นักวิทย์ตื่นเต้นกับการได้เห็นสัตว์ตระกูลไพรเมทอย่างลิงถูงนักล่าอย่างงูกินต่อหน้าต่อตาเป็นครั้งแรก เพราะเห็นเหตุการ์ณเช่นนี้ไม่ค่อยได้เห็นกันบ่อยนักในธรรมชาติ เนื่องจากลิงมักอยู่รวมฝูงและคอยระแวดระวังให้แก่กัน ทว่าเจ้าลิงเคราะห์ร้ายกลับปลีกตัวจากฝูงและถูกงูที่ซุ่มรอเหยื่อเป็นเดือนๆ ฉกไปกิน
ภาพงูโบอา กินลิงฮาวเลอร์ลิงที่เคราะห์ร้าย
(Erika Patrícia Quintino / American Journal of Primatology)
เป็นครั้งแรกที่นักวิทยาศาสตร์ได้เห็นภาพงูโบอาคอนสติคเตอร์ (boa constrictor) เข้าจู่โจมและกินลิงฮาวเลอร์ (howler monkey) ซึ่งไลฟ์ไซน์อ้างการศึกษาที่รายงานในวารสารไพรเมทส์ (Primates) ว่า การพบครั้งนี้เป็นเรื่องควรแก่การพิจารณาเพราะรายงานเกี่ยวกับสัตว์ไพรเมทถูกนักล่ากินนั้นเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย ซึ่งงานวิจัยนี้นำโดย จูลิโอ บิคคา-มาร์คส (Júlio Bicca-Marques) และ อีริกา ควินติโน (Erika Quintino) จากมหาวิทยาลัยคาธอลิคแห่งองค์สันตะปาปาริโอกรันเดโดซุล (Pontifical Catholic University of Rio Grande do Sul) ในบราซิล
ด้านพอล การ์เบอร์ (Paul Garber) นักไพรเมทวิทยาจากมหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ (University of Illinois) ซึ่งไม่ได้มีส่วนร่วมในการศึกษาครั้งนี้ ให้ความเห็นว่า เหตุการณ์ดังกล่าว อาจทำให้เราต้องกลับมาคิดกันใหม่ว่าไพรเมทเหล่านี้ถูกล่าเป็นเหยื่ออย่างง่ายดายได้อย่างไร ทั้งนี้ สัตว์ไพรเมทและลิงถูกล่าได้เป็นบางครั้งโดยงู สัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ และสัตว์ในกลุ่มแมวใหญ่ แต่การได้พบเห็นเหตุการณ์ดังกล่าวในธรรมชาติไม่ได้เกิดขึ้นบ่อยนัก
เหตุที่เราไม่เห็นสัตว์ไพรเมทถูกล่าบ่อยๆ นั้น การ์เบอร์อธิบายว่า เป็นเพราะไพรเมทอาศัยอยู่เป็นฝูง ซึ่งสมาชิกแต่ละตัวจะค่อยระแวดระวังภัยคุกคาม และตรวจจับทิศของนักล่า อีกทั้งไพรเมทยังมีสายตาที่ดี ซึ่งช่วยให้สัตว์กลุ่มนี้เห็นสัตว์ที่จะเข้าจู่โจมได้ และยังเป็นไปได้ว่าการที่มีนักวิทยาศาสตร์เข้าไปเฝ้าสังเกตไพรเมทเป็นการช่วยไล่ผู้ล่าออกไปไกลๆ
ทว่าในบางครั้งการปกป้องของกลุ่มอาจไม่เพียงพอ ดังเช่นในกรณีนี้ที่เกิดขึ้นที่แม่น้ำอะเมซอนทางตะวันตกของบราซิล นักวิทยาศาสตร์สังเกตเห็นลิงฮาวเลอร์แดงปูรุส (Purús red howler monkey) หรือ อาลาวอัตตาปูรูเอ็นซิส (Alouatta Puruensis) เพศเมียที่โตเต็มวัย ปีนป่ายห่างออกไปจากฝูงลิง 5 ตัว และมีลิงตัวเมียที่โตแล้วตัวอื่นๆ คอยติดตามอยู่ในป่าฝน แต่ไม่มีสัญญาณเตือนงูโบอาที่ซ่อนตัวอยู่ก็เข้าจู่โจมลิงตัวนั้น ใช้กล้ามเนื้อบีบรัดลิงเคราะห์ร้าย
งูโบอาคอนสตริคเตอร์ผู้ล่าหมอบและเฝ้ารอเหยื่ออยู่ ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่างูชนิดนี้จะซุ่มซ่อนตัวโดยไม่ไหวติ่งได้นานเป็นเดือนๆ แต่ปกติแล้วงูดังกล่าวจะจะกินเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าลิง อย่างสัตว์ฟันแทะและนกตัวเล็กๆ ส่วนลิงฮาวเลอร์ตัวเมียที่โตเต็มที่จะหนักได้ถึง 6 กิโลกรัม โดยอ้างตามสหพันธ์นานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (International Union for Conservation of Nature: IUCN) ทั้งนี้ งูจะกินสัตว์ที่มีขนาดใหญ่ด้วยการขยายกรามที่เชื่อมกับเอ็นยึดติด โดยที่กรามไม่ย้ายตำแหน่ง ซึ่งค่อนข้างจะขัดแย้งกับความเข้าใจผิดทั่วๆ ไป
หลังงูเข้าจู่โจมแล้วฝูงของเหยื่อเคราะห์ร้ายก็ตรงเข้าทำร้ายงู และระดมทุบตีอยู่หลายครั้ง แต่เมื่องูไม่แสดงอาการสะทกสะท้าน ลิงตัวอื่นๆ ก็ถอนกำลังออกมา แล้วมองดูเหตุการณ์อันน่าสยดสยอง ซึ่ง 76 นาทีหลังจากบีบรัดลิงจนตาย งูโบอาก็เริ่มกินลิงฮาวเลอร์ทางหัวก่อน
และภาพงูกินลิงนี้กลายเป็นภาพปกของวารสารอเมริกันเจอร์นัลออกไพรมาโทโลจี (American Journal of Primatology) ที่การ์เบอร์เป็นบรรณาธิการบริหาร
บางทีลิงตัวนั้นอาจไม่ถูกกินหากอยู่ใกล้ฝูง
ซึ่งการเป็นลิงผู้โดดเดี่ยวนั้นไม่ดีเลย...การ์เบอร์ให้ความเห็น
แหล่งข้อมูล
http://www.livescience.com/39172-boa-constrictor-eats-howler-monkey.html