ลุ้นพิชิตทะเบียน มรดกโลก
แม่น้ำสายสำคัญที่รู้จักกล่าวขานผูกพันกับวิถีชีวิตคนไทยมายาวนาน แม่น้ำเจ้าพระยา เส้นเลือดใหญ่สายนี้ นอกเหนือจากบอกเล่าถ่ายทอดประวัติศาสตร์เหตุการณ์วันวาน
ในความเคลื่อนไหวที่ก่อเกิดขึ้นกับแม่น้ำสายหลักแห่งนี้ยังเปรียบได้ดั่ง หนังสือเล่มใหญ่ให้ศึกษา
จากการศึกษาข้อมูลจัดทำรายงานความพร้อมเสนอรายชื่อพื้นที่ทางวัฒนธรรมและ ประวัติศาสตร์ต่อองค์การยูเนสโกเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นแหล่งมรดกโลกทาง วัฒนธรรมในบัญชีชั่วคราวตามที่มีรายงานข่าวซึ่ง 1 ใน 7 รายการมีชื่อของ แม่น้ำเจ้าพระยาริมฝั่งน้ำนับแต่เชิงสะพานพุทธถึงสะพานพระราม 8 รวมอยู่ด้วย
ธราพงศ์ ศรีสุชาติ ผู้อำนวยการสำนักโบราณคดี กรมศิลปากร ให้ความรู้เล่าถึงความสำคัญความโดดเด่นของสายน้ำแห่งนี้ที่กำลังดำเนินการ ยื่นขอขึ้นเป็นบัญชีชั่วคราว ว่าการเสนอแม่น้ำเจ้าพระยา พื้นที่ริมฝั่งน้ำเจ้าพระยาขอขึ้นเป็นบัญชีชั่วคราวของมรดกโลกก่อนหน้านี้ใน ปี 2547 ได้มีการดำเนินการ แต่ช่วงเวลานั้น อนุมัติให้ 2 รายการคือ อุทยานประวัติศาสตร์ ภูพระบาท เส้นทางวัฒนธรรมพิมายพนมรุ้ง ขึ้นเป็นบัญชีชั่วคราว
ส่วนรายการที่เหลือยังไม่ได้คำตอบที่ผ่านมาจึงมีการนำมาเสนออีกครั้งซึ่งแม่ น้ำเจ้าพระยานั้นมีสาระความโดดเด่น โดย แม่น้ำเจ้าพระยาและพื้นที่ทั้งสองฝั่งบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์แสดงถึงจุด เริ่มต้นแห่งอารยธรรม การกำเนิดของกรุงรัตนโกสินทร์และมี วิวัฒนาการเป็นกรุงเทพมหานครในปัจจุบันที่ยังคงคุณค่าความสำคัญทางด้าน ประวัติศาสตร์ และคุณค่าด้านวัฒนธรรมปรากฏในรูปของภูมิทัศน์วัฒนธรรมที่ควรอนุรักษ์
จากการศึกษาทางโบราณคดีและโบราณสถานบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา แสดงให้เห็นถึงการจัดการทรัพยากรน้ำ ภูมิปัญญาการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนรวมถึงความเข้าใจในการจัดการ แก้ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับน้ำ ฯลฯ
ส่วนที่เข้ากฎเกณฑ์ จะนำเสนอสู่บัญชีชั่วคราวของมรดกโลก แม่น้ำเจ้าพระยาแสดงถึงผลงานสุดยอดที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์อันเป็นเลิศ ของมนุษย์ อีกข้อหนึ่งเป็นเครื่องยืนยันถึงยุคสมัยอิทธิพลของวัฒนธรรมถ่ายทอดออกมาใน รูปแบบของ การพัฒนาของสถาปัตยกรรม เทคโนโลยี ศิลปะอันยิ่งใหญ่ของการวางผังเมืองหรือของการรังสรรค์เชิงภูมิสถาปัตยกรรม อีกทั้งยังเป็นแบบอย่างการก่อสร้างหรือแบบสถาปัตยกรรม เทคนิค ภูมิทัศน์ที่แสดงให้เห็นถึงยุคใดยุคหนึ่งหรือหลายยุค อันเป็นเครื่องบ่งบอกถึงประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ
นอกจากนี้สองฝั่งแม่น้ำยังปรากฏ วัดวาอารามสง่างาม ชุมชนต่าง ๆ อย่างพื้นที่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณกรุงรัตนโกสินทร์นับแต่สะพานพุทธถึงสะพานพระราม 8 ฝั่งตะวันตกเป็นที่ตั้งของ วัดอรุณราชวราราม โบสถ์ซางตาครูส วัดกัลยาณ มิตร พระราชวังเดิมมีป้อมวิชัยประสิทธิซึ่งสร้างขึ้นในสมัยพระนารายณ์ กรมอู่ทหารเรือ อีกทั้งยังมีสถานีรถไฟกรุงธนบุรีซึ่งก็มีเรื่องราวของสงครามโลกครั้งที่ 2 ฯลฯ
ขณะที่ทางฝั่งตะวัน ออกปรากฏป้อมพระสุเมรุ พระที่นั่งสันติชัยปราการวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ฯลฯ ให้ศึกษาเที่ยวชมและจากที่เจ้าพระยาเป็นแม่น้ำสายหลัก แม่น้ำสายนี้นับแต่อดีตจวบปัจจุบันยังมีความสำคัญเป็นเส้นทางคมนาคมเส้นทาง พาณิชยนาวีและด้วยแม่น้ำ เจ้าพระยาผูกพันกับวิถีชีวิตไทยมาเนิ่นนาน
จุลภัสสร พนมวัน ณ อยุธยา นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม ประธานชมรมสยามทัศน์ให้มุมมอง บอกเล่าถึงคุณค่าความสำคัญของแม่น้ำเจ้าพระยาอีกว่า หากพูดถึงมิติประวัติศาสตร์ของแม่น้ำเจ้าพระยานั้นมีอยู่มากมายเช่นเดียวกับ เรื่องของระบบนิเวศศึกษาถึงการเกิดขึ้นของแม่น้ำซึ่งเกิดจากการรวมตัวของแม่ น้ำสายหลักทางภาคเหนือไหล จากพื้นที่สูงผ่านมายังพื้นที่ ต่าง ๆ ในแต่ละลุ่มน้ำ ซึ่งแต่ละพื้นที่นั้นมีวิถีวัฒนธรรมที่น่าสนใจ
อีกทั้งยังไหลผ่านเมืองเก่าอย่าง ลุ่มน้ำปิงไหลผ่านเมืองเชียงใหม่ ผ่านเมืองสุโขทัย ในลุ่มน้ำยม ผ่าน เมืองน่านในลุ่มน้ำน่าน ฯลฯ การศึกษาถึงวัฒนธรรมของต้นน้ำสิ่งนี้จึงมีความสำคัญ จากนั้นเมื่อไหลมาบรรจบกันยังแสดงให้เห็นถึงความงดงามของสายน้ำที่ร้อยเล่า ความหลากหลายของวิถีชีวิตผู้คนที่หลอมรวมเข้าไว้ด้วยกัน
“แม่น้ำเจ้าพระยาไหลมาบรรจบรวมกันที่ปากน้ำโพจังหวัดนครสวรรค์ จากนั้นไหลเรื่อยผ่านต่อมายังอีกหลายจังหวัด แต่ละจังหวัดต่างก็มีรูปแบบทางวัฒนธรรมในแต่ละพื้นที่ก่อเกิดวัฒนธรรมหลาก หลายแขนงงดงามมีเอกลักษณ์ อย่างเช่น พ่อเพลงแม่เพลง ฯลฯ แม่น้ำสายหลักเส้นนี้จึงมีความหมายความสำคัญนับแต่ต้นทางจวบปลายสายน้ำที่ แม่น้ำสายนี้ไหลผ่านแสดงให้เห็นถึงความเป็นแม่น้ำเส้นเลือดใหญ่ที่หล่อ เลี้ยงผู้คนมายาวนาน ถ้าจะเปรียบก็ถือได้ว่าเป็นสมุดเล่มใหญ่ที่บันทึกเรื่องราวหลากหลายไว้ให้ ศึกษา”
ส่วนในเส้นทางช่วงสะพานพุทธถึงสะพาน พระราม 8 ก็มากด้วย เรื่องราวน่าสนใจ ถ่ายทอดบันทึกความคิด ความทรงจำของผู้คนบอกเล่าเหตุการณ์ของแต่ละช่วงเวลา อย่าง บริเวณสะพานพุทธ สะพานพระราม 8 แสดงให้เห็นถึงการขยายเมือง ดังที่ทราบถ้าไล่มานับแต่สะพานพระราม 8 ก็จะมีให้เห็นทั้งเรื่องราวของชุมชน ความอุดมสมบูรณ์ของพื้นที่มีสวนผลไม้ คลองบางกอก น้อย บางกอกใหญ่บริเวณนี้ถ่ายทอดประวัติศาสตร์ อีกทั้งวิถีชีวิตผู้คนที่ปลูกสร้างบ้านเรือนอยู่ริมฝั่งแม่น้ำ
นอกจากนี้แม่น้ำเจ้าพระยายังเชื่อมโยงให้เห็นถึงความเป็นปัจจุบันให้คนรุ่น ใหม่ได้เรียนรู้ สะพานที่ปรากฏต่อเชื่อมเมืองสองฝั่งเข้าด้วยกันไม่เพียงมีความหมายต่อการ คมนาคมขนส่ง การก่อสร้างสะพานยังแสดงให้เห็นถึงเทคโนโลยีการก่อสร้าง อย่างสะพานพระราม 8 มี รูปแบบโดดเด่นสวยงามออกแบบเป็นสะพานขึงแบบอสมมาตร ฯลฯ
แม่น้ำสายนี้ยังบอกเล่าการคมนาคมขนส่งซึ่งช่วงหนึ่งที่ใช้เส้นทางน้ำใช้เรือ สัญจรก็จะได้พบเห็นเรื่องราวของอาชีพที่ยังคงอยู่และห่างหายไปอย่าง การล่องแพซุง ประดาน้ำหาของ การขนส่งข้าว เรือจ้างข้ามฟาก ฯลฯ ซึ่งถ้าศึกษาก็จะยิ่งเห็นถึงความยิ่งใหญ่ของแม่น้ำสายนี้ ดังคำกล่าวแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นสายเลือดใหญ่ที่หล่อเลี้ยงหลอมรวมเรื่องราว การอยู่ร่วมกันของผู้คนหลากหลายซึ่งมากมายด้วยคุณค่า
เป็นแหล่งการศึกษาสำคัญที่ต้องร่วมใจกันดูแลรักษาสภาพนิเวศ ความสะอาด สวยใสของสายน้ำให้แม่น้ำสายนี้คงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภค บริโภคและมีใช้ในภาคการเกษตรอย่างยั่งยืน.
ทีมวาไรตี้
http://www.dailynews.co.th/newstartpage/index.cfm?page=content&contentId=54363&categoryID=486