วัตถุมงคล กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม

วัตถุมงคล ของขลัง เพิ่มเสน่ห์และพลังให้ชายแกร่ง

วันก่อนผมได้ดูข่าวเรื่อง ตะกรุด จะนำมาผลิตเป็นสินค้าวัฒนธรรมของชาติ ซึ่งจะเป็นสินค้าที่สร้างรายได้ โดยเป็นเหมือนของที่ระลึกให้ชาวต่างชาติได้นำเป็นของฝาก ทำให้ผมคิดถึงภาพในนิตยสาร STONE  ในโครงการ BANGKOK FASHION Now & Tomorrow กรุงเทพเมืองแฟชั่น ซึ่งนำเสนอภาพและเรื่องราวความเชื่อกับวัตถุมงคลในเชิงวัฒนธรรม ผ่านมุมมองของช่างภาพและสไตล์ลิสต์ได้อย่างงดงามและมีศิลปะ น่าเสียดายที่นิตยสารและโครงการนี้ได้ปิดตัวไปแล้ว แต่เรื่องราวในหนังสือมิได้ปิดตัวไป ยังคงดำเนินอยู่และเป็นปัจจุบัน เปรียบประหนึ่งแฟชั่นที่ไม่มีวันตกเทรนด์



นี่แหละเมืองไทย เมืองที่ซึ่งให้ความสำคัญกับการเฟ้นหาป้ายทะเบียนรถ ราคาเป็นล้าน อาจเป็นแค่ส่วนหนึ่งแห่งความเชื่อ รวมทั้งการตามหาเลขเด็ดและทำนายของหมอดูที่มีชื่อเสียง พอๆ กันกับการค้นหาเกจิอาจารย์ชื่อดัง หรือพระที่น่าเคารพนับถือ ในความเป็นจริงแล้วศาสนาและความเชื่อเรื่องไศยศาสตร์นั้นเป็นสิ่งที่หลอมรวมเข้าด้วยกันอย่างที่แยกจากกันไม่ได้ในบ้านเรา เพื่อที่จะสร้างจิตวิญญาณที่เป็นเอกลักษณ์ซึ่งเป็นการผสมรวมของศาสนาพุทธ ฮินดู ความเชื่อเรื่องจิตวิญญาณ และ ธรรมชาติ




ไม่มีที่ไหนอีกแล้วที่เครื่องรางของขลัง และ วัตถุมงคลทางศาสนา(หรือพระเครื่อง) ทั้งสองอย่างนี้มีส่วนสำคัญในชีวิตของคนไทย



 



แต่เดิมนั้นวัตถุมงคล เป็นสิ่งของที่สามารถหาได้ตามธรรมชาติทั่วๆไปเช่น หิน เมล็ดพืช หรือ ฟันของสัตว์ เครื่องรางชิ้นแรกที่เกีี่ยวกับศาสนามาจาก พระฉายาลักษณ์ของพระพุทธเจ้าที่ทำขึ้นมาโดยพระสงฆ์เพื่อที่จะปลูกจิตสำนึกให้กับคนเกี่ยวกับคำสอนของพระพุทธเจ้า





ต่อมา เครื่องรางทางศาสนากลายเป็นการแสดงความศรัทธา และเคารพนับถือพระสงฆ์ โดยมากจะเป็นรูปของพระสงฆ์องค์นั้นๆ ในรูปแบบของพระเครื่องที่ทำมาจากดินเหนียวเพื่อรำลึกถึงพระที่เคารพนับถือ ในขณะที่ธรรมชาติของเครื่องลางตั้งแต่สมัยก่อนนั้น เชื่อว่าเครื่องลางสามารถที่จะมอบพลังให้กับคนที่สวมใส่อยู่ ทหารไทยสมัยโบราณพยายามจะแสวงหาเครื่องลางของขลังด้วยความเชื่อที่ว่าพลังพิเศษจากเครื่องลางนั้นจะช่วยให้พวกเค้าพ้นจากอันตรายในสงคราม การเลือกเครื่องลางที่ถูกต้องควบคู่กันกับรอยสักด้วยการเขียนภาษาเขมรนั้นมอบพลังคุ้มครองสุดยอดยิ่งกว่าเกราะไหนๆ





 

 

ปัจจุบันนี้การค้าขายเครื่องรางมีกันอย่างแพร่หลายในประเทศไทย ตลาดค้าขายมีกันอย่างแพร่หลาย สามารถหาได้ตามโฆษณาทางหนังสือพิมพ์และนิตยสารซึ่งบรรยายคุณสมบัติเด่นต่อเครื่องราง(พระเครื่อง)นั้นๆ ทหารและตำรวจค้นหาเครื่องลาง(พระเครื่อง) เพื่อป้องกันตัวเองจากกระสุน นักธุรกิจและพ่อค้าแม่ค้าต้องการเครื่องรางนำความโชคดีมาสู่ตน ไม่ว่าจะด้วยจุดประสงค์ใดก็ตามเครื่องรางดูเหมือนว่าจะมีความสำคัญต่อทุกๆคน และเครื่องรางที่เชื่อว่ามีความพิเศษกว่าอันอื่นสามารถขายได้ในราคากว่าสิบล้านบาท





 


อีกหนึ่งอันที่ไม่กล่าวถึงไม่ได้คือ  เครื่องรางที่มีลักษณะเหมือนอวัยวะเพศชาย หรือที่รู้จักกันดีในนามของ “ปลัดขิก” รากฐานของเครื่องรางมาจากชาวฮินดูและแต่เดิมมีไว้เพื่อป้องกันสัตว์เลื้อยคลานแต่ปัจจุบันนี้ผู้คนใช้เพื่อนำความโชคดี พ่อค้าแม่ค้าตามถนนผูกมันติดกับตะกร้า ร้านค้าต่างๆเก็บมันไว้ในลิ้นชักใส่เงิน หรือแม้แต่ผู้เข้าแข่งขันประกวดต่างๆเกี่ยวกับความสวยงามก็จะผูกเครื่องรางติดกับผมในขณะที่ขึ้นเวทีกันอย่างแพร่หลาย






เสียงวิพากษ์วิจารณ์และทัศนคติในสังคมที่เกี่ยวกับเครื่องรางมีมากมาย ต่างๆนาๆ บ้างก็ว่าเป็นวัตถุลวงโลก บ้างก็ว่าเป็นความเชื่อส่วนบุคล ช่วยคุ้มครองปกป้องป้องกันอันตราย ซึ่งสะท้อนและย้ำเตือนว่านี่แหละ คือวัฒนธรรม และค่านิยมเรื่องความเชื่อของสยามประเทศ







Photography: J.Surat
Styling: Araya In dra




 


Credit: วัตถุมงคล กลายเป็นสินค้าวัฒนธรรม
21 มี.ค. 53 เวลา 20:30 4,980
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...