10 ข้อเท็จจริงสุดเซอร์ไพรส์จากดวงจันทร์ ที่คุณอาจไม่รู้

นับตั้งแต่ นีล อาร์มสตรองขึ้นเหยียบดวงจันทร์เป็นคนแรกในวันที่ 20 กรกฎาคม ของปี ค.ศ. 1969 ก็ทำให้พวกเรารู้เรื่องราวเกี่ยวกับบริวารดวงนี้มากมาย รวมไปถึงอิทธิพลที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์ต่าง ๆ ขึ้นบนโลกใบนี้ อาทิ เวลากลางวัน-กลางคืน น้ำขึ้นน้ำลง เป็นต้น ซึ่งทำให้ใครหลายคนแอบคิดว่า รู้จักดาวกลม ๆ สีเหลืองใบนี้ดีแล้ว แต่ทว่าความจริงข้อมูลที่รู้มาเป็นแค่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น และเชื่อว่าต้องตะลึงหลังจากที่ได้อ่าน 10 ข้อเท็จจริงสุดเซอรไพรส์จากดวงจันทร์อย่างแน่นอน

 
 1. กำเนิดดวงจันทร์

          หากจะว่าตามทฤษฎีกำเนิดดวงจันทร์ที่ได้รับการยอมรับมากที่สุดในขณะนี้แล้ว  จะพบว่าดวงจันทร์เคยเป็นหนึ่งเดียวกับโลกเมื่อหลายพันล้านปีก่อน ก่อนที่เมื่อช่วง 4.5 พันล้านปีก่อน โลกจะถูกดาวเคราะห์ขนาดเท่าดาวอังคารพุ่งชน ทำให้เกิดแอ่งขนาดใหญ่บนผิวโลกหรือบริเวณที่เราเรียกกันว่ามหาสมุทร และได้ทำให้เกิดพลังงานความร้อนที่มีปริมาณมหาศาล จนดาวเคราะห์ดวงนั้นสลายตัวไป และทำให้ชิ้นส่วนของโลกหลุดกระเด็นออกไปโคจรรอบโลก และเมื่อหินเหล่านี้เย็นตัว แรงดึงดูดแบบโน้มถ่วงได้หลอมรวมชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นดวงจันทร์นั่นเอง

 2. ระยะห่างระหว่างโลกกับดวงจันทร์

          ใครที่คิดว่าดวงจันทร์จะอยู่เคียงคู่โลกตลอดไปล่ะก็ คงต้องทบทวนความคิดดูใหม่อีกครั้ง เพราะนักวิทยาศาสตร์ออกมาระบุแล้วว่า ดวงจันทร์จะเคลื่อนตัวออกห่างจากวงโคจรของโลก 3.8 เซนติเมตรต่อปี โดยจากเดิมที่เคยทำการสำรวจเมื่อครั้งอดีตดวงจันทร์มีระยะห่างจากโลกแค่เพียง 14,000 ไมล์หรือประมาณ 22,530 กิโลเมตร แต่ทว่าในปัจจุบันดาวทั้ง 2 ดวงห่างกันถึง 280,000 ไมล์หรือประมาณ 450,000 กิโลเมตร

 3. ดวงจันทร์หน้าเดิม

          เชื่อว่าหลายคนคงสงสัยกันไม่น้อยว่า ทำไมเจอดวงจันทร์หน้าเดิมหน้าเดียวอยู่ตลอด ทั้ง ๆ ที่ดวงจันทร์ก็โคจรรอบตัวเองเหมือนกัน สาเหตุที่ทำให้เป็นเช่นนี้ก็เพราะว่า คาบเวลาโคจรรอบตัวเองกับคาบเวลาการโคจรรอบโลกของดวงจันทร์มีค่าเท่ากัน คือ ประมาณ 27.32 วัน ทั้งที่จริงแล้วก่อนหน้านี้ดวงจันทร์โคจรเร็วกว่านี้ และเราคงได้เห็นมุมมองที่แตกต่างออกไปบ้าง หากไม่ใช่แรงดึงดูดของโลกถ่วงความเร็วของดวงจันทร์เอาไว้


 
 4. ต้นไม้จากดวงจันทร์

          ต้นไม้บนโลกที่เราเห็นกันอยู่ทุกวันนี้ เป็นต้นไม้ที่เกิดจากเมล็ดพันธุ์ที่เคยถูกนำขึ้นไปสู่ดวงจันทร์กว่า 400 ต้น โดยในปี 1971 สจ๊วต โรซ่า นักบินอวกาศคนหนึ่งนำเมล็ดพันธุ์ของต้นไม้ไปกับเขาด้วย จากนั้นก็นำกลับมาปลูกเอาไว้ในศูนย์อวกาศเคเนดี้ เพื่อเปรียบเทียบกับการเจริญเติบโตของพันธุ์ไม้ปกติบนโลก

 5. น้ำขยับเมื่อดวงจันทร์เคลื่อนที่

          นอกจากนี้ผลของการที่โลกมีบริวารโคจรอยู่รอบตัวเป็นผลให้เกิดปรากฎการณ์น้ำขึ้น-น้ำลงด้วย และระดับน้ำจะสูงขึ้นเป็นพิเศษ เมื่อดวงอาทิตย์ โลก กับดวงจันทร์ เคลื่อนที่มาอยู่ในแนวเดียวกัน หรือวันจันทรุปราคา นอกจากนี้ดวงจันทร์ยังเป็นสาเหตุที่ทำให้โลกของเราเคลื่อตัวช้าลง 1.5 ล้านวินาที ทุก ๆ 1 ศตวรรษหรือ 100 ปีด้วย

 
 
 6. โลกอาจมีดวงจันทร์มากกว่าหนึ่ง

          อาจจะมีบางคนกล่าวเอาไว้ว่า ดวงจันทร์จะเป็นดาวบริวารดวงแรกและเป็นดวงเดียวของโลก แต่จริง ๆ อาจจะไม่ใช่อย่างที่คิดเสมอไป เพราะในปีค.ศ. 1999 นักวิทยาศาสตร์พบวัตถุที่มีลักษณะคล้ายกับดวงดาว ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 5 กิโลเมตร ที่เคลื่อนผ่านโลก และคาดว่ามันน่าจะมีวงโคจรรอบโลกค่อนข้างกว้าง ใช้เวลาโคจรรอบโลกนานถึง 770 ปี

 
 
 7. ดวงจันทร์เป็นดาวเคราะห์ดวงหนึ่งในระบบสุริยะ

          ดวงจันทร์มีขนาดใหญ่ใหญ่กว่าดาวพลูโต และมีเส้นผ่านศูนย์กลางถึง 1 ใน 4 ของโลก ดังนั้นทำให้นักวิทยาศาสตร์บางคนถือว่า ดวงจันทร์เป็นหนึ่งในดาวเคราะห์ของระบบสุริยะ โดยถือเอาว่า ดวงจันทร์เป็นดาวแฝดของโลก เช่นเดียวกับคู่พี่น้องของดาวพลูโตกับชารอน ซึ่งเป็นดวงจันทร์บริวารของดาวพลูโตนั่นเอง แต่ถึงกระนั้น ด้วยความที่ดวงจันทร์โคจรรอบโลก นักวิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่จึงถือว่าดวงจันทร์เป็นบริวารของโลกอย่างปฏิเสธไม่ได้


 8. ที่มาของรอยแผลบนผิวดวงจันทร์

          พื้นผิวของดวงจันทร์คงจะรายเรียบสวยงามตลอดไป หากไม่มีเหล่าก้อนหิน อุกาบาต หรือวัตถุอื่น ๆ พุ่งชนเข้ามาเมื่อ 410-3.8 พันล้านปีก่อน ซึ่งจาการปะทะในแต่ละครั้งเป็นผลให้เกิดหลุมขนาดต่าง ๆ มากมายรอบดวงจันทร์ ทำให้พื้นผิวของดวงจันทร์ขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่ออย่างที่เห็น นอกจากนี้ยังทำให้ดวงจันทร์ไม่มีลม ฝน ความสวยงามแบบโลกด้วย


 9. ดวงจันทร์ไหว

          ในขณะที่นักบินอวกาศจากยานอพอลโลออกสำรวจบนดวงจันทร์ ไซสโมมิเตอร์ (Seismometers) เครื่องตรวจการสั่นสะเทือน รายงานว่า เกิดเหตุการณ์ดวงจันทร์ไหวใต้พื้นผิวลึกลงไป 7 ไมล์หรือประมาณ 11.27 กิโลเมตรจากจุดที่พวกเขายืนอยู่ ซึ่งเป็นผลกระทบจากแรงดึงดูดของโลก และบางครั้งก็ดวงจันทร์ไหวนี้ก็ทำให้เกิดรอยแตก และก๊าซขึ้นบนพื้นผิวของดวงจันทร์

 
 10. ดวงจันทร์รูปไข่

          อีกหนึ่งความจริงที่หลายคนยังไม่รู้ก็คือ รูปร่างของดวงจันทร์ไม่ได้เป็นทรงกลมอย่างที่เห็น แต่กลับเป็นทรงวงรีคล้ายรูปร่างของไข่ไก่ที่มีฐานใหญ่ปลายเล็กเสียมากกว่า ส่วนแกนกลางของดวงจันทร์ก็ไม่ได้มีรูปร่างกลมหรือเป็นรูปทรงที่ชัดเจน ทราบแต่เพียงว่า ประกอบไปด้วยแร่เหล็กเป็นส่วนใหญ่ กินเนื้อที่ 1.2 ไมล์หรือประมาณ 2 กิโลเมตร


          ถึงแม้ดวงจันทร์จะเป็นเพียงบริวารดวงเล็ก ๆ และเป็นบริวารดวงเดียวที่โคจรรอบโลกของเรา แต่ทว่ากลับเป็นบริวารที่มีความสำคัญ และสร้างผลกระทบกับโลกของเราไม่น้อยเลย อีกทั้งยังมีความลับมากมายซ่อนอยู่ และหวังว่าทั้ง 10 ข้อเท็จจริงเหล่านี้จะช่วยคลายความสงสัย ไขความกระจ่าง ทำให้ทุกคนเข้าใจดวงจันทร์กันมากขึ้นนะครับ

 ที่มา กระปุกดอทคอม
Credit: http://forums.goosiam.com/html/0027308.html
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...