คุณทราบหรือไม่ว่าเลือดกรุ๊ปใดเป็นกรุ๊ปเลือดที่หายากที่สุด และคุณมีความรู้เกี่ยวกับเลือดมากน้อยแค่ไหน ลองมาดูกัน
หมู่เลือดหรือกรุ๊ปเลือด
หมู่โลหิต คือ การแยกแยะเลือดเป็นหมวดหมู่ โดยทั่วไปที่ใช้มีสองระบบคือ ระบบเอบีโอ (ABO System) และ ระบบอาร์เอช (Rh System) โดยจำแนกตามแอนติเจน (Antigen) บนเม็ดเลือดแดงที่มีอยู่
การจำแนกหมู่เลือดที่สมบูรณ์จะประกอบด้วยการระบุสารผิวเซลล์เม็ดเลือดแดง 30 ชนิด ดังนั้นหมู่เลือดของคนคนหนึ่งจะเป็นส่วนประกอบของชนิดของแอนติเจนย่อยต่างๆ ประกอบกัน สารผิวเซลล์ 30 ชนิดนี้ มีการพบแอนติเจนที่แตกต่างกันแล้วกว่า 600 แบบ แต่บางแบบเป็นชนิดหายาก อาจพบเฉพาะในบางชนเผ่าหรือเชื้อชาติ
ABO System
แบ่งออกได้เป็นสี่หมู่ คือ A , B , AB และ O (หมู่เลือด B พบมากที่สุด, A กับ O พบได้มากพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด)
Rh System
จะรายงานได้เป็นสองพวก
+ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้จะพบได้มาก ซึ่งเกือบทั้งหมดของคนไทยเป็นพวกนี้
-ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พวกนี้จะพบได้น้อยมาก คนไทยเราพบเลือดพวกนี้เพียง 0.03% เป็นพวกที่บางครั้งอาจถูกเรียกว่าเป็นผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ ซึ่งจะพบได้มากขึ้นในชาวไทยซิกข์ (แต่ในคนกลุ่มนี้ แม้ว่าจะมีโอกาสตรวจพบ Rh-ve ได้มากกว่าคนไทยปกติ แต่โดยส่วนใหญ่ก็ยังคงเป็นพวก Rh+ve อยู่ดี) แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า พอรู้กรุ๊ปเลือดตัวเองว่าเป็น A , B , AB และ O แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บนพื้นผิวของเม็ดเลือดแดงเดียวกัน ยังมีสาร C, D และ E ที่เป็นตัวกำหนดหมู่เลือดในระบบอาร์เอช ซึ่งมีอยู่ 2 หมู่คือ Rh+ (Rh + Positive) และ Rh- (Rh - Negative)
ในคนไทยส่วนใหญ่ 99.7 เปอร์เซ็นต์ ค่า Rh+ ขณะที่ค่า Rh - มีเพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงเรียก หมู่โลหิต Rh-เป็นหมู่เลือดพิเศษ ซึ่งอันตรายมากหากเกิดอุบัติเหตุ เพราะจะหาได้ยากมาก มันจึงมีความสำคัญมากในบ้านเรา
พอจะเดากันออกหรือยังว่าเลือดกรุ๊ปใดมี่เป็นกรุีปเลือดที่หายากที่สุด ถ้ายังลองมาดูกันต่อ
ตัวอย่างการรายงานกลุ่มเลือด เช่น A+ve คือเลือดกรุ๊ป A Rh+ve ตามปกติ ส่วน AB-ve เป็นเลือดกรุ๊ป AB และเป็นหมู่เลือดพิเศษ Rh-ve ซึ่งหายากที่สุด โดยปกติแล้วโลหิตหมู่ AB ในคนไทยพบน้อยกว่า 5% ซึ่งถ้าเป็น AB-ve จะพบแค่ 1.5 คน ในหมื่นคนเท่านั้น
การให้ และการรับเลือดในหมู่เลือด
คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก -Rh-ve เท่านั้น (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)
คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป
คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุป แต่ให้คนอื่นได้เฉพาะคนที่มีกรุ๊ป AB
คนเลือดกรุ๊ป A รับจาก A,O แต่ให้ได้กับ A,AB
คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B,O แต่ให้ได้กับ B,AB
ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องการ Rh- ในจำนวนมากเพราะว่ากำลังตกเลือดอย่างหนัก ก็มีวิธีแก้คือให้ Rh+ เข้าไปก่อน พอผู้ป่วยดีขึ้น เลือดเริ่มหยุดไหลแล้ว ผ่าตัดเย็บแผลแล้ว ค่อยเอา Rh- ที่มีไม่มากนักใส่เข้าไปตบท้าย เพราะ Rh+ที่ใส่เข้าไปในตอนแรกมันไปหล่อเลี้ยง แต่หลังจากนั้นมันจะออกมาเพราะตกเลือด
แต่การที่จะให้ Rh+ กับผู้ป่วยที่เป็น Rh- นั้น ทำได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น เพราะว่าร่างกายของผู้ป่วยเป็นเนกาทีฟ พอรับเอาเลือดโพสิทีฟเข้าไป มันจะมีการสร้างแอนตี้บอดี้ ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ถ้าให้ครั้งต่อไปอาจทำลายจนถึงขั้นตายได้
หมู่เลือด Rh หรือ Rh แฟกเตอร์ ( Rh blood group or Rh factor )
1. หมู่เลือด Rh เป็นหมู่เลือดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาถ่ายเลือด
2. คนไทยมีหมู่เลือด Rh+ เกือบ100% ส่วนหมู่เลือด Rh- พบน้อยมากประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น
3. หมู่เลือด Rh+ หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีแอนติเจน D อยู่ แต่ไม่มีแอนติบอดี้ในน้ำเลือด
4. หมู่เลือด Rh- หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงไม่มีแอนติเจน D และในน้ำเลือดก็ไม่มีแอนติบอดี้ด้วย แต่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้เมื่อได้รับแอนติเจน D
ดังนั้นในการถ่ายเลือดให้ผู้รับ หากผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ และผู้รับเป็นหมู่เลือด Rh- ในครั้งแรกผู้รับจะไม่เป็นอะไร เนื่องจากแอนติบอดี้ ที่เกิดขึ้นยังมีน้อย
แต่ถ้าให้เลือดครั้งที่ 2 ผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ อีก จะเกิดอันตรายเนื่องจากแอนติเจน D จากผู้ให้จะกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดี้ได้มาก และแอนติบอดี้ จะจับตัวกับแอนติเจน D ที่ผิวเม็ดเลือดทำให้ตกตะกอนเป็นอันตรายถึงตายได้
5. ชายมีหมู่เลือด Rh+ แต่งงานกับหญิงมีหมู่เลือด Rh- ลูกจะมีหมู่เลือด Rh+ เนื่องจาก Rh+ เป็นลักษณะเด่น
ลูกคนแรกจะปลอดภัยเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูกพลัดหลงไปในระบบเลือดของแม่ผ่านทางรก กระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี้ต่อต้านเม็ดเลือดของลูกขึ้นมา แต่ในปริมาณน้อยและช้า
แต่ถ้าท้องถัดไป ถ้าลูกเป็น Rh- ก็จะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าลูกคนที่สองเป็น Rh+ อีก โอกาสเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคแทกซ้อน เช่น ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายอาจถึงขั้นตาย
เพราะลูกคนต่อไปจะได้รับอันตรายจากแอนติบอดี้ของแม่ เนื่องจากแม่สร้างแอนติบอดี้ได้มาก เมื่อเลือดแม่ส่งอาหารเข้าไปเลี้ยงทารกโดยผ่านทางรก แอนติบอดี้ของแม่จะทำปฏิกิริยารวมตัวกับแอนติเจน ที่ผิวเม็ดเลือดแดงของลูก ทำให้เลือดลูกตกตะกอน และลูกจะตายก่อนเกิด โรคนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อีรีโทรบลาสโทซิสฟีทาลิส ( erythroblastosisfetalis )
ดังนั้นถ้ารู้ว่าตัวเองมีกรุ๊ป Rh- แล้วเกิดตั้งท้อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมป้องกันแต่เนิ่นๆ
เห็นแบบนี้กันแล้วคงต้องสำรวจและไปตรวจเลือดตัวกันแล้วว่าอยู่ในกลุ่ม Rh- หรือไม่ เพราะถ้าคุณอยู่ในกลุ่มนี้แน่นอนล่ะ คุณคือกลุ่มเล็กๆที่จะต้องดูแลซึ่งกันและกัน อุบัติเหตุจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่เราไม่สามารถทราบล่วงหน้าได้เลย หากมีโอกาศก็ควรไปบริจาคเลือดเอาไว้เป็นคลังสำรองหรืออย่างน้อยเลือดของคุณนั้นจะได้นำไปช่วยต่อชีวิตอีกหนึ่งชีวิตได้ ส่วนคนที่คิดว่าตัวเองไร้ค่า อกรัก รักคุด ตุ๊ดเมิน อยากตาย กรีดข้อมือ แนะนำให้ไปที่สภากาชาดหรือหน่วยเคลื่อนที่ให้เจ้าหน้าที่เจาะเอาเลือดอออกยังจะมีประโยชน์ซะกว่ามานั่งทำร้ายตัวเองกับความรักหรือความผิดหวัง คุณคิดว่าตัวคุณไร้ค่า แต่คุณรู้หรือไม่ว่าตัวคุณมีค่าที่จะต่อชีวิตให้ใครอีกหลายๆคนได้อยู่ต่อ
และปัญหาใหญ่ที่เกิดขึ้นอยู่ตอนนี้นั้นคือ จำนวนผู้บริจาคเลือดในกลุ่มของ Rh- ทั่วประเทศนั้นมีอยู่ไม่ถึง 6,000 คน ซึ่งทำให้ไม่เพียงพอนั่นเอง ดังนั้นจึงอยากเชิญชวนไปร่วมกันบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทยซึ่งคุณจะได้รู้ทันทีว่าคุณอยู่ในกลุ่ม Rh+ หรือ Rh- หรือไม่
สามารถติดต่อชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือดพิเศษได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร 0-2252-1637, 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1752, 1753
หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถเข้าดูได้ที่ http://www.rh-negative.com