ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า เชียงราย

ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า ถือเป็นการแสดงความกตัญญูต่อ เทพธิดาอึ่มซาแยะ

การ ท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม สำหรับบางคนแล้ว เป็นสิ่งที่น่าหลงใหล เพราะได้สัมผัสกับวิถีชาวบ้าน ยิ่งมีชาวภูเขา ป่าเขียว และมีหมอกลอยห่มคลุมขุนเขา เป็นฉากหลัง คลอเบาๆด้วยเสียงดนตรีของชาวอาข่า ยิ่งน่าชม


การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) สำนักงานเชียงราย ขอเชิญเที่ยวชม "ประเพณีโล้ชิงช้าชาวอาข่า ประจำปี 2556" ระหว่างวันที่ 1 สิงหาคม-30 กันยายน 2556 ณ บริเวณหมู่บ้านชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย


ประเพณีโล้ชิงช้า (แย้ขู่อ่าเผ่ว) หรืองานเทศกาลปีใหม่โล้ชิงช้าของชาวอาข่า (อีก้อ) เป็นการรำลึกถึงพระคุณแห่งเทพธิดา "อึ่มซาแยะ" ผู้ประทานความชุ่มชื้นอุดมสมบูรณ์ให้กับพืชพันธุ์ธัญญาหาร และเป็นการฉลองให้กับพืชผลที่มีความเจริญงอกงามรอการเก็บเกี่ยว ซึ่งแต่ละชุมชนจะไม่ตรงกัน เนื่องจากการกำหนดวันจัดพิธีกรรมต้องดูความเหมาะสมของวันที่จะเริ่มทำพิธี แต่จะต้องเป็นวันดีและเข้ากันได้กับผู้นำชุมชนนั้น ๆ และหลังจากที่จัดงานประเพณีโล้ชิงช้าเสร็จแล้ว ก็จะไม่มีการตัดไม้ดิบ (ไม้ยืนต้นหรือไม้ทุกชนิดที่ยังไม่ได้ถูกตัด) เข้ามาในชุมชนอีก ยกเว้นกรณีที่มีคนตายแล้วเท่านั้น จึงถือว่าเป็นวันเข้าพรรษาของชาวอ่าข่าอีก 

โดย "ประเพณีโล้ชิงช้า" จะจัดในช่วงเดือนสิงหาคมถึงเดือนกันยายนของทุกปี และวนไปตามแต่ละหมู่บ้านของชาวอาข่า สำหรับบริเวณหมู่บ้านชาวอาข่า จังหวัดเชียงราย จะจัดงาน "ประเพณีโล้ชิงช้า" ขึ้น 4 วัน ได้แก่ 

วันแรก : จ่าแบ เป็นพิธีเซ่นไหว้บรรพบุรุษ 
วันเริ่มแรกของพิธีกรรมเรียกว่า "จ่าแบ" ผู้หญิงอาข่าอาจเป็นแม่บ้านของครัวเรือน หรือถ้าแม่บ้านไม่อยู่อาจเป็นลูกสาวไปแทนก็ได้ ก็จะแต่งตัวด้วยชุดประจำเผ่าเต็มยศแล้วออกไปตัดน้ำที่บ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ของ หมู่บ้าน เพื่อนำไปแช่ข้าวสารเหนียวไว้ตำเป็นอาหารเซ่นไหว้บูชา ที่เรียกว่า "ข้าวปุก" ทั้งนี้ อาข่าไม่นิยมให้ผู้ชายไปตักน้ำ เพราะถือว่าเป็นงานของผู้หญิง 


วันที่สอง : วันสร้างชิงช้าใหญ่ของหมู่บ้าน และเริ่มโล้ชิงช้า

เป็นวันที่ทุกคนจะมารวมตัวกันที่บ้านของ "โจว่มา" ผู้นำศาสนา เพื่อจะปรึกษาและแบ่งงานในการจะปลูกสร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชน ในวันนี้จะไม่มีการทำพิธีใด ๆ ทั้งสิ้น แม้กระทั่งสัตว์ก็จะไม่ฆ่า หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ก็จะมีพิธีเปิดโล้ชิงช้าโดยโจว่มาจะเป็นผู้เปิดโล้ก่อน จากนั้นทุกคนก็สามารถโล้ได้ หลังจากที่สร้างชิงช้าใหญ่ของชุมชนเสร็จ ต้องมาสร้างชิงช้าเล็กไว้ที่หน้าบ้านของตนเองอีก เพื่อให้ลูกหลานของตนเล่น ทุกครัวเรือนจะต้องสร้างเพราะถือว่าเป็นพิธี 


วันที่สาม : วันล้อดา อ่าเผ่ว

วันนี้ถือเป็นวันพิธีใหญ่ มีการเลี้ยงฉลองกันทุกครัวเรือน มีการเชิญผู้อาวุโสหรือแขกต่างหมู่บ้านมาร่วมรับประทานอาหารในบ้านของตน ผู้อาวุโสก็จะมีการอวยพรให้กับเจ้าบ้านประสบแต่ความสำเร็จในวันข้างหน้า จากนั้นก็จะมีการโล้ชิงช้ากันอย่าสนุกสนาน เด็ก ๆ จะมีชิงช้าของพวกเขาที่หน้าบ้านไว้เล่นเช่นเดียวกัน พอตกกลางคืนจะมีการเต้นรำตลอดทั้งคืน 


วันที่สี่ : จ่าส่า

ถือเป็นวันสุดท้ายของพิธีกรรม "จ่าส่า" สำหรับในวันนี้จะไม่มีการประกอบพิธีกรรมอะไรทั้งสิ้น นอกจากพากันมาโล้ชิงช้า เพราะเป็นวันสุดท้ายที่จะได้โล้ในปีนี้ แต่พอตะวันตกดินหรือประมาณ 18.00 น. ผู้นำศาสนาก็จะทำการเก็บเชือกของชิงช้า โดยการมามัดติดกับเสาชิงช้า ถือว่าบรรยากาศในการโล้ชิงช้าก็จะได้จบลงเพียงเท่านี้ และหลังอาหารค่ำก็จะทำการเก็บ เครื่องเซ่นไหว้ต่าง ๆ เข้าไว้ที่เดิม หลังจากที่เก็บเครื่องเซ่นไหว้เหล่านี้แล้วถือว่าเสร็จสิ้นพิธีกรรมประเพณี โล้ชิงช้า ส่วนชิงช้าจะถูกปล่อยทิ้งไว้จนกว่าปีใหม่จะเริ่มขึ้นอีกในปีต่อไป โดยห้ามไม่ให้ใครมาเล่นหรือแตะต้องเสาชิงช้าเด็ดขาด หากมีการฝ่าฝืนประเพณีนี้ต้องมีการลงโทษจากชุมชน 


สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์พัฒนาสังคม หน่วยที่ 12 จังหวัดเชียงราย โทรศัพท์ 0 5391 8415, สมาคมอาข่า โทรศัพท์ 0 5371 4250, 08 1952 2179 และ ททท. สำนักงานเชียงราย โทรศัพท์ 0 5371 7433, 0 5374 4674-5 

Credit: http://variety.teenee.com/foodforbrain/55385.html
26 ส.ค. 56 เวลา 15:58 3,396 10
แชร์สกู๊ป
กรุณา Login เพื่อแสดงความคิดเห็น
ส่ง Scoop ให้เพื่อน
แจ้งลบไม่เหมาะสม
ความคิดเห็น

เรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจ

Loading...