Bearded Vulture จัดอยู่ใน นกแร้งโลกเก่าที่ใหญ่ที่สุดในโลก พบได้ทางยุโรป แอฟริกา และเอเชีย ที่ระดับความสูงตั้งแต่ 300 – 4,500 เมตร ตัวมีความสูง 1-1.2 เมตร ความกว้างของปีอยู่ที่ 2.0-2.8 เมตร หนัก 4.5- 7 กิโลกรัม พวกมันจะผสมพันธุ์ในช่วง กรกฎาคมถึงตุลาคมจะวางไข่ 1-3 ฟอง ฟักตัว 53-60 วัน ส่วนใหญ่มีลูกนกเพียงตัวเดียวที่สามารถรอดชีวิตได้
นกแร้งโลกเก่า (อังกฤษ: Old world vulture) เป็นวงศ์ย่อยของนกล่าเหยื่อในอันดับเหยี่ยว (Accipitriformes) ในวงศ์เหยี่ยวและอินทรี (Accipitridae) ใช้ชื่อวงศ์ย่อยว่า Aegypiinae จัดเป็นแร้งจำพวกหนึ่ง
นกในวงศ์ย่อยนี้ มีความแตกต่างไปจากนกจำพวกอื่นในวงศ์เดียวกัน คือ จะไม่กินสัตว์ที่มียังมีชีวิตอยู่ แต่จะกินเฉพาะสัตว์ที่ตายไปแล้ว หรือซากสัตว์ มีรูปร่างโดยรวมคือ ปีกกว้าง หางสั้น มีคอที่ยาว หัวเล็ก บริเวณต้นคอมีขนสีขาวรอบเหมือนสวมพวงมาลัย มีลักษณะเด่นคือ ขนที่หัวและลำคอแทบไม่มีเลยจนดูเหมือนโล้นเลี่ยน สันนิษฐานว่าคงเป็นเพราะพฤติกรรมการกินซากสัตว์ จึงไม่มีขนเพื่อไม่ให้เป็นที่สะสมของเชื้อโรค และเพื่อความสะดวกในการในการมุดกินซากด้วย แต่ก็มีบางชนิดที่ชอบกินลูกปาล์ม ขนาดลำตัวและปีกเฉลี่ยแล้วนับว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในบรรดานกในวงศ์นี้
วางไข่ทำรังบนหน้าผาสูงหรือบนกิ่งไม้ของต้นไม้ใหญ่ วางไข่ครั้งละ 1 ฟอง มีพฤติกรรมอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ บนอยู่เหนือท้องฟ้า และมองหาอาหารด้วยสายตา ด้วยการบินวนเป็นวงกลม เมื่อร่อนลงเพื่อกินซาก อาจจะแย่งกันและส่งเสียงดังเอะอะกันในฝูง แต่เมื่อเวลาบินขึ้น ด้วยขนาดตัวที่ใหญ่และปีกที่กว้าง จำต้องวิ่งไปไกลถึง 20 ฟุต เหมือนเครื่งบินเวลาทะยานขึ้น และความเป็นสัตว์กินซาก แร้งโลกเก่า จึงเป็นนกที่ใช้เวลานอกเหนือจากการกินอาหารไซ้ขน รวมทั้งกางปีก ผึ่งแดด เพื่อเป็นการฆ่าเชื้อโรค พบกระจายพันธุ์ในซีกโลกเก่า ได้แก่ ทวีปเอเชีย, แอฟริกา และบางส่วนของยุโรป ในช่วงฤดูหนาวมีการอพยพลงซีกโลกทางใต้เพื่อหนีหนา
ปัจจุบัน แร้งโลกเก่า หลายชนิดอยู่ในภาวะวิกฤตใกล้สูญพันธุ์ เนื่องจากถิ่นที่อยู่อาศัยตามธรรมชาติถูกรุกราน และสภาพแวดล้อมก็เปลี่ยนไป ทำให้จำนวนหนึ่งต้องตายลงเนื่องจากไม่มีอาหารกิน ในอนุทวีปอินเดียและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีหลายตัวต้องตายลงเนื่องจากไปกินซากสัตว์ที่ปนเปื้อนสารเคมีและเชื้อโรคชนิดต่าง
แร้งดำหิมาลัย (Aegypius monachus) เป็นแร้งที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในวงศ์ย่อยแร้งโลกเก่า พบกระจายพันธุ์ในแนวเทือกเขาหิมาลัย และยูเรเชีย