6 ขั้นตอน “ลาออก” อย่างมืออาชีพ

 

 

 

 

 

 

การทำงานอยู่ที่ไหนนานๆ  แน่นอนว่าจะทำให้เราเห็นการเจริญเติบโตขององค์กร ความเปลี่ยนแปลงทั้งด้านดีและไม่ดี และเมื่อถึงจุดหนึ่งที่เรารู้สึกอิ่มตัวกับองค์กร เราคงมีความคิดจะเปลี่ยนงาน เปลี่ยนสายงาน หรือแม้แต่ย้ายองค์กรเพื่อเปิดรับประสบการณ์ใหม่ เพื่อนใหม่ รวมถึงเงินเดือนที่สูงขึ้นด้วย

ขั้นตอนก่อนจะก้าวออกจากองค์กรแบบจากกันด้วยดีย่อมเป็นสิ่งที่ทั้งหัว หน้า เพื่อนร่วมงานและองค์กรปรารถนาจากเรา ต่อไปนี้เป็น 5 ข้อที่เราเชื่อว่าเป็นแนวทางที่ให้เกียรติและรักษาน้ำใจที่ดีก่อนการบอกลา

1.    เป็นความลับไว้ก่อน
เรื่องการลาออกเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน คุณไม่ควรบอกใครต่อใครว่าคุณจะลาออก เพราะเรื่องนี้ถ้ารู้ถึงหูใครต่อใครแล้วคุณจะตกเป็นประเด็นในการพูดถึงในวงสนธนาจนข่าวแพร่กระจายออกไป ที่สำคัญคุณอย่าพึ่งบอกเรื่องนี้กับหัวหน้าของคุณ จนกว่าคุณจะแน่ใจแล้วว่าคุณพร้อมกับการลาออกครั้งนี้จริงๆ

2.    คุยต่อหน้าก่อนยื่นจดหมาย
เชื่อแน่ว่าใครหลายๆคนคงไม่อยากได้รับข้อความ E-mail หรืออะไรเกี่ยวกับการลาออกหรอก คุณควรเลือกวิธีในการชี้แจงเรื่องนี้อย่างตรงไปตรงมาจะดีกว่า เพื่อให้เกิดความเข้าใจและชัดเจนซึ่งกันและกัน หลังจากนั้นคุณก็ส่งจดหมาย หรือ E-mail อย่างเป็นทางการในการลาออกอีกทีเพราะ คุณจะดูเป็นคนที่กล้าเผชิญหน้ากับสิ่งต่างๆที่จะเกิดขึ้น

3.    อย่าวิจารณ์ อย่าประจาน
จำไว้ว่าคุณอย่าอย่าวิจารณ์ อย่าประจาน ใครต่อใครในองค์กร ถึงแม้คุณคิดจะออกจากที่นั้นแล้วก็ตาม มันเหมือนคุณกำลังฆ่าตัวเอง ทางที่ดีคุณควรสงบสติอารมณ์ และมีสติ ถึงแม้สังคมในที่ทำงานคุณจะแย่แค่ไหนก็ตาม เชื่อได้เลยผลกระทบที่จะตามคุณมามันไม่คุ้มกับสิ่งที่ทำลงไปแน่นอน

4.    บอกล่วงหน้าและส่งมอบงาน
การบอกล่วงหน้านั้นแสดงออกถึงการเตรียมพร้อม ของตัวเราเอง และในขณะเดียวกันก็เป็นการให้เกียรติกับหัวหน้างานอย่างที่สุดในการเตรียม แผนรับสถานการณ์ที่กำลังจะมาถึงนี้ด้วย ยิ่งถ้าเราเป็นคนโปรดของหัวหน้า หรือตำแหน่งที่เราทำไม่ใช่ว่าจะหากันได้ง่ายๆ แม้ในกฎหมายแรงงานจะกำหนดวันแจ้งล่วงหน้าไว้ประมาณ 1 เดือนก็ตาม แต่เราสามารถให้เขามากกว่านั้นได้เท่าที่จำเป็น การบอกล่วงหน้า 2-3 เดือนไม่ใช่เรื่องผิดปกติ ตรงกันข้าม หัวหน้าจะเข้าใจได้ทันทีว่า้เราได้ให้โอกาสเขาแล้วในการรับสมัครคนใหม่หรือ แม้แต่เปลี่ยนถ่ายพนักงานหนึ่งคนให้เตรียมมาเรียนรู้งานจากเรา เพื่อองค์กรจะได้ทำงานได้ต่อไปแม้ไม่มีเราก็ตาม
การส่งมอบงานจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ เราควรเตรียมขั้นตอนไว้บ้าง การสอนงานสัก 2 สัปดาห์นั้นแสดงออกถึงความเอื้อเฟื้อได้เป็นอย่างดีเช่นเดียวกัน จัดอุปกรณ์และไฟล์ต่างๆ ให้เป็นระเบียบ และส่งมอบงานอย่างจริงใจ จะทำให้เรางามสง่าที่สุดเมื่อต้องจากทุกคนไป

5.    อย่าแสดงออกจนเกินงาม
ถ้าไม่ใช่การไล่ออก การออกจากงานด้วยความสมัครใจนั้นทำให้ผู้คนทั่วไปรู้สึกได้อยู่แล้วว่าเขาคน นั้นน่าจะออกไปและมีความสุขกว่าเดิมอยู่แล้ว ลำพังใบหน้าที่ยิ้มแย้มนั้นเราเชื่อว่าคนทั่วไปก็โอเค แต่การใช้คำพูดทำนองสิ้นเยื่อขาดใยอย่าง “เดี๋ยวก็ไม่อยู่แล้วล่ะ” หรือ "ลาขาดล่ะนะ" ไม่ว่าจะออกมาจากใจจริงหรือเราจะล้อเล่นตามวิสัยปกติของเราอยู่แล้วก็ตาม หลายครั้งทำร้ายผู้ที่ได้ยินคำนี้โดยไม่ตั้งใจ คำแนะนำของเราคือ แม้งานที่นี่จะจบลงแล้ว แต่สายสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์เป็นเรื่องยืนยาวกว่านั้น ตัดสัมพันธ์กับสัญญาจ้างงานได้ แต่ถ้าไม่จำเป็นอย่าตัดความสัมพันธ์กับคนเลย

6.    เผื่อทางกลับไว้บ้าง
แม้การลาออกจะเป็นการสื่อ ถึงการอยากพบเจอสิ่งใหม่ หรือความก้าวหน้า แต่หากเราเองก็ยังมีความรู้สึกดีๆ กับองค์กรรวมไปถึงเจ้านายหลงเหลืออยู่ ถ้าอย่างนั้นก็ควรเหลือช่องทางการติดต่อสัมพันธ์กันไว้บ้าง เผื่อในอนาคตอาจกลับมาร่วมงานกันได้อีก โทรคุยบ้าง และร่ำลาด้วยดี ทำให้คนคิดถึงเรา

บทความข้างต้นเป็นเสมือนเครื่องเตือนสติของคุณเองว่าการการทำอะไรคุณควรคิดไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน และคุณต้องทำตามทำเนียมหรือวัฒนธรรมของแต่ละองค์กรก็ถือเป็นมารยาทในสังคมด้วย ถึงแม้ว่าคุณจะออกจากองกรณ์นั้นก็ตาม เมื่อโปรไฟล์ของคุณดีอยู่แล้วองค์กรใหม่ที่คุณเลือกคงปลื้มคุณไม่น้อย เพราะคุณจะมีประวัติคุณขาวสะอาดไงล่ะ ขอให้ทุกคนโชคดีกับงานใหม่จากทีมงาน  Sanook! Money

Credit: http://board.postjung.com/703529.html
3 ก.ย. 56 เวลา 18:38 1,449 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...