลประโยชน์ ตั้งทุนไว้บำรุงโรงเรียน และได้ประทานสิ่งของตลอดจนเงินค่าใช้จ่ายให้กับโรงเรียน

 

โรงเรียนได้สร้างอาคารเรียนเพิ่มเติมขึ้นเพื่อให้สอดคล้องกับจำนวนนัเรียนที่เพิ่มมากขึ้น

 

พ.ศ. 2508 ได้ขยายตึกเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 3 เรียนที่ตึก 4 ชั้น ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตึก 3 ชั้น เป็นตึกประถมและอนุบาล

 

พ.ศ. 2510 เปิดประมูลการก่อสร้างตึกเรียนวิทยาศาสตร์ และ ห้องอาหาร

 

พ.ศ. 2526 เปิดตึกใหม่ซึ่งใช้เป็นห้องเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 ห้องโสตทัศนูปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางภาษา ห้องวิดีโอ ใต้ตึกเป็นที่รับประทานอาหารของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายและห้องโภชนาการ

 

พ.ศ. 2537 โรงเรียนได้สร้างอาคารเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียนที่เพิ่มมากขึ้น โดยรื้อห้องแถวฝั่งตรงข้ามถนนเขียวไข่กา จัดสร้างเป็นตึกอนุบาลและที่พักนักเรียนประจำ สระว่ายน้ำ โรงยิม และสโมสร

 

ปัจจุบันโรงเรียนเปิดสอนตั้งแต่ระดับอนุบาล 2 ถึง มัธยมศึกษาปีที่ 6 จำนวนห้องเรียนทั้งสิ้น 67 ห้อง เป็นอนุบาล ถึง มัธยม 3 ชั้นละ 5 ห้องเรียน และ มัธยม 4 ถึง มัธยม 6 ชั้นละ 5 ห้องเรียน (อาจมีห้อง6เมื่อเด็กเยอะ

 

Credit: http://board.postjung.com/704582.html
#โรงเรียนราชินี
hanachoi
เจ้าของบทประพันธ์
สมาชิก VIPสมาชิก VIPสมาชิก VIP
8 ก.ย. 56 เวลา 09:34 6,637 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...