ประเพณีไทยโบราณ พิธีตัดจุก

 

 

 

 

 

  

แต่ก่อนนี้เด็กไทยมักจะนิยมไว้จุกกันเป็นส่วนมาก แต่โบราณทีเดียวไม่ได้เอาไว้จุกอย่างชั้นหลังนี้ กล่าวคือ ผู้ใหญ่หรือผู้ปกครองนึกจะเอาไว้จุก ไว้แกละ ไว้เปีย ก็เอาไว้กันตามใจชอบ สมัยโบราณทีเดียวนั้นเขาเอาดินมาปั้นเป็นตุ๊กตาหลายๆตัว เอาไว้จุกบ้าง แกละบ้าง เปียบ้าง แล้วให้เด็กเล่นและดูว่าเด็กชอบเล่นตัวไหนมาก จึงจะเอาไว้อย่างนั้น

                                                   
การไว้จุกนั้นนิยมไว้จนอายุ ๑๑ ปี ถ้าเป็นชายอาจจะเอาไว้จนถึง ๑๕ ปีก็ได้จึงจะทำประเพณีไทยพิธีตัดจุกหรือโกนจุก ก่อนที่จะเริ่มงานจะต้องเอาวัน เดือน ปี ของเด็กไปให้โหรกะวันเวลาฤกษ์ให้เสียก่อน แต่ต้องมิให้ตรงกับวันอังคาร เพราะถือกันว่าวันอังคารเป็นวันห้ามโกนจุก
พิธีโกนจุกหรือตัดจุกทำกันเป็นประจำปีที่โบสถ์พราหมณ์ต่อท้าย พิธีตรียัมพวาย คือ ตัดในวันแรม ๖ ค่ำ เดือนยี่ ที่ทำกันตามบ้านก็มี พิธีโกนจุกหรือตัดจุกที่ทำกันตามบ้านนั้น จำทำกันเป็นสองวัน สิ่งของที่ต้องเตรียมใช้ในตอนเย็นวันแรกมีเบญจาสำหรับรดน้ำเมื่อโกนจุกออกแล้ว เบญจานั้นคือ โต๊ะสี่เหลี่ยมจัตุรัสสูงประมาณศอกคืบมีเสาสี่เสาหลังคามีระบายรอบ ริมขลิบด้วยกระดาษทอง เพดานดาดผ้าขาว เสาผูกม่านลูกไม้ โปร่งทำเป็นม่านไขตามมุมเพดานกับตรงกลางแขวนพวงมาลัย วันเจริญพระพุทธมนต์เย็นโหรจะได้บูชาบัตรพระเกตุ บัตรพระภูมิบัตรเจ้ากรุงพาลี คือใช้ก้านกล้วยสี่ก้านผูกยอดรวมกันเข้า แล้วเอากาบกล้วยผ่าตามยาว ใหญ่ประมาณหนึ่งนิ้วหักมุมทำเป็นกระบะสี่เหลี่ยมจตุรัสลดหลั่นกันตามชั้นทั้ง ๙ ชั้น ชั้นละประมาณ ๑ นิ้ว ชั้นล่างกว้าง ๙ นิ้ว เมื่อทำเป็นกระบะเรียบร้อยแล้วนำมาสวมเข้ากับก้านกล้วย ชั้นล่างสูงจากพื้นประมาณ ๔ นิ้ว ส่วนชั้นต่อๆไปห่างกันประมาณ ๑ นิ้ว แล้วเอาไม้กลัดกลัดตามมุม ๔ ด้าน เอาไม้ตอกเสียบตามชั้นทุกชั้นเพื่อให้วางกระทงได้ ส่วนบัตรพระภูมินั้นเป็นรูปสามเหลี่ยม เป็นกระบะบัตรเจ้ากรุงพาลีทำเป็นรูปบัตรสี่เหลี่ยมจัตุรัสเป็นกระบะเช่นเดียวกัน เบญจานั้นมักนิยมตั้งกันนอกชายคาบ้าน ในบัตรบรรจุกระทงเล็กๆ มีกับข้าวควาหวาน ถั่วงาคั่ว นมเนย ข้าวตอก ดอกไม้ บัตรพระเกตุบรรจุ ๑๘ กระทง บัตรพระภูมิ ๓ กระทง บัตรเจ้ากรุงพาลี ๔ กระทง ตามบัตรให้ปักธงสีทองเท่าจำนวนกระทงนั้น ยอดปักเทวรูปพระเกตุขี่นาค ธูปเทียนอย่างละ ๒๔ เล่ม ควรใช้เทียนหนัก ๑ สลึง อนึ่งการวางวงสายสิญจน์ให้วงมาที่เบญจาด้วย
ในส่วนพิธีพราหมณ์จะต้องหาคนแต่งตัวเด็กที่จะมาฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ ถ้าจะแต่วตัวอย่างโบราณต้องสวมสนับเพลานุ่งผ้าเยียรบับจีบนางหงส์ สวมเสื้อเยียรบับคาดเจียระบาด คาดเข็มขัดเพชร ใส่สร้อยตัวสร้อยนวม ฯลฯ แต่อย่างละครชาตรี การแต่งตัวเด็กนิยมแต่งกันอีกบ้านหนึ่งเมื่อ ใกล้เวลาพระสงฆ์เจริญพระพุทะมนต์ พราหมณ์จะทำพิธีแห่เด็ก คือพราหมณ์ผู้ใหญ่สวมเสื้อสไบเฉียง ถือขันข้าวตอกดอกไม้กับกระบองเพชรให้เด็กถือเมื่อจะแห่ แล้วเดินโปรยข้าวตอกดอกไม้นำหน้า ส่วนพราหมณ์อีกสองคนนั้นอยู่ถัดมาเป่าสังข์แกว่งไม้บัณเฑาะว์นำหน้าเด็กมายังที่ทำพิธี เมื่อเด็กนั่งแล้วพราหมณ์จะดยงสายสิญจน์มาพาดที่ตัวเด็ก ตรงที่เด็กนั่งมีพรมปู มีหมอนสำหรับวางมือ ขณะประนมมือฟังพระเจริญพระพุทธมนต์ เพราะถ้าแต่อย่างโบราณที่มือเด็กจะหนักมากจึงต้องมีหมอนรอง

เมื่อรับศีลแล้วพระเริ่มเจริญพระพุทธมนต์ ในขณะนี้โหรจะแต่งตัวนุ่งขาวห่มขาวออกมาบูชาบัตรพลีที่เบญจา เมื่อเจริญพระพุทธมนต์จบแล้ว พราหมณ์จะนำเด็กมาส่งที่เดิม ถ้ามีปี่พาทย์ก็ทำเพลงเดินเหมือนกันทั้งเวลานำและส่ง

                             

 

ข้อมูลดีๆ.....มหัศจรรย์เมืองสยาม

Credit: http://women.postjung.com/702545.html
31 ส.ค. 56 เวลา 11:31 2,909 80
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...