ทำไมวันพุธ ถึงมีการแยกออกเป็น พุธกลางวัน กับ พุธกลางคืน
วันพุธกลางคืนบางตำราก็ใช้บางตำราก็ไม่ใช้วันราหู (๘) หรือ"วันพุธกลางคืน" คือ:วันพุธช่วงกลางคืนจะเริ่มหลังจากพระอาทิตย์ตกไปแล้วและก่อนรุ่งเช้าที่พระอาทิตย์ขึ้น,เรียกว่า "วันราหู" (บางตำราจะใช้หลัง 18:00 น.และ 06:00 น. บางตำราจะใช้หลังพระอาทิตย์ตกจริงในแต่ละวันและใช้พระอาทิตย์ขึ้นในแต่ละวัน พระอาทิตย์ขึ้น-ตก ดูได้ที่ไดอารี่ โหร ต่างๆจะมีบอก)สาเหตุที่มีวัน"พุธกลางคืน" น่าจะมาจากในวิชาโหราศาสตร์เมื่อใช้ราหู (๘) จึงมีบางสำนักคิดที่จะใช้ราหูร่วมกับระบบทักษาประจำในสัปดาห์แต่ไม่รู้ว่าจะเอาไปใส่ไว้ที่ไหนเพราะสัปดาห์หนึ่งก็มีเพียงเจ็ดวันเท่านั้น เมื่อวันพุธคือวันที่อยู่ช่วงกลางสัปดาห์เลยคิดแบ่งวันพุธเป็นออกสองช่วง คือ ช่วงกลางวันและช่วงกลางคืนโดยให้ช่วงกลางวันเป็นวันพุธและช่วงกลางคืนเป็นวันราหู (๘) และบางตำราจะใช้ดาวเกตุ (๙) เป็นวันพฤหัสบดีช่วงกลางคืนโดยวางดาวเกตุ (๙) ไว้ที่ช่องกลางในผังทักษาอีกด้วย.
สรุป :เนื่องจากระบบทักษาเกี่ยวกับการใช้พุธกลางคืน(ราหู)หรือไม่นั้น ยังสับสนกันอยู่มาก ให้พิสูจน์เอาเอง โดยให้สังเกต สำหรับคนเกิดวันพุธช่วงหลังพระอาทิตย์ตกให้ลองสังเกตุดูเมื่อใช้ทักษาจรร่วมกับโหราศาสตร์ก็จะรู้เองว่าเขาควรจะเป็นคนเกิดวันพุธ หรือ วันราหู (พุธกลางคืน) กันแน่ เพราะดาวระบบทักษาจะเป็นตัวกำหนดความหมายในเรื่องต่าง ๆ โดยเฉพาะดาวกาลกิณีจร จะชัดมากเมื่อจรเข้าเรือนต่าง ๆในราศีจักร์ทางโหราศาสตร์
สาเหตุที่ต้องยกดาวราหูขึ้นมาใช้พยากรณ์ในการยกเอาราหูขึ้นมาพยากรณ์มากกว่าดาวนพเคราะห์อื่น ก็เพราะว่า ราหู แม้จะจรในจักรราศี ก็ไม่เหมือนดาวต่าง ๆ คือ เดินย้อนพวกดาวอื่น และเกตุก็เดินย้อนเช่นเดียวกันกับราหู
จึงถือกันว่า หัวกับหางไปด้วยกัน และเป็นดาวบาปเคราะห์"วิธีแบ่งวันพุธกลางคืนจะถูกนำเข้ามาใช้ในตำราทักษาช่วงหลัง
ตำราทักษา ก็คือ ตำราที่สอนเรื่องการพยากรณ์ต่างๆ เช่น ตั้งชื่อ, ทำนายดวง ฯลฯ