ในอดีตนั้นฝิ่นถือเป็นสิ่งถูกกฎหมายถึงขนาดมีโรงฝิ่นอยู่ทั่วไป เมื่อผู้ คนเกิดความมัวเมาในฝิ่น ทำให้ยากที่ประเทศจะพัฒนาได้ ดังนั้นจีน จึงสั่งให้ฝิ่นเป็นสิ่งผิดกฎหมาย และหลังจากนั้นก็เกิดปัญหาต่างๆตาม มาจนถึงสงครามระดับประเทศ
...ปัญหา??...
ชาวจีนติดฝิ่นกันอย่างงอมแงมและติดกันมานาน ในรัชกาลจักรพรรดิหย่งเจิ้นเคยมีดำริที่จะทำ
การปราบปรามฝิ่นแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จชาวจีนส่วนใหญ่ยังติดฝิ่นเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยของ
จักรพรรดิเต้ากวง พระองค์มีเจตนารมณ์อย่างแรงกล้าที่จะทำการปราบฝิ่นทรงแต่งตั้งหลินเจ๋อสวี
เป็นผู้ตรวจราชการสองมณฑล ขึ้นเป็นผู้นำในการกวาดล้างฝิ่นจากแผ่นดินจีน
...เริ่มกระบวนการปราบปรามฝิ่น...
หลินเจ๋อสวีเริ่มงานด้วยการห้ามค้าฝิ่นในมณฑลกวางตุ้ง และจับพ่อค้าฝิ่นชาวจีนที่มีส่วนเกี่ยว
ข้องทั้งหมดไปคุมตัวในเรือนจำ ใครที่มีหลักฐานว่าค้าฝิ่นจะต้องถูกประหารและตัดศีรษะเสียบ
ประจาน เพื่อข่มขู่ชาวจีนคนอื่นๆ ให้เกรงกลัวจะได้ไม่กล้าค้าฝิ่นอีก
...ฟื้นฟู...
นอกจากปราบปรามการค้าฝิ่นในหมู่ชาวจีนแล้ว หลินเจ๋อสวียังได้พยายามฟื้นฟูสุขภาพชาว
จีนที่ติดฝิ่น โดยจัดโครงการรณรงค์การอดฝิ่นมีชาวจีนหลายคนที่อดฝิ่นได้สำเร็จ ทางการก็
จะประกาศเกียรติคุณเพื่อให้คนอื่นๆ เอาเป็นแบบอย่างอันดีที่จะพยายามเลิกฝิ่นให้ได้
...บีบให้ส่งฝิ่น...
หลินเจ๋อสวีสั่งห้ามเรือพ่อค้าต่างชาติที่บรรทุกฝิ่นเข้ามาในอาณาจักรจีน โดยห้ามเรือล่องเข้าแม่
น้ำจูเจียงมาเป็นเด็ดขาด และประกาศให้พ่อค้าต่างชาติที่มีฝิ่นในครอบครองต้องนำฝิ่นมาส่งมอบ
ให้ทางการจีน แต่พ่อค้าชาวต่างชาติไม่สนใจคำสั่งของหลินเจ๋อสวี ยังคงค้าฝิ่นต่อไป หลินเจ๋อสวี
จึงสั่งปิดล้อมย่านการค้าของคนต่างชาติที่ท่าเรือในกวางโจว และบีบให้พ่อค้าต่างชาติส่งฝิ่นให้
ทางการจีน หลังจากปิดล้อมอยู่สองวันพวกพ่อค้าต่างชาติก็ยอมมอบฝิ่นออกมาในที่สุด ฝิ่นที่ยึด
ได้ครั้งนี้ หลินเจ๋อสวีสั่งให้เอาฝิ่นทั้งหมดไปละลายกับกรดน้ำส้มกับเกลือและน้ำเพื่อฆ่าฤทธิ์ของ
ฝิ่นแล้วก็โยนทิ้งทะเลไปจนหมดสิ้น
...ลอบค้า...
จากการปราบปรามฝิ่นอย่างจริงจังของหลินเจ๋อสวีทำให้ชาวต่างชาติโดยเฉพาะพ่อค้าอังกฤษ
ที่มีผลประโยชน์จากการค้าฝิ่นไม่พอใจอย่างยิ่ง เพราะฝิ่นที่หลินเจ๋อสวีทำลายไปมีจำนวนมหา
ศาลถึง 20,000 ลัง คิดเป็นน้ำหนัก 2 ล้านปอนด์ครึ่ง และเนื่องจากฝิ่นเป็นสินค้าที่มีค่าสูงจึงยังมี
พ่อค้าต่างชาติทั้งชาวอังกฤษและโปรตุเกสยังคงลักลอบค้าฝิ่นแต่เปลี่ยนฐานการค้าจากตัวแผ่น
ดินใหญ่ในมณฑลกวางตุ้งไปอยู่ที่มาเก๊าและเกาะฮ่องกงซึ่งมีทำเลดีกว่าแทน
...ชนวนสงคราม...
การกระทบกระทั่งระหว่างจีนกับอังกฤษยังคงมีต่อมา เมื่อชาวจีนถูกกะลาสีเรือชาวอังกฤษฆ่า
ตายที่เกาลูน หลินเจ๋อสวีให้ทางอังกฤษส่งตัวกะลาสีเรือที่ก่อเหตุมารับโทษตามกฎหมายของ
จีน แต่กัปตันเอลเลียตของอังกฤษปฏิเสธอย่างสิ้นเชิงผลจากการกระทบกระทั่งกันครั้งนี้ทำให้
หลินเจ๋อสวีขับไล่ชาวอังกฤษทั้งหมดออกจากมาเก๊า
...สงครามเกิด...
กัปตันเอลเลียตขอความช่วยเหลือไปทางรัฐบาลอังกฤษ รัฐบาลอังกฤษในยุคของสมเด็จพระ
ราชินีนาถวิกตอเรียแห่งสหราชอาณาจักร ซึ่งเป็นยุคสมัยของการล่าอาณานิคม ถือเป็นเหตุใน
การทำสงครามกับจีนโดยเริ่มครั้งแรกในปี พ.ศ. 2382 (ค.ศ. 1839) โดยสั่งให้บริษัทอีสต์อินเดีย
ซึ่งเป็นบริษัทการค้าของรัฐบาลอังกฤษ ส่งกองเรือไปช่วยที่ฮ่องกง เมื่อกองเรือรบกองแรกมา
ถึงซึ่งประกอบไปด้วยเรือปืนจำนวน 28 ลำ หลินเจ๋อสวีไม่เคยมีประสบการณ์ในการรบกับอาวุธ
ที่ทันสมัยเช่นนี้ จึงถูกโจมตีจนกองเรือจีนพ่ายแพ้อย่างรวดเร็วหนำซ้ำพวกขุนพลของจีนที่สู้แพ้
อังกฤษ ยังไม่กล้ารายงานสถานการณ์ตามความเป็นจริง ทำให้หลินเจ๋อสวีเข้าใจผิดว่ากองเรือ
ของจีนเอาชนะกองเรืออังกฤษได้ จึงถวายรายงานกับพระจักรพรรดิเต้ากวงว่า จีนได้รับชัยชนะ
และยิ่งแสดงท่าทีแข็งกร้าวต่อพวกอังกฤษยิ่งขึ้น
...พ่ายแพ้...
ฝ่ายกองเรือรบอังกฤษก็บุกเข้าปากแม่น้ำจูเจียงและยึดเมืองกวางซูเอาไว้ได้อย่างง่ายดาย
พร้อมทั้งเคลื่อนกองเรือรุกเข้ามาในแผ่นดินจีนขึ้นเรื่อยๆ นอกจากนี้ยังส่งกองเรือจำนวนหนึ่ง
ไปยึดเมืองท่าริมทะเลเอาไว้ด้วยความทราบถึงพระจักรพรรดิเต้ากวงจึงทรงตำหนิหลินเจ๋อสวี
อย่างรุนแรงและปลดหลินเจ๋อสวีจากตำแหน่งทั้งหมด เนรเทศไปยังซินเจียงและส่งแม่ทัพฉี
ซานมาแทน ฉีซานไม่สามารถต้านทานแสนยานุภาพของอังกฤษได้
...สงบศึก...
กองทัพอังกฤษบุกเข้ายึดเมืองนานกิงได้ จนกระทั่งในที่สุดจำเป็นต้องเจรจาสงบศึกกับอังกฤษ
ต้องยอมเซ็นสนธิสัญญาที่ชาวจีนถือว่าอัปยศที่สุด ที่เรียกว่าสนธิสัญญานานกิงในปีเดียวกันนั้น
เนื้อหาในสนธิสัญญาฉบับนี้อังกฤษบังคับให้จีนเปิดเมืองท่าตามชายทะเลเพื่อค้าขายกับอังกฤษ
รวมทั้งขอสิทธิสภาพนอกอาณาเขตเหนือดินแดนจีนคนที่ถือสัญชาติอังกฤษจะไม่ต้องขึ้นศาลจีน
รวมทั้งสิทธิใดๆที่อังกฤษได้ ต่างชาติอื่นๆก็ต้องได้ด้วย แม้ว่าเนื้อหาของสนธิสัญญานี้จีนต้องเสีย
เปรียบอังกฤษเป็นอย่างมากแต่จีนก็จำต้องเซ็นสัญญาเพื่อยุติสงครามที่จีนเสียเปรียบอย่างเทียบ
ไม่ติด
...เสียเอกราช...
ต่อมาจีนได้สูญเสียเอกราชบนคาบสมุทรเกาลูนไปอีก ในวันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2403 (ค.ศ.
1860) ตามสนธิสัญญาปักกิ่ง ในรัชกาลสมเด็จพระจักรพรรดิเสียนเฟิง และอีกครั้งหนึ่ง เมื่อ
วันที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2441 (ค.ศ. 1898) ตรงกับรัชกาลจักรพรรดิกวังซวี่ สูญเสียพื้นที่เขต
ดินแดนใหม่ ให้กับสหราชอาณาจักรในสัญญาเช่า 99 ปี นับแต่นั้นเซินเจิ้นและฮ่องกงก็ถูก
แบ่งแยกการปกครองออกจากกันและภายใน พ.ศ. 2443 (ค.ศ. 1900) คนจีนกว่า 13 ล้านคน
ยังคงติดฝิ่นอยู่ เศรษฐกิจของจีนถูกทำลายลงอย่างย่อยยับจากการที่จีนต้องนำเข้าฝิ่นเป็นจำ
นวนมากมายมหาศาลและราชวงศ์ชิงก็ตกอยู่ในภาวะแห่งการล่มสลาย
*************************